Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2485
Title: การหาความชุกของแมคโครโปรแลคตินนีเมีย ในผู้ป่วยไทยที่มีฮอร์โมนโปรแลคตินสูง
Other Titles: Prevalence of macroprolactinemia in hyperprolactinemic Thai patients
Authors: กาญจนา เย็นภิญโญสุข, 2515-
Advisors: ธิติ สนับบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: โปรแลคติน
โปรแลคติโนมา
ต่อมปิตุอิตารี--เนื้องอก
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของงานวิจัย : การวินิจฉัยภาวะโปรแลคติน (prolactin) ในเลือดสูงนั้นสามารถถูกรบกวนจากแมคโครโปรแลคติน (macroprolactin) ซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้าและผิดพลาดในการวินิจฉัย ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาความชุกของ macroprotactinemia ในผู้ป่วยไทย การทราบความชุกของภาวะดังกล่าวในประเทศไทย จะนำไปสู่การปรับปรุงการตรวจทางห้องปฏิบัติการในอนาคต วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความชุกของภาวะ macroprolactinemia ในผู้ป่วยไทย และเปรียบเทียบลักษณะของผู้ป่วยที่มีภาวะ macroprolactinemia กับผู้ป่วยกลุ่มควบคุมเช่น เพศหรืออาการแสดง หรือผลทางห้องปฏิบัติการ วิธีดำเนินการ : แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มศึกษาประกอบด้วยผู้ป่วยซึ่งมีค่า prolactin สูงกว่า 25 นาโนกรัม/มิลลิลิตร กลุ่มควลคุมประกอบด้วยประชากรที่มีค่า prolactin อยู่ในเกณฑ์ปกติ วัดระดับ prolactin โดยใช้ชุดน้ำยาตรวจ Delfia Wallac เปรียบเทียบระดับ prolactin ก่อนและหลังตกตะกอนด้วย polyethylene glycol ถ้าค่าที่ได้ใหม่ลดลงน้อยกว่า 40% เมื่อเทียบกับค่าเดิมถือว่าผู้ป่วยมีภาวะ macroprolactinemia ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 64 คน โดยกลุ่มศึกษา 34 คนหญิง 32 คน ชาย 2 คน พบภาวะ macroprolactinemia 6 ราย คิดเป็นความชุก 17.14% สรุป : การตรวจหา macroprolactin โดยการตกตะกอนด้วย polyethylene glycol ควรใช้เป็นขั้นตอนแรกในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่มี prolactin สูง
Other Abstract: Background: Macroprolactinemia is a frequent cause of misdiagnosis and mismanagement in hyperprolactinemic patients. To date there's no study determining the prevalence of macroprolactinemia in hyperprolactinemic Thai patients. The result of this study will help developing clinical practice guideline in diagnosis hyperprolactinemic patients. Objective: To determine the prevalence of macroprolactinemia in hyperprolactinemic Thai patients and to analyze the characteristics of the patients with macroprolactinemia. Method: Hyperprolactinemic group defined as serum prolactin more than or equal to 25ng/m/ and control group defined as serum prolactin less than 25ng/ml were enrolled in this study. Serum measured by the DELFIA solid phase fluoroimmunoassay. We compared PRL level between pro and post precipitation with polyethylene glycol. The level of PRL recovery less than or equal to 40% was taken as presence of macroprolactinemia. Results: Thirty-five hyperprolactinemic patients and thirty control subjects were enreooled in the study. We found 6 patients (17.14%) in study group matched with the presence of macroprolactinemia. Conclusion: Polyethylene glycol precipitation should be included in laboratory process of prolactin measurement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2485
ISBN: 9741768508
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjana.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.