Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24782
Title: การตลาดเพื่อการส่งออกผลผลิตประมงของไทย
Other Titles: Export marketing for fishery products of Thailand
Authors: รัชมาศ โชติศุภราช
Advisors: สุรัชนา วิวัฒนชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในบรรดาสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ผลิตผลประมงได้เริ่มทวีความสำคัญ โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกของโลกแล้ว ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.40 ในปี 2509 เป็นร้อยละ 2.6 ในปี 2521 ปริมาณการผลิตสัตว์น้ำโดยส่วนรวมแล้วมีปริมาณที่สูงขึ้นทุกปี โดยปริมาณจับสัตว์น้ำเค็มได้เพิ่มสูงขึ้นถึงกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมดประมาณ 2 ล้านกว่าตันนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นมา ทั้งนี้เป็นผลเนื่องมาจากการปรับปรุงเทคโนโลยีการประมงแบบใหม่ กุ้งทะเลซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีมูลค่าส่งออกสูงกว่าสัตว์น้ำประเภทอื่น ๆ ก็มีแนวโน้มการจับเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกับปลาหมึกแม้ว่าจะไม่มากนัก ในขณะที่ผลผลิตจำพวกปลาสำหรับบริโภคมีแนวโน้มที่ลดลง และปลาเป็ดซึ่งนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ยหรือปลาป่นได้มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ส่วนการบริโภคภายในประเทศไม่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศขึ้นอยู่กับผลผลิตเป็นสำคัญ ถ้าหากผลผลิตมีมากการบริโภคจะเพิ่มขึ้น ถ้ามีน้อยหรือมีอุปสงค์ทางด้านการส่งออกมากประชาชนจะลดการบริโภคลงหรือหันไปบริโภคสัตว์อื่นแทน จากการศึกษาพบว่าความต้องการผลผลิตประมงของตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในอัตราร้อยละ 4.15 ต่อปี โดยมีตลาดรับซื้อสำคัญที่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เอเชีย และยุโรป ผลผลิตประมงที่สำคัญเป็นที่ต้องการของตลาดโลกยังคงเป็นสินค้าสัตว์น้ำแช่เย็น ส่วนผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบรรจุกระป๋องมีแนวโน้มของความต้องการเพิ่มขึ้น สำหรับผลิตผลประมงของไทยส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป โดยผลผลิตประมงที่สำคัญคือ กู้แช่เย็น ส่งออกประมาณร้อยละ 32 ของปริมาณผลผลิตประมงที่ส่งออกทั้งหมดและผลผลิตประมงอื่น ๆ ที่เริ่มมีความสำคัญในการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ ปลาหมึก เนื้อปลา และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง การแข่งขันในตลาดญี่ปุ่นได้พบว่าไทยต้องเผชิญกับคู่แข่งขันที่มีข้อได้เปรียบทางด้านผลผลิตและต้นทุนการผลิตได้แก่ ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และประเทศเกาหลีใต้ซึ่งมีนโยบายสนับสนุนการค้าต่างประเทศอย่างมาก ส่วนตลาดปลาในสหรัฐอเมริกามีความผูกพันทางการประมงร่วมกับแคนาดา ซึ่งเป็นผู้ส่งเข้ารายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา แต่สำหรับกุ้งมีแนวโน้มที่สหรัฐจะหันมาหาผู้ผลิตทางด้าน เอเชียมากขึ้น เนื่องจากแหล่งผลิตจากละตินอเมริกาเริ่มลดน้อยลง และสำหรับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ผลผลิตประมงของไทยสามารถที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเนื่องจากผลิตภัณฑ์ของยุโรปมีราคาสูงกว่าของพ่อค้าส่งออกของไทย นอกจากนี้ ในตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดยุโรป ประเทศไทยยังสามารถที่จะเพิ่มชนิดของผลิตผลประมงอื่น นอกเหนือจากกุ้ง ปลา ปลาหมึกสดแช่เย็น ได้แก่ ปูทะเล หอย ปลาทูน่าแช่เย็น ปลาชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋องได้อีกด้วย เมื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก พบว่ามีสาเหตุหลายประการที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านปริมาณการผลิต ซึ่งในระยะยาวจะต้องประสบปัญหาการขาดแคลนสัตว์น้ำ เนื่องจากการจับมากเกินไปและการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศเพื่อนบ้าน ปัญหาทางด้านมาตรฐานคุณภาพสินค้าซึ่งไม่ตรงตามมาตรฐานคุณภาพสินค้าที่ต่างประเทศต้องการ ปัญหาการดำเนินการค้าของผู้ส่งออก และปัญหาการส่งเสริมจากรัฐบาลในปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการส่งออกผลผลิตประมงของไทย ข้อเสนอแนะ การส่งออกผลิตผลประมงไทยจะสามารถขยายให้มากขึ้นและแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยรัฐบาลจะต้องดำเนินการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิตเพิ่มมาตรการการตรวจสอบคุณภาพสินค้า และเพิ่มบทบาททางด้านการสนับสนุนผลผลิตประมงไทยให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศให้มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลควรอย่างยิ่งที่จะจัดสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อรับกับนโยบายการส่งออกของประเทศอีกด้วย ส่วนผู้ส่งออกก็ควรจะได้มีการรวมกลุ่มให้เป็นทางการ เพื่อสร้างเสถียรภาพของการประกอบการค้านี้ และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากต่างชาติด้วย
Other Abstract: Of all the major exports of Thailand, marine products export has emerged as are of growing importance. The volume of Thai marine exports, compared to the world’s marine exports, has increased from 0.40% in 1966 to 2.6% in 1978. Production of marine products in Thailand has generally increasing annually. From 1977 up to the present, salt water fisheries have increased significantly due to new technology, and now represent 90% of Thailand’s total catch, or more than 2,000,000 tons. Fishery of frozen shrimps, which have higher export value than any other kind of aquatic animals, as well as fishery of cuttlefish, are also increasing though at a lesser extent, while the volume of edible fish product is on the decrease. Trash fish, which can be transformed into fertilizer or fishmeal, is also increasing in volume. The local consumption of aquatic animals does not create any problems for the exportation as local consumption depends wholely on the volume of production. The results of this study indicate that the world market’s demand for marine products has been increasing at the rate of 4.15% per year annum, the main markets being Asian countries, the United States of America and Europe. There is still a demand for frozen and canned seafood in the world market, and the demand is increasing. Most of the marine products of Thailand are exported to Japan, the United States of America and the EEC countries. Frozen shrimps are one of the more important marine products exported and account for 32% of the total quantity of Thai marine products export. Other marine products which are beginning to be important exports are cuttlefish and canned seafood. In Japan, Thai exporters have to face competitors from India, Indonesia and the Republic of Korea, who are able to offer better quality products at lower cost as a result of government policy on promoting international trade. In the U.S. market, Canada is the biggest importer of fish. However, owing to the decrease in the supply of shrimps from Latin American producers, there is now the tendency for the U.S. market to look to Asian producers. In the EEC, Thailand’s marine products are able to compete successfully with products from other countries owing to higher prices of Europe’s marine products. Furthermore, in the United States and Europe, Thailand can offer other types of marine Products such as crabs, crustaceans, frozen tunas, and various kinds of canned fish. Considering the problems and obstacles of Thailand’s exportation, several causes have been identified relating to the quantity of production, which, in the long run, may be limited by the lack of seafood due to over-fishery, the announcement of economic zone by neighbouring countries, the problem of the standard of quality of product which does not meet the consumers’ requirement and the problem of promotion by the government to enhance the export potential of Thai marine products. Recommendation The Gevernment should assist in extending the exportation of Thai fishery products and in competing with other countries by promoting increase of production, reduction in production cost extending requirements for quality control inspections, increasing its promotional role to the extent that Thai fishery products become well-known abroad. Exporters, should unite together formally in order to attain stability for their trade and to protect their business against any undue advantage taken by foreign importers. In addition, deep sea ports should be built as a concerted effort to policy on export promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24782
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachamas_Ch_front.pdf599.9 kBAdobe PDFView/Open
Rachamas_Ch_ch1.pdf406.8 kBAdobe PDFView/Open
Rachamas_Ch_ch2.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Rachamas_Ch_ch3.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Rachamas_Ch_ch4.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Rachamas_Ch_ch5.pdf792.27 kBAdobe PDFView/Open
Rachamas_Ch_back.pdf917.93 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.