Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2467
Title: ผลของการบริโภคโสมต่อแลคเตทเทรสโซลในชายไทยสุขภาพดี
Other Titles: Effect of ginseng consumption on lactate threshold in healthy Thai men
Authors: ศิริวรรณ ธนาคมสิริโชติ, 2516-
Advisors: อรอนงค์ กุละพัฒน์
วิไล อโนมะศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Onanong.K@Chula.ac.th
Wilai.A@Chula.ac.th
Subjects: โสม
แลคเตทเทรสโซล
ยาหลอก
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการบริโภคโสมต่อแลคเตทเทรสโชลในชายไทยสุขภาพดี กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนจ่าพยาบาลจำนวน 60 คน อายุระหว่าง 17-22 ปี ได้ทำการสุ่มตัวอย่างเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มโดยการจับสลากประกอบด้วย กลุ่มที่ได้รับโสมจำนวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับสารหลอกจำนวน 30 คน เริ่มต้นทำการทดสอบวัดระดับกรดแลคติคในเลือดด้วยการปั่นจักรยานเพื่อคำนวณหาแลคเตทเทรสโชล และหลังจากบริโภคโสมหรือสารหลอกในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ได้ทำการทดสอบเพื่อคำนวณหาแลคแตทเทรสโชลซ้ำตามเดิม รวมทั้งทำการวัดสมรรถภาพการใช้ออกซิเจน และการสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อคำนวณค่าอัตราการเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรต โดยผลข้อมูลของแลคเตทเทรสโชลที่นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ ANCOVA ผลการศึกษาพบว่า ค่าแลคเตทเทรสโชล ค่าอัตราการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรต ค่าความดัน systolic และ diastolic ขณะพัก ค่างานสูงสุด และค่าเวลาทั้งหมดที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพทางกายในกลุ่มที่ได้รับโสมมีค่าไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับสารหลอก และไม่พบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติจากการวัดการทำงานของตับ และไตหลังการบริโภคโสม สรุปได้ว่าการบริโภคโสมในปริมาณ 3 กรัมต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแลคเตทเทรสโชลสมรรถภาพทางกาย อัตราการเผาผลาญไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในขณะออกกำลังกายในนักเรียนจ่าพยาบาล
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the effects of ginseng consumption of lactate threshold in healthy Thai men. Sixty male Naval nursing students, aged 17-22 years old, were randomized into either the ginseng (n = 30) or placebo group (n = 30). Blood lactic acid levels for determination of lactate threshold (LT) were tested during a cycle ergometer work at baseline. After 8 weeks of daily intake of 3 g of ginseng or placebo, LT were repeated. Steady state oxygen consumption and carbon dioxide production rates were assessed upon the study completion. The main outcome on LT was analyzed using analysis of covariance (ANCOVA). LT, fat oxidation, carbohydrate oxidation, systolic blood pressure (SBP), diastolic blood pressure (DBP), total time, and maximum workload of physical performance test in the ginseng group were similar to those of the placebo group. There were no abnormal changes of selected measures of liver and renal functions with ginsent administration. These results suggest that daily administration of 3 g ginseng for 8-week period did not improve certain measures of physical performance nor fat and carbohydrate oxidation rates during submaximal exercise in the Naval nursing studens.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2467
ISBN: 9741767161
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.