Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24658
Title: การเตรียมโฟมพอลิยูรีเทนชนิดแข็งจากน้ำมันปาล์ม
Other Titles: Preparation of rigid polyurethane foam from palm oil
Authors: ธราศรัย แสงภักดี
Advisors: เสาวรจน์ ช่วยจุลจิตร์
อรอุษา สรวารี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้โฟมพอลิยูรีเทนชนิดแข็งถูกเตรียมขึ้นจากพอลิออลที่สังเคราะห์ได้โดยการนำน้ำมันปาล์มมาผ่านปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันกับเพนตะอิริทริทอล และใช้แคลเซียมออกไซด์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งความหนืดและค่าไฮดรอกซิลฃองพอลิออลที่เตรียมได้มีค่าเท่ากับ355 พอยส์ และ 385 mg KOH/g ตามลำดับ โฟมพอลิยูรีเทนเตรียมได้จากการนำพอลิออลมาทำปฏิกิริยากับ พอลิเมอริก MDI ในทางการค้า ร่วมกับน้ำ ตัวเร่งปฏิกิริยา และสารลดแรงตึงผิว ซึ่งงานวิจัยนี้ได้ ศึกษาผลของการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาและสารลดแรงตึงผิวปริมาณต่างๆ ต่อสมบัติของโฟม ได้แก่ความหนาแน่น ความทนแรงกด และพฤติกรรมทางความร้อน จากผลการทดลองพบว่า ความหนาแน่น และความทนแรงกดของโฟมเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น โดยมีค่าอยู่ ในช่วง 38.7-58.0 กิโลกรัม/เมตร3 และ 193.6-268.4 กิโลปาสคาล ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณ สารลดแรงตึงผิวที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อสมบัติทั้งสองนี้น้อยมาก จากการศึกษาด้วยเทคนิค DSC และ TGA พบว่าโฟมที่เตรียมได้มีอุณหภูมิกลาสแทรนซิชัน 62 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิการสลาย ตัว 377 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ภาพที่ได้จากเครื่องอิเล็กตรอนแบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่าโฟมที่เตรียมได้มีโครงสร้างแบบเซลล์ปิด ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโฟมเหล่านี้เป็นโฟมชนิดแข็ง และสุดท้ายยัง พบว่าปริมาณเซลล์ของโฟมเพิ่มขึ้นเมื่อความเข้มข้นของตัวเร่งปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความสม่ำเสมอของเซลล์ขึ้นกับปริมาณสารลดแรงตึงผิว
Other Abstract: In this research, rigid polyurethane foam has been prepared from polyol derived from palm oil. This polyol was synthesized by transesterification reaction of palm oil and pentaerythritol using calcium oxide as catalyst. The viscosity and the hydroxyl value of the obtained polyol were 355 poises and 385 mg KOH/g, respectively. The palm oil based polyol was reacted with commercial polymeric MDI in the presence of water, catalyst and surfactant to produce polyurethane foam. The effects of formulation variables on foam properties i.e. density, compressive strength and thermal behaviors was studied by varying the amount of catalyst and surfactant. From the experimental results, it was found that the density and the compressive strength of the foam increased with increasing amount of catalyst and were in the range of 38.7-58.0 kg/m3 and 193.6- 268.4 kPa respectively, while an increased amount of surfactant showed negligible effect on these two properties. Furthermore, DSC and TGA revealed that Tg of the prepared foams was 62°c and the degradation temperature was 377°c. Moreover, scanning electron micrographs showed that the cells of the obtained PU foams were closed cells. This result indicated that these were rigid foam. Finally, the foams were found to have higher amount of cells as the concentration of catalyst increased whereas the uniformity of cells were increased with increasing amount of surfactant.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24658
ISBN: 9745319783
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tharasai_sa_front.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open
Tharasai_sa_ch1.pdf695.91 kBAdobe PDFView/Open
Tharasai_sa_ch2.pdf6.74 MBAdobe PDFView/Open
Tharasai_sa_ch3.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Tharasai_sa_ch4.pdf5.95 MBAdobe PDFView/Open
Tharasai_sa_ch5.pdf565.4 kBAdobe PDFView/Open
Tharasai_sa_back.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.