Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24894
Title: การเปรียบเทียบระดับอุณหภูมิของร่างกายก่อนและหลังรับประทานอาหาร
Other Titles: A comparison of levels of the body temperature before and after food intake
Authors: รัชนี ศุจิจันทรรัตน์
Advisors: สมคิด รักษาสัตย์
ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อุณหภูมิกาย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบระดับอุณหภูมิร่างกายของคนปกติก่อนและภายหลังรับประทานอาหารมื้อเย็น เพื่อเปรียบเทียบระดับอุณหภูมิสูงสุดภายหลังรับประทานอาหารระหว่างกลุ่มที่ได้รับอาหารร้อนกับกลุ่มที่ได้รับอาหารเย็น เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายขึ้นสู่ระดับสูงสุดภายหลังรับประทานอาหารและระยะเวลาของการลดระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นภายหลังรับประทานอาหารลงสู่ระดับปกติระหว่างกลุ่มที่ได้รับอาหารร้อนกับกลุ่มที่ได้รับอาหารเย็น ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในครั้งนี้เป็นพลทหารแห่งกองร้อยพลเสนารักษ์และศูนย์โทรศัพท์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 60 คน ซึ่งเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ตารางเลขสุ่ม แบ่งประชากรออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มที่ 1 ให้รับประทานอาหารเย็น กลุ่มที่ 2 ให้รับประทานอาหารร้อน อาหารที่ให้รับประทานคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงของแต่ละคน วัดอุณหภูมิร่างกายครั้งแรกก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังรับประทานอาหาร วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 10 นาที เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกายได้รับ การทดสอบแล้วว่ามีความสามารถในการขยายตัวเท่ากัน การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และแพร์ที-เทส ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิสูงสุดของร่างกายภายหลังรับประทานอาหารสูงกว่าค่าเฉลี่ยของระดับอุณหภูมิร่างกายก่อนรับประทานอาหารทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 แตกต่างกันอย่างามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .005 2. ระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นภายหลังรับประทานอาหาร กลุ่มที่ 2 เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0005 โดยค่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ 0.4 องศาเซลเซียส ในกลุ่มที่ 1 และ 0.6 องศาเซลเซียส ในกลุ่มที่ 2 3. ระยะเวลาของการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายขึ้นสู่ระดับสูงสุดภายหลังรับประทานอาหาร ใช้เวลาไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ 1 ใช้เวลาเฉลี่ย 42.586 นาที กลุ่มที่ 2 ใช้เวลาเฉลี่ย 34.821 นาที 4. ระยะเวลาของการลดระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นภายหลังรับประทานอาหารลงสู่ระดับอุณหภูมิก่อนรับประทานอาหาร ทั้ง 2 กลุ่มใช้เวลาไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ 1 ใช้เวลาเฉลี่ย 132.069 นาที กลุ่มที่ 2 ใช้เวลาเฉลี่ย 123.929 นาที ดังนั้นจึงไม่ควรวัดอุณหภูมิร่างการในระยะเวลา 2 ชั่วโมงภายหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะระหว่างเวลา 30-45 นาทีหลังรับประทานอาหาร เพราะค่าอุณหภูมิที่วัดได้อาจสูงขึ้นจนทำให้มีการแปรความหมายผิดไปได้
Other Abstract: The purposes of this study were to compare the temperature of normal subjects before and after the meal, the maximum temperatures of the subjects taking warm food and cold food, the time intervals which the bodies took to reach their maximum temperatures after meal, and also the intervals taken for the temperatures to decline to normal level. The experimental subjects were 60 soldiers taker by simple random sampling and random number from Medical Company Pramongkutklao Hospital. The subject were devided into 2 groups, each contains 30, these experimental groups were served cold and warm meal respectively. The subjects’ temperatures were measured before meal and every 10 minutes interval after meal. Statistical procedures used were arithmetic mean, standard diviation , t-test and pair t-test. The results of this study were:- 1. The mean of the maximum body temperatures taken after meal was higher than the mean of the body temperature taken before meal in both groups. The first group had statistical significant difference at .01 level. The second group had statistical significant difference at .0005 level. 2. The level of the increased temperature taken after meal of the second group was higher than that of the first group with statistical significant difference at the .0005 level The maximum of the increased temperature of the first group was 0.4 degree Celsius and the second group was 0.6 degree Celsius. 3. After food intake the time intervals which the body took to reach their maximum temperatures in both group had no statistical significant difference. The mean of time interval of the first group was 42.586 minutes and 34.821 minutes for the second group. 4. The mean of time intervals for the increased body temperature to decline to their control level (before meal) were 123.069 minutes and 123.929 minutes in the first and second group respectively. There was no statistical significant different between these two figures. The measurement of body temperature should not be made within 2 hours after meal, especially during 30 to 45 minutes after meal, because the temperature obtained might be so high to cause misinterpretation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24894
ISBN: 9745617563
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachanee_Su_front.pdf506.38 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_Su_ch1.pdf984.62 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_Su_ch2.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Rachanee_Su_ch3.pdf656.5 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_Su_ch4.pdf504.48 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_Su_ch5.pdf820.93 kBAdobe PDFView/Open
Rachanee_Su_back.pdf807.31 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.