Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24769
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล
dc.contributor.authorพรทิพย์ สิงห์โตทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-20T09:56:25Z
dc.date.available2012-11-20T09:56:25Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745649856
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24769
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์หนังสือเรียนสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” ที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำขึ้น จำนวน 3 เล่ม คือ หนังสือเรียนสังคมศึกษา ประเทศของเรา ส 101, ส 102 เรื่องพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หนังสือเรียนสังคมศึกษา เพื่อนบ้านของเรา ส 203, ส 204 เรื่องพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หนังสือเรียนสังคมศึกษา โลกของเรา ส 305, ส 306 เรื่องพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในด้านคุณภาพ การจัดทำรูปเล่มหนังสือเรียน อุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนในหนังสือเรียน การเขียนและการใช้ภาษา และเนื้อหาของหนังสือเรียน 2. เพื่อประเมินหนังสือเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” จำนวน 3 เล่ม วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์และสร้างแบบวิเคราะห์หนังสือเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” ที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการจัดทำขึ้นโดยผ่านการพิจารณาตัดสินของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วแบบวิเคราะห์มี 2 ชนิด คือ (1) แบบมาตราส่วนประเมินค่า ใช้วิเคราะห์คุณภาพของหนังสือเรียนในด้านการจัดทำรูปเล่ม อุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอน การเขียนและการใช้ภาษา และ (2) แบบหาค่าความถี่วิเคราะห์คุณภาพในด้านเนื้อหาของหนังสือเรียน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ โดยหาค่าร้อยละ หาค่ามัชฌิมเลขคณิต (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง สรุปผลการวิจัย 1. ในด้านคุณภาพของหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมเกี่ยวกับการจัดทำรูปเล่มหนังสือเรียน อุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอน การเขียนและการใช้ภาษา พบว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.44, 2.76 และ 2.76 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การจัดทำรูปเล่มของหนังสือเรียนทั้ง 3 เล่ม มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง อุปกรณ์ช่วยการเรียนการสอนในหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา “เรื่องพระพุทธศาสนา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุง และในหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา “เรื่องพระพุทธศาสนา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพอยู่ในระดับควรปรับปรุงอย่างยิ่ง การเขียนและการใช้ภาษาในหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษา “เรื่องพระพุทธศาสนา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ส่วนเล่มที่ 1 และเล่มที่ 3 มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง 2. ในด้านเนื้อหาของหนังสือเรียนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” ปรากฏผลดังนี้ 2.1 ความสอดคล้องของเนื้อหาของหนังสือเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” กับจุดประสงค์วิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 3 เล่ม โดยเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 44.44, 56.08 และ 45.74 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า เนื้อหาของหนังสือเรียนสังคมศึกษา “เรื่องพระพุทธศาสนา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์วิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ข้อที่ 3 คือ “เพื่อเสริมสร้างให้มีคุณภาพในการดำรงชีวิต มีศีลธรรมและคุณธรรมประจำใจ และมีคุณสมบัติต่าง ๆ อันพึงประสงค์ของสังคมไทย” มากที่สุด สำหรับหนังสือเรียนสังคมศึกษา “เรื่องพระพุทธศาสนา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นั้น พบว่ามีเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์ข้อที่ 2 คือ “เพื่อให้มีความรักชาติ มีความสามัคคีในชาติ มีความเสียสละเพื่อส่วนรวม มีความซาบซึ้งในผลงานอันดีเด่นของคนไทย รู้จักธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราช และรู้จักรักษาแบบอย่างวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามของชาติ” มากที่สุด 2.2 คุณภาพของเนื้อหาของหนังสือเรียนสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น “เรื่องพระพุทธศาสนา” ทั้ง 3 เล่ม โดยเฉลี่ยแล้วคุณภาพอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือมีคุณภาพของเนื้อหาวิชาตรงตามที่ผู้วิเคราะห์กำหนดคิดเป็นร้อยละ 49.88, 53.26 และ 55.01 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพของเนื้อหาวิชา พบว่า หนังสือเรียนสังคมศึกษา “เรื่องพระพุทธศาสนา” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพของเนื้อหาวิชาช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดมโนทัศน์ในวิชาพระพุทธศาสนามากที่สุด หนังสือเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพของเนื้อหาวิชาเหมาะสมกับวุฒิภาวะและระดับชั้นของผู้เรียนมากที่สุด
dc.description.abstractalternativePurposes: 1. To analyze three lower secondary education social studies textbooks on “Buddhism” published by the Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education : S 101, S 102 “Our Country” for mathayom suksa 1, S.203, S.204 “Our Neighbour” for mathayom suksa 2, and S.305, S.306 “Our World” for mathayom suksa 3 in four aspects namely: the format, the teaching aids, the writing style and language, and the content of the textbook. 2. To evaluate the general quality of the three lower secondary education social studies textbooks on “Buddhism”. Procedures: The criteria and form for analysis and evaluation of lower secondary education level social studies textbooks on “Buddhism” were set up by the researcher and approved by the jury comprised of 5 specialists concerned. There were two types of form for analysis and evaluation: a rating scale for textbook quality on format, teaching-learning aids, writing style and language, and a frequency table for scoring of content quality of the textbook. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and presented in tables with description. Findings: 1. To consider as a whole, the quality of the three lower secondary education level social studies textbooks on “Buddhism” concerning the format, the teaching-learning aids, the writing style and language was at average level by arithmetic means of 2.44, 2.76 and 2.76 respectively. To consider in detail, it was found that the quality of the format of all the three textbooks was at average level. The teaching-learning aids in social studies textbooks on “Buddhism” for mathayom suksa 1 and mathayom suksa 3 needed some improvement but the textbook for mathayom suksa 2 needed much improvement. In the social studies textbooks on “Buddhism” for mathayom suksa 2, the writing style and language were of high quality while that of the other two textbooks were at average level. 2. The results of content analysis of the three lower secondary education level social studies textbooks on “Buddhism” were: 2.1 The compatability of the content of the three social studies textbooks on “Buddhism” under study and the objectives of social studies program at lower secondary education level as determined by percentage was 44.44, 56.08 and 45.74 respectively. To consider in detail, it was found that the content of social studies textbooks for mathayom suksa 1 and mathayom suksa 3 was most compatible to the third objective of lower secondary education level social studies program: “To enhance the quality of living with moral principles and other desirable characteristics for the Thai society.” The content in textbook for mathayom suksa 2 was most compatible to the objective No. 2: “To encourage patriotism, unity in the nation, devotion for the community, appreciation for remarkable Thais’ works, preservation of independence as well as conservation of the nation’s fine culture and tradition”. 2.2 The quality of the content of the three lower secondary education level social studies textbooks on “Buddhism” was relatively at the same level. It was relevant to the criteria which the researcher had set up at the percentage of 49.88, 53.26 and 55.01 respectively. The content of both social studies textbooks on “Buddhism” for mathayom suksa 2 and mathayom suksa 3 mostly helped foster students’ concepts of Buddhism. The finding indicated that the content of the textbook for mathayom suksa 1 was more appropriate for students’ maturity and grade level that the other two.
dc.format.extent462468 bytes
dc.format.extent714355 bytes
dc.format.extent3161269 bytes
dc.format.extent354879 bytes
dc.format.extent508572 bytes
dc.format.extent1104059 bytes
dc.format.extent1328212 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์และประเมินหนังสือเรียนสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น "เรื่องพระพุทธศาสนาen
dc.title.alternativeAn analysis an evaluation of lower secondary education social studies textbooks on "Buddhism"en
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntip_Si_front.pdf451.63 kBAdobe PDFView/Open
Porntip_Si_ch1.pdf697.61 kBAdobe PDFView/Open
Porntip_Si_ch2.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Si_ch3.pdf346.56 kBAdobe PDFView/Open
Porntip_Si_ch4.pdf496.65 kBAdobe PDFView/Open
Porntip_Si_ch5.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Si_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.