Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2489
Title: การศึกษาหาความสัมพันธ์ของระดับบิลิรูบินและภาวะตัวเหลืองผิดปกติในทารกแรกเกิดไทย
Other Titles: Predictive nomogram for hyperbilirubinemia in Thai newborns
Authors: รพีพรรณ หาญสืบสาย, 2519-
Advisors: อิศรางค์ นุชประยูร
สุวิมล สรรพวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Issarang.N@Chula.ac.th
Subjects: บิลิรูบิน
ภาวะแอลบูมินต่ำในเลือด
ทารกแรกเกิด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างกราฟ PREDICTIVE NOMOGRAM ของระดับบิลิรูบินของเด็กไทยซึ่งสามารถใช้พยากรณ์ภาวะตัวเหลืองได้ วิธีการดำเนินการวิจัย: ศึกษาจากทารกที่คลอดครบกำหนดจำนวน 392 ราย (อายุครรภ์{601}37 สัปดาห์และน้ำหนักตัวมากกว่า 2500 กรัม) ซึ่งคลอดที่ร.พ.จุฬาลงกรณ์ด้วยวิธีผ่าท้องคลอดในช่วงพ.ย. 2546 พ.ค.2547 โดยทารกที่ได้รับการส่องไฟ ทารกที่มีกลุ่มเลือดเอหรือบีและมารดากลุ่มเลือดโอ ทารกที่มีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD จะถูกคัดออกจากการสร้าง Nomogram ทารกจะได้รับการตรวจร่างกายและวัดค่าบิลิรูบินทางผิวหนังโดยใช้เครื่อง BILICHECK 1ครั้งต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย4วันติดกัน โดยนำค่าบิลิรูบินที่ได้มาหาค่าเปอร์เซนไทล์ เพื่อสร้างกราฟ HOUR-SPECIFIC TRANSCUTANEOUS BILIRUBIN ผลการวิจัย: ทารกจำนวน 284 รายที่เข้าเกณฑ์ในการสร้างกราฟ HOUR-SPECIFIC TRANSCUTANEOUS BILIRUBIN ระดับบิลิรูบินทางผิวหนังที่75เปอร์เซนต์ไทล์เมื่ออายุ24, 48, 72, 96 ชั่วโมง คือ 6.0, 9.0, 10.5, {601}10.5มก/ดล.ตามลำดับ ในการศึกษาพบทารกได้รับการส่องไฟ 32 รายมีระดับบิลิรูบินทางผิวหนังมากกว่า 95 เปอร์เซนไทล์ 23 คน(72%) มีความไวต่อการส่องไฟ 71% ความจำเพาะต่อการส่องไฟ90% มีค่า likelihood ratio(LR)เท่ากับ 7.5 ทารกทั้ง 32 คน(100%)ที่ได้รับการส่องไฟมีระดับค่าตัวเหลืองมากกว่า 75 เปอร์เซนไทล์ มีความไวต่อการส่องไฟ100% ความจำเพาะต่อการส่องไฟ 53% LRเท่ากับ 2.1 ไม่พบว่าทารกที่มีระดับบิลิรูบินต่ำกว่า 40 เปอร์เซนไทล์มีความเสี่ยงต่อการส่องไฟ สรุปผลการวิจัย: กราฟ HOUR-SPECIFIC TRANSCUTANEOUS BILIRUBIN สามารถพยากรณ์ภาวะตัวเหลืองที่ต้องการรักษาได้
Other Abstract: OBJECTIVE : To construct a predictive of hour-specific bilirubin nomogram in Thai fullterm newborns . SETTING : Pediatric neonatal unit, Chulalongkorn Memorial Hospital. METHODS : Three hundred ninety two infants (GA 37 wks and BW 2500gm ) born by cesarean section between November 2003 and May 2004 were included for the study. Transcutaneous bilirubin (TcB) levels (by Bilicheck device) were measured once daily for 4 consecutive days .The data from newborns with phototherapy, G6PD deficiency, and ABO incompatibility were excluded. A percentile based bilirubin nomogram was constructed from hour specific transcutaneous values of newborns who do not meet exclusion criteria. RESULTS : Percentile-based bilirubin measurement was constructed from 284 healthy infants. TcB values at 75 percentile were 6.0, 9.0, 10.5, 10.5 mg/dl at 24, 48, 72, 96 hours respectively. Of 32 infants who had significant hyperbilirubinemia requiring phototherapy, and 23 (72%) had TcB above 95 percentile. (Likelihood ratio (LR) =7.5, sensitivity =71%, specificity =90%), and thirty-two infants who phototherapy were above 75 percentile. ( LR =2.1, sensitivity =100%, speicificity = 53%). There was no risk for phototherapy whose TcB below 40 percentile . CONCLUSIONS : The hour-specific transcutaneous bilirubin can predict newborn at risk for significant hyperbilirubinemia and phototherapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กุมารเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2489
ISBN: 9745317551
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rapeephun.pdf980.05 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.