Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24850
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกีรติ บุญเจือ
dc.contributor.authorนิรมล ทัพเวช
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-21T04:03:36Z
dc.date.available2012-11-21T04:03:36Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24850
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาทรรศนะทางปรัชญา จากไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่มีผู้ยกย่องให้เป็นวิทยานิพนธ์เล่มแรกของไทย โดยผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานไว้ว่า ไตรภูมิพระร่วงนั้น นอกจากจะเป็นวรรณกรรมที่ให้คุณค่าทางด้านศีลธรรมแล้ว ยังจะบรรลุทรรศนะทางปรัชญา และรากฐานแนวคิดทางการเมืองของไทยด้วย ผู้วิจัยพบว่า ทรรศนะทางอภิปรัชญานั้น ไตรภูมิพระร่วงได้เสนอคำตอบเกี่ยวกับความเป็นจริงไว้ 2 ประการ คือ รูป (อันได้แก่ มหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูป 24) กับนาม (อันได้แก่ จิต, เจตสิก และนิพพาน) และได้พูดถึงปัญหาเกี่ยวกับจักรวาล กำเนิดชีวิต และความเชื่อถือเรื่องกรรมไว้อย่างละเอียดลออ เป็นการจูงใจให้ผู้อ่านประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี โดยมีความหวังว่า จะได้รับผลกรรมที่ดีตอบสนองตามกฎแห่งกรรม ด้านญาณวิทยา ได้เสนอวิธีที่จะทำให้เราเข้าถึงความจริงทั้งในระดับสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ เพราะคำนึงถึงความเป็นจริงที่ว่า มีบุคคลบางประเภทที่มุ่งดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขในระดับโลกียะและมีบุคคลประเภทหนึ่ง ที่มุ่งดำเนินชีวิตไปสู่ความหลุดพ้น ซึ่งเป็นความสุขในระดับโลกุตตระอันหมายถึง นิพพาน ดังนั้น จึงได้เสนอแนะวิธีเข้าถึงความจริงทั้ง 2 ระดับ ดังที่ได้กล่าวมานี้ วรรณกรรมเรื่องนี้ แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสั่งสอนให้คนประพฤติดีตามแนวคำสอนของพุทธศาสนา มีการพรรณนาสภาพของอบายภูมิอย่างน่าสะพึงกลัว, พรรณนาความรื่นรมย์ในสุคติภูมิ และชี้ให้เห็นถึงการกระทำอันจะเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายได้ไปเกิดในภูมิเหล่านั้นตามกฎแห่งกรรม การเสนออุดมคติ หรือจุดหมายปลายทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1. ทางโลก สอนให้มนุษย์ทำความดี โดยมีจุดหมายดังนี้ 1.1 ได้รับผลดีตอบสนองในชาตินี้ 1.2 ได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดี เช่น การได้ไปเกิดในสวรรค์ หรือถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์ ก็ขอให้ได้เป็นมนุษย์ในอุตรกุรุทวีป ดินแดนที่น่ารื่นรมย์ หรือเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย์ เป็นต้น 2. ทางธรรม มีนิพพานเป็นจุดมุ่งหมายปลายทาง โดยเชื่อว่านิพพานเป็นความสุขนิรันดร เรื่องค่าทางจริยะ ถือว่า เจตนา เป็นตัวตัดสินการกระทำของมนุษย์ เพราะเจตนาเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการกระทำ ถ้ามีเจตนาดีการแสดงออกก็ย่อมจะดีตามไปด้วย ซึ่งความคิดเช่นนี้เป็นพื้นฐานที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางการเมืองด้วย เพราะถ้าพลเมืองกลัวบาปไม่กล้าคิดทำความชั่ว สังคมก็จะพลอยร่มเย็น และสงบสุข ดังนั้น อาจสรุปแนวคิดทางการปกครองได้ว่า เน้นจากด้านปัจเจกมาสู่สังคม คือเชื่อว่าถ้าปัจเจกดี สังคมก็จะดีด้วย คำสอนส่วนใหญ่จึงมุ่งให้ปัจเจกมีคุณธรรมในตน ปลูกฝังให้กระทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งจะมีผลทำให้การปกครองรัฐเป็นไปอย่างราบรื่นด้วย จะเห็นได้ว่า ไตรภูมิพระร่วง ได้เสนอทรรศนะทางปรัชญาหลายแขนง เช่น อภิปรัชญา ญาณวิทยา และมีการเน้นในด้านการปลูกฝังค่านิยมทางจริยะ ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานแนวคิดทางการเมืองการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี และค่านิยมเหล่านั้นยังมีอิทธิพลต่อชาวไทยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
dc.description.abstractalternativeThe aim of this thesis is to study the concepts of philosophy in Traiphumphraruang, a well-recognized Thai literature as the first Buddhist Catechism. It is hypothesized that this literature, besides having moral value, contains some philosophical concepts and basic political concepts of Thailand. It was found that in Metaphysics, the Traiphumphraruang has proposed two answers about reality. One is the matter (that is four primary elements and twenty-four derivatives), and the other is the abstract (which consists of mind, mental factors, and Nirvana). It also discusses about the problems of the Universe, the origin of lives, and the beliefs in the law of Karma in details to convince the readers in performing good deeds for a good return as a reward (according to the law of Karma). In Epistemology, it proposes a way to discover both conventional and ultimate truths; for in the real life some individuals need only mundane happiness but some want to reach the level of liberation of souls, the supramundane level of happiness or Nirvana. Traiphumphraruang is written with the aims to teach morality in the way of Buddhism. Fearful description of states of misery and ecstatically description of the happy states are exemplified. The actions to cause men to be reborn in such states according to the law of Karma are provided. It proposes 2 kinds of ideal distinction to lead human lives. 1. In wordly ways, it aims to teach man to perform good deeds for the following purposes, 1.1 to get a good return in his present world. 1.2 to be reborn in a better world, for example, in the heaven, in Utaraguru land or the land of pleasure, if being born as a human-being, or in the Age of Phra-Sriariyametrai etc. 2. In moral sense, its ultimate goal is to reach Nirvana with an everlasting happiness. For the value of moral it is stated that the will is the judge of human action because it instigates the action: good will, good action. This belief is a base to cause political stability. If the people are afraid of committing sins, then the society will be in harmony. So it may be concluded that the ideas of state administration is emphasized in the view of “reforming individuals to society” with a belief that : good individuals forms, good society. So most of [its teaching aims] at the morality of individuals by means of [instilling] love and virtues, in their lives, their speech, and their mind. This will eventually result in the smooth administration of the states. Consequently, it is clear that the Traiphumphraruang proposes many philosophical principles in Metaphysics and Epistemology, and emphasizes on the moral values which reflects some basic ideas in political administration in Sukothai Period. These values also have influenced on the Thai peoples’ beliefs up to the present time.
dc.format.extent494306 bytes
dc.format.extent278461 bytes
dc.format.extent430459 bytes
dc.format.extent1803795 bytes
dc.format.extent1385087 bytes
dc.format.extent1395927 bytes
dc.format.extent319179 bytes
dc.format.extent271908 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์เชิงปรัชญา เรื่อง ไตรภูมิพระร่วงen
dc.title.alternativePhilosophical aspects of traiphumphraruang : an analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niramol_Ta_front.pdf482.72 kBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_ch1.pdf271.93 kBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_ch2.pdf420.37 kBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_ch3.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_ch4.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_ch6.pdf311.7 kBAdobe PDFView/Open
Niramol_Ta_back.pdf265.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.