Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24694
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทย์ วิศทเวทย์ | |
dc.contributor.author | สมพิศ ศรีประไพ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-20T07:28:02Z | |
dc.date.available | 2012-11-20T07:28:02Z | |
dc.date.issued | 2521 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24694 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความคิดสำคัญๆ ในปรัชญา “ประจักษนิยมแบบจัด” ของวิลเลียม เจมส์ ในด้านอภิปรัชญาและทฤษฎีความรู้ ทั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความคิดของเจมส์กับลัทธิ “ประกจักษนิยมเดิม” ผลของการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ทัศนะของเจมส์เป็นการปรับปรุงลัทธิประจักษนิยมเดิมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กล่าวคือ ประจักษนิยมเดิมเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุไม่มีจริง แต่เจมส์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุเป็นประสบการณ์ของเราเช่นเดียวกับวัตถุ ด้วยเหตุนี้สิ่งต่างๆ จึงมีความเกี่ยวเนื่องกันภายในโลกแห่งความหลายหลากดังนั้นประสบการณ์ของเราจึงต่อเนื่องกันเป็นกระแสทั้งวัตถุและความสัมพันธ์ จิตเป็นผู้แยกความแตกต่างโดยการตีความให้เป็นมโนภาพ นอกจากนี้เจมส์ยังเสนอด้วยว่า ความคิดและวัตถุไม่มีความแตกต่างกัน เพราะทั้งสองคือ “ประสบการณ์บริสุทธิ์” ซึ่งมีบทบาทแตกต่างกัน คือ บทบาทของความสำนึกที่เป็นผู้รู้ และบทบาทของวัตถุซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ โดยนัยนี้ไม่มีรูปธรรมทางจิตหรือวิญญาณ มีแต่กระแสของ “ความคิด” หรือกระแสของ “ความสำนึก” ซึ่งทำหน้าที่รับความรู้สึกโดยที่ความสำนึกเกิดขึ้นและสลายไปโดยมีความสำนึกใหม่เกิดขึ้นแทนที่ต่อเนื่องกันตลอดเวลา อีกประการหนึ่ง เจมส์ขยายประสบการณ์ของมนุษย์ออกไปจากประสบการณ์ในวัตถุหรือผัสสะ เขายอมรับประสบการณ์ทางศาสนาว่าเป็นประสบการณ์โดยตรงของแต่ละคนในวัตถุประเภทความคิด เจมส์อธิบายพระเจ้าว่าคืออุดมคติซึ่งเป็นผลมาจากรแรงผลักดันของจิตใต้สำนึกของมนุษย์นั่นเอง ส่วนประจักษนิยมเดิมไม่ได้อธิบายการมีอยู่ของพระเจ้าในแง่ของประสบการณ์ หรือเชื่อว่าพระเจ้าเป็นสิ่งที่ประสบการณ์ของมนุษย์ไม่อาจเข้าถึงได้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ปรัชญาของเจมส์เป็น “แบบจัด” จริงในแง่ที่ยอมรับสิ่งที่ประจักษนิยมเดิมไม่ยอมรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปอาจศึกษาทัศนะและงานของนักปฏิบัตินิยมในระยะหลังจากเจมส์เพื่อเข้าใจพัฒนาการของลัทธิปฏิบัตินิยม หรืออาจศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดของเจมส์กับจอห์น ดิวอี้ ( John Dewey ) เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม ( Reconstructionism ) ของดิวอี้ให้กว้างขวางขึ้นซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบปรัชญาการศึกษาไทย | |
dc.description.abstractalternative | The thesis is a critical study of James’ metaphysics and theory of knowledge which makes his philosophy known as “Radical Empiricism”. It was found out that James differs from the old Empiricism because he claims a real relationship between things, while the empiricists show a tendency to do away with the relationship between things. For James, this world is a world of experience with a pluralistic nature. Man undergoes experience like a stream consisting of things and its relations. Then, human mind can single out any part of experience in order to form a concept in the expedient way for his living. In addition for James thing and thought are not different but both are “pure experience” that plays different roles i.e. “knower” and “ the known”. By the same token, there is no substantive soul that dictates human actions. What really exists is a stream of “consciousness” in flux. Secondly, James accepted religion and supernatural phenomena as direct, real and useful human experiences. There exists a private world of subconsciousness in human beings that guides and improves human destiny. This also makes James radical from the other empiricists who cannot prove the existence of God in term of human experience or believe that God is beyond an approach of human experience. The suggestions for further research are to study another pragmatists that come after james to see Pragmatism’s development and to make a comparative study of James and Deweys’ philosophy to understand the Reconstructionism which might serve as a primary study of Thai philosophy of education of the present time. | |
dc.format.extent | 376682 bytes | |
dc.format.extent | 298253 bytes | |
dc.format.extent | 643607 bytes | |
dc.format.extent | 1219032 bytes | |
dc.format.extent | 914464 bytes | |
dc.format.extent | 887740 bytes | |
dc.format.extent | 256791 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | วิเคราะห์ปรัชญา "ประจักษนิยมแบบจัด" ของ วิลเลียม เจมส์ | en |
dc.title.alternative | An analysis of William James's "Radical Empiricism" | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sompit_Pr_front.pdf | 367.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_Pr_ch1.pdf | 291.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_Pr_ch2.pdf | 628.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_Pr_ch3.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_Pr_ch4.pdf | 893.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_Pr_ch5.pdf | 866.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sompit_Pr_back.pdf | 250.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.