Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24845
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราณี กุลละวณิชย์ | - |
dc.contributor.advisor | พรทิพย์ พุกผาสุข | - |
dc.contributor.author | รุ่งอรุณ ทีฆชุณหเถียร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T03:52:26Z | - |
dc.date.available | 2012-11-21T03:52:26Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741714556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24845 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอนิยมสรรพนามและปฤจฉาสรรพนามที่มีรูปเดียวกันในสมัยต่าง ๆ และศึกษาพัฒนาการของอนิยมสรรพนามและปฤจฉาสรรพนามที่มีรูปเดียวกันในสมัยต่าง ๆ โดยใช้ข้อมูลจากเอกสารที่ตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วของแต่ละสมัย ผลการวิจัยพบอนิยมสรรพนามและปฤจฉาสรรพนามที่มีรูปเดียวกันจำนวนทั้งหมด 30 รูป จำแนกตามรูปภาษาได้ 2 ประเภทคือคำมูลและคำประสม ซึ่งในสมัยสุโขทัยเท่านั้นที่มีรูปภาษาทั้ง 2 ประเภทนี้ ส่วนในสมัยอื่น ๆ พบเฉพาะคำประสมเพียงประเภทเดียว ทางด้านวากยสัมพันธ์ อนิยมสรรพนามปรากฏได้ในปริบทต่อไปนี้ ได้แก่ ปรากฏหน้าหน่วยขยายนามได้ 3 ประเภท ปรากฏในตำแหน่งกรรมของกริยาวลีบอกปฏิเสธ ปรากฏในประโยคที่มีคำลงท้ายแสดงการถามแบบตอบรับ-ปฏิเสธ ปรากฏในอนุประโยค และปรากฏในประโยคเชื่อม ในปริบทเหล่านี้ปฤจฉาสรรพนามปรากฏไม่ได้ ทางด้านความหมาย อนิยมสรรพนามจะปรากฏในปริบทที่แสดงความหมายเจาะจงหรือไม่เจาะจงก็ได้ ผู้พูดรู้ข้อมูลหรือไม่รู้ข้อมูลก็ได้ และผู้พูดไม่ต้องการ คำตอบจากผู้ฟัง ส่วนปฤจฉาสรรพนามจะปรากฏได้เฉพาะในปริบทที่แสดงความหมายเจาะจง ผู้พูดไม่รู้ข้อมูล และต้องการคำตอบจากผู้ฟัง ทางด้านหน้าที่ ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์มาอธิบายปรากฏการณ์ที่อนิยมสรรพนามและปฤจฉาสรรพนามมีรูปเดียวกันแต่ทำหน้าที่ได้ 2 หน้าที่ สรุปได้ว่า อนิยมสรรพนามเป็นคำที่กลายมาจากปฤจฉาสรรพนามโดยผ่านกระบวนการทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ การแยกคำ การบังคับการปรากฏ การสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม การวิเคราะห์ใหม่ และผ่านกระบวนการทางความหมาย ได้แก่ การทำให้มีความหมายทั่วไป และการขยายขอบเขตเชิงอุปลักษณ์ จากการศึกษาในแต่ละสมัยพบว่าการกลายของปฤจฉาสรรพนามมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากการกลายไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันแต่มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และพบว่าในจำนวนรูปคำทั้งหมด 30 รูป มีเพียง 2 รูปเท่านั้น ได้แก่ ผู้ใด เท่าใด ที่แสดงให้เห็นว่าการกลายมีพัฒนาการต่อเนื่องตลอดทุกสมัย | - |
dc.description.abstractalternative | This research is a diachronic study of some indefinite pronouns and interrogative pronouns which are homophonous and homographic in Thai. The data used are based on published documents dated from the Sukhothai period to the present. Based on the data, 30 homophonous and homographic pairs of indefinite and interrogative pronouns have been found. They can be classified by forms into 2 types : the simple and compounding forms. It was only in the Sukhothai period that the two types were found, in the other periods only the compounding form occurred. Indefinite pronouns occur in different contexts from interrogative pronouns. Syntactically, an indefinite pronoun can occur with 3 types of modifiers. It can also occur as an object of a negated predicate, in a yes-no question, in a subordinate clause and in a co-ordinate clause. An interrogative pronoun, on the other hand, cannot occur in those contexts. Semantically, an indefinite pronoun can occur either in specific or non-specific contexts, It can also occur in a speech act in which a speaker either has or does not have previous information. An interrogative pronoun, on the other hand, can occur only in a specific context, the speaker does not have previous information and would like to get it from the hearer. To deal with the development to these 30 homophonous and homographic indefinite and interrogative pronouns, grammaticalization of them is studied. It can be concluded that indefinite pronouns are grammaticalized from interrogative pronouns through the following processes : divergence, obligatorification, decategorialization, reanalysis, generalization and metaphorical extension. In this study only 2 words : phû:-daj and thâw-daj are found to have displayed the development from the Sukhothai period until the present. | - |
dc.format.extent | 3053404 bytes | - |
dc.format.extent | 3992720 bytes | - |
dc.format.extent | 8840117 bytes | - |
dc.format.extent | 7003921 bytes | - |
dc.format.extent | 2180600 bytes | - |
dc.format.extent | 15073928 bytes | - |
dc.format.extent | 9996016 bytes | - |
dc.format.extent | 10281047 bytes | - |
dc.format.extent | 4214179 bytes | - |
dc.format.extent | 12002476 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.179 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ | - |
dc.subject | ภาษาไทย -- สรรพนาม | - |
dc.title | อนิยมสรรพนามและปฤจฉาสรรพนาม : การศึกษาเชิงประวัติ | en |
dc.title.alternative | Indefinite pronouns and interrogative pronouns : a historical study | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2002.179 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Roongaroon_te_front.pdf | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch1.pdf | 3.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch2.pdf | 8.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch3.pdf | 6.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch4.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch5.pdf | 14.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch6.pdf | 9.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch7.pdf | 10.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_ch8.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongaroon_te_back.pdf | 11.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.