Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24683
Title: | การศึกษาปัญหาการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม |
Other Titles: | A study on the porblems of the government pharmaceutical organization |
Authors: | พิทยาธร นิมานวรวุฒิ |
Advisors: | ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | องค์การเภสัชกรรม การบริหารองค์การ |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาถึงปัญหาในการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม อันเป็นองค์การรัฐวิสาหกิจที่ทำการผลิตยารักษาโรคมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ศึกษาโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม ศึกษาปัญหาการดำเนินงานด้านการผลิต การเจ้าหน้าที่ การเงิน และการจัดจำหน่ายพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ในการศึกษาปัญหาการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม ได้ศึกษาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การเภสัชกรรม และได้แจกแบบสอบถามให้แก่พนักงานขององค์การเภสัชกรรมจำนวน 504 ชุด ได้รับแบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์กลับคืนมา 264 ชุด คิดเป็นร้อยละ 52.38 จากการศึกษาพบว่า ลำดับปัญหาในการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรมมีดังต่อไปนี้ ปัญหาด้านการผลิต ด้านการเจ้าหน้าที่ การเงิน และด้านกรจัดจำหน่ายข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นมีดังนี้คือ ก) ด้านการผลิต – ควรมีการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยการคาดคะเนความต้องการของตลาด จัดหาเครื่องจักรที่ทันสมัยและขยายพื้นที่ในการผลิต ข) ด้านการเจ้าหน้าที่ – ควรมีการปรับปรุงในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงาน โดยเฉพาะในเรื่องรถรับส่งพนักงานจากการวิจัยพบว่าพนักงานส่วนใหญ่มีความต้องการด้านนี้มาก บรรยากาศในที่ทำงานควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเช่นในเรื่องสถานที่ทำงานร้อนอบอ้าว การฝึกอบรมพนักงานในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์การฯ ควรจัดให้มีขึ้นโดยเจ้าหน้าที่องค์การฯ เป็นผู้จัดอบรม ค) ด้านการเงิน – ควรหามาตรการในการป้องกันไม่ให้ค่าใช้จ่ายขององค์การเภสัชกรรมสูงขึ้น ในเรื่องหนี้สูญขององค์การฯ ควรหาทางแก้ไขโดยการวางแผนและวิเคราะห์ฐานะของลูกค้าก่อนที่จะให้สินเชื่อ รัฐบาลควรจะสนับสนุนองค์การฯโดยการให้งบประมาณขยายงานขององค์การฯให้มากขึ้น ง) ด้านการจัดจำหน่าย – ควรปรับปรุงระบบการจัดส่งสินค้าและบริการให้รวดเร็วขึ้น มีการส่งเสริมการจำหน่ายและโฆษณาเพิ่มขึ้น มีการฝึกอบรมพนักงานและเพิ่มจำนวนพนักงานขายเพื่อขยายตลาด. |
Other Abstract: | The aim of this thesis is to study the problems in the operations of the Government Pharmaceutical Organization (G.P.O.) a state enterprise engaging in the production of medicines, and to develop suggestions on possible ways in which the problem can be solved. The studies cover the organization structure and operations of the G.P.O., as well as the problems pertaining to production, personnel, finance and distribution. In carrying out studies, data were obtained from various document relating to the G.P.O., and from questionnaires distributed to employees of the G.P.O. A total of 504 questionnaires were sent out, of which 264 replies (52.38%) were received back. The results of the studies indicate that the problems in the operations of the G.P.O. fall into the following order of importance:- production, personnel, finance and distribution. Suggestion on ways in which the problems may be solved can be summarized as follows:- a) Production – Production plans should be developed on the basis of market forecasts to correspond with market demand. Modern machineries should be acquired, and production areas expanded. b) Personnel – Staff welfare and benefits schemes should be improved, particularly regarding staff transportation facilities which the studies indicate to be priority, working conditions which need to be improved because of the intense heat, lack of adequate ventilation, and restricted space. Staff training programmes for all divisions should be developed and implemented, using officials of the G.P.O. as instructors. c) Finance – Measures should be taken to prevent or minimize increase in operating costs. Action should be taken to solve collectability and had debt problems through careful planning and credit analysis prior to granting credit to customers. The government should provide financial support to the G.P.O. through increased budget for expanision of the G.P.O.’s operations. d) Distribution – G.P.O. should be provided more rapid distubution and services. Sales promotion and advertising should be on a larger scale. Sales representatives should be properly trained. More sales personnel should be recruited for the market expansion. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พาณิชยศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24683 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pittayatorn_Ni_front.pdf | 255.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittayatorn_Ni_ch1.pdf | 128 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittayatorn_Ni_ch2.pdf | 682.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittayatorn_Ni_ch3.pdf | 669.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittayatorn_Ni_ch4.pdf | 247.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pittayatorn_Ni_back.pdf | 716.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.