Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24731
Title: | การศึกษาความสนใจและความต้องการในการอ่านวรรณกรรมสังคมศาสตร์ไทยของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | A study of university students' reading interests in and need for Thai social science literature |
Authors: | พรทิพย์ วัฒนสุวกุล |
Advisors: | ประคอง กรรณสูต ศจี จันทวิมล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การอ่าน ความสนใจในการอ่าน |
Issue Date: | 2518 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความสนใจในการอ่านหนังสือสังคมศาสตร์ไทยตามเนื้อหาของหลักสูตรและความต้องการในการอ่านผลงานของผู้เขียนหนังสือแขนงนี้ ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิต ครอบคลุมกลุ่มสาขาวิชาหลัก 5 สาขาคือ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยาภาควัฒนธรรม และจิตวิทยาสังคม กับกลุ่มสาขาวิชาที่เลือกประยุกต์อีก 3 สาขา คือ รัฐประศาสนศาสตร์ พัฒนาการเศรษฐกิจ และบริหารธุรกิจ เพื่อสำรวจปริมาณการผลิตวรรณกรรมสังคมศาสตร์ไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2510-2516 และแหล่งสะสมหนังสือสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 2 กลุ่ม (1) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 300 คน และ (2) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 200 คน วิธีการวิจัยที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ การค้นคว้าจากหนังสือ บทความวารสารและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่กล่าวถึงวรรณกรรมสังคมศาสตร์ การส่งเสริมการอ่าน ปริมาณการผลิตหนังสือสังคมศาสตร์ไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2510-2516 สำรวจแหล่งสะสมหนังสือสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย โดยการส่งแบบสอบถามไปยังบรรณารักษ์เพื่อใช้เป็นภูมิหลังในการสร้างแบบสอบถามที่ใช้สำรวจความสนใจและความต้องการในการอ่านหนังสือสังคมศาสตร์ไทยของนิสิตนักศึกษาทั้งสองระดับ และส่งแบบสอบถามดังกล่าวนี้ไปยังตัวอย่างประชากร 2 กลุ่ม โดยไม่เจาะจงบุคคล ได้รับคำตอบคืนมา 500 ชุด ผลการวิจัยมีดังนี้คือ การสำรวจปริมาณการผลิตวรรณกรรมสังคมศาสตร์ไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2510-2516 ปีที่มีการผลิตสูงสุดคือ พ.ศ. 2516 มีจำนวน 905 ชื่อเรื่อง รองลงมาคือ พ.ศ. 2512 จำนวน 898 ชื่อเรื่อง ในการสำรวจแหล่งสะสมหนังสือสังคมศาสตร์ในมหาวิทยาลัย หอสมุดกลางมหาวิทยาลัย มีจำนวนหนังสือสังคมศาสตร์ไทยเฉลี่ย 1,528 ชื่อเรื่อง ห้องสมุดคณะมี 519 ชื่อเรื่อง ซึ่งได้รับการเลือกและจัดหาโดยบรรณารักษ์ และอาจารย์ผู้สอนเสนอรายชื่อเป็นส่วนใหญ่ ห้องสมุดเหล่านี้มีรายได้จากเงินงบประมาณประจำปีและค่าปรับ แต่ก็ยังมีปัญหางบประมาณซื้อหนังสือและวารสารไม่เพียงพอ ยกเว้นเพียงบางแห่ง ห้องสมุดส่วนใหญ่มีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยการทำรายชื่อหนังสือและวารสารใหม่รายเดือน จัดชั้นแสดงหนังสือใหม่และจัดหิ้งเปิด และมีบางแห่งที่ขายสิ่งพิมพ์ และจัดนิทรรศการหนังสือ ความสนใจในการอ่านวรรณกรรมสังคมศาสตร์ไทยตามสาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ พัฒนาการเศรษฐกิจ บริหารธุรกิจ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา (ภาควัฒนธรรม) และจิตวิทยาสังคม ของนิสิตนักศึกษาทั้งสองระดับ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปานกลาง และน้อย สัมพันธ์ตามเนื้อหาของหลักสูตรในแต่ละมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่นิสิตนักศึกษากำลังศึกษาอยู่ นิสิตนักศึกษาทั้งสองระดับโดยเฉลี่ยสนใจอ่านเรื่องการเมืองการปกครองของไทย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยมาก แต่สนใจอ่านเรื่องเศรษฐมิติน้อย ในการศึกษาความต้องการในการอ่านหนังสือสังคมศาสตร์ไทยของผู้เขียนตามสาขาวิชาต่าง ๆ ดังกล่าว นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (42.00%) และระดับปริญญามหาบัณฑิต (73.00%) จำนวนมากที่สุดต้องการอ่านหนังสือสังคมศาสตร์ไทยของผู้เขียนที่มีความชำนาญเฉพาะวิชา รองลงมาผลงานของผู้เขียนที่นิสิตนักศึกษาเคยอ่านบทเขียนของบุคคลเหล่านั้นมาก่อนและของบุคคลที่มีชื่อเสียง ดังในสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (70.33%) และระดับปริญญามหาบัณฑิต (70.00%) จำนวนมากที่สุดต้องการอ่านผลงานของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในสาขาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการเศรษฐกิจ และบริหารธุรกิจ นิสิตนักศึกษาทั้งสองระดับ 76.33% และ 78.50% จำนวนมากที่สุดต้องการอ่านผลงานของ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ในสาขาสังคมวิทยา มานุษยวิทยา (ภาควัฒนธรรม) และจิตวิทยาสังคม นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวนมากที่สุดต้องการอ่านผลงานของอานนท์ อาภาภิรม (42.66%) พระยาอนุมานราชธน (60.33%) และ มล. ตุ้ย ชุมสาย (49.33%) ส่วนนิสิตนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตจำนวนมากที่สุดต้องการอ่านผลงานของพัทยา สายหู (66.00%) และหลวงวิเชียรแพทยาคม (59.50%) ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ห้องสมุดทางสังคมศาสตร์ควรเลือกจัดหาสิ่งพิมพ์ทางสังคมศาสตร์ไทยทุกประเภทเข้าห้องสมุด ตามความสนใจในการอ่านหนังสือแขนงนี้ของนิสิตนักศึกษาทั้งสองระดับ โดยให้สัมพันธ์กับเนื้อหาหลักสูตรของแต่ละสถาบัน และตามความต้องการในการอ่านผลงานของผู้เขียนที่มีความชำนาญเฉพาะวิชาและของบุคคลที่มีชื่อเสียง (2) ในการจัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ควรจะได้มีการคัดเลือกเนื้อหาของหนังสือแขนงนี้ให้สัมพันธ์กับหลักสูตร และของผู้เขียนที่มีความชำนาญเฉพาะและมีชื่อเสียงโดยพิจารณาถึงการจัดทำเชิงอรรถ สารบัญ และดรรชนีค้นเรื่องด้วย (3) ห้องสมุดทางสังคมศาสตร์ทุกแห่งควรเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เสนอรายชื่อหนังสือสังคมศาสตร์ไทยทุกประเภท เพื่อว่าจะได้เลือกจัดหามาสนองความสนใจและความต้องการในการอ่าน (4) ควรจัดทำรายชื่อหนังสือสังคมศาสตร์ไทยรายเดือนเรียงตามลำดับอักษรของชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องตามสาขาวิชา (5) ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติม เช่น การจัดนิทรรศการหนังสือสังคมศาสตร์ไทยตามสาขาวิชาต่าง ๆ การเปิดสอนวิชาการอ่านหนังสือเฉพาะ จัดบริการหนังสือเช่ายืม และการประกวดการอ่านหนังสือแขนงนี้ และ (6) ควรมีความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในการจัดทำสหบัตรหนังสือและวารสารทางสังคมศาสตร์ไทย แลกเปลี่ยนรายชื่อหนังสือและวารสารใหม่ และมีการยืมระหว่างห้องสมุดเพื่อกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษาเกิดความสนใจและความต้องการในการอ่านหนังสือแขนงนี้มากขึ้น |
Other Abstract: | The objectives of this thesis are: to study University students’ reading interests in subject matters of Thai Social Science literature according to curricula; to study their reading needs for Social Science authors’ writings covering five core disciplines: Political Science, Economics, Sociology, Cultural Anthropology and Social Psychology, and three electic disciplines: Publice Administration, Economic Development and Business Administration; to survey the quantity of Thai Social Science literature production from B.E. 2510-2516; and to survey University Social Science collections. The samples include 2 groups: (1) 300 Chulalongkorn, Thammasart and Kasetsart University undergraduate students, and (2) 200 Chulalongkorn University and National Institute of Development Administration graduate students. The research methods used in this thesis are documentary research through books, periodicals and other printed materials concerning Social Science literature, promotion of reading and the quantity of Thai Social Science literature production from B.E. 2510-2516; survey 16 Social Science collections through questionnaires sent to librarians to be background in building another questionnaire in order to survey university students’ reading interests in and needs for Thai Social Science literature, and finally through questionnaires sent to the samples without restriction to samples’ names. 500 answered questionnaires are returned. Research results conclude as follows: Concerning the quantity of Thai Social Science literature production from B.E. 2510-2516, there was the largest amount of production in B.E. 2516, 905 titles, and subsequent amount of 898 titles in B.E. 2515. About Social Science collections, central university libraries have an average number of 1,528 Thai Social Science titles whereas faculty libraries only have an average of 519 titles. These titles are selected and acquired by librarians and faculty members who usually recommend lists of books they need. These collections have income from budget and fees from their users but most libraries still have problems of the inadequacy of budget to spend on books and periodicals. Moreover, these libraries have activities in promoting students’ reading by compiling monthly accession lists, arranging shelves displaying new books and open shelves. In addition to these, some libraries sell duplicate copies and other publications, and arrange book exhibitions. University undergraduate and graduate students’ reading interests in Thai Social Science literature covering Political Science, Public Administration, Economics, Economic Development, Business Administration, Sociology, Cultural Anthropology and Social Psychology, are average in high, middle and low levels relatively to curriculum subject-matters of each university or institute in which the students are studying. Average students in both levels are very interested in reading Thai Politics and Government, and Thai Economic and Social Development Planning but less interested in Econometrics. In studying students’ reading needs for Social Science authors’ writings covering all above branches, the largest number of undergraduates (42.00%) and graduates (73.00%) need for reading specialized authors’ writings. Subsequently, the students still need for authors whose writings students have read before and who are famous. For instance, in Political Science, the largest number of undergraduates (70.33%) and graduates (70.00%) want to read M.R. Kukrit Pramoj’s writings and in Economic, Economic Development and Business Administration, the largest number of both students (76.33% and 78.50%) need to read Puey Ungpakorn’s. In Sociology, Cultural Anthropology and Social Psychology, the largest number of undergraduates need to read Amonth Apapirom’s (42.66%), Praya Anumanrajadhon (60.33%) and M.L. Tuy Chumsai’s (49.33%) but the largest number of graduates want to read Pataya Saihoo’s (66.00%) and Luang Vichienpaetayakom (59.50%). The main recommendations are as follows:- (1) Social Science libraries should select and acquire all kinds of Thai Social Science publications according to students’ interests relatively to curriculum subject-matter of each university or institute and needs for specialized authors’ writings. (2) In publishing Social Science writings, publishers should select contents of these writings relatively to curriculum subject matters and of specialized authors at preliminary consideration and should compile footnotes, contents and indexes detailedly. (3) Every social science library ought to let students recommend lists of Thai Social Science publications in order that librarians will select and acquire these publications responding to students’ reading interests and needs. (4) Social Science libraries should compile monthly lists of Thai Social Science current books arranged alphabetically according to author or titles under subject headings in each branch of Social Science. (5) Most libraries should arrange additional activities promoting students’ reading such as Thai Social Science book exhibition, special reading course, rental collections and reading competition. (6) In addition to these, there should be interlibrary cooperation to provide union catalog, union lists, interchange new lists of books and periodicals and interlibrary loan services in order to stimulate students’ interests and needs to read more books in this field. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24731 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornthip_Wa_front.pdf | 731.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_ch1.pdf | 596.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_ch2.pdf | 6.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_ch3.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_ch4.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_ch5.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_ch6.pdf | 979.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornthip_Wa_back.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.