Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24929
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบโคลซ และแบบทดสอบเลือกตอบ เพื่อวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง |
Other Titles: | The relationship between scores from cloze tests and multiple-choice tests in evaluating English language proficiency of students at the higher certificate of education level |
Authors: | รัชนีกร สุทธจิตต์ |
Advisors: | สุมิตรา อังวัฒนกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน ภาษาอังกฤษ -- การวัดผล |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบโคลซและแบบทดสอบเลือกตอบในการวัดสมรรถภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ผู้วิจัยได้วิเคราะห์คำศัพท์และโครงสร้างจากแบบเรียนภาษาอังกฤษและหนังสืออ่านชนิดเป็นชุดที่เลือกมา 1 เล่ม และมีความยากง่ายอยู่ในระดับเดียวกันกับแบบเรียนนั้นของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงที่เป็นตัวอย่างประชากร และได้คัดเลือกคำศัพท์และโครงสร้างที่ปรากฏอยู่ในหนังสือทั้งสองเล่มร่วมกันและมีความถี่สูง แล้วนำไปสร้างแบบทดสอบ2 ฉบับ คือแบบทดสอบโคลซและแบบทดสอบเลือกตอบ ฉบับละ 100 ข้อ หลังจากนั้นได้นำแบบทดสอบทั้งสองไปใช้กับตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิชาเอกหรือโทภาษาอังกฤษซึ่งเคยเรียนวิชาภาษาอังกฤษทั่วไป 1 (English 111) มาแล้วในปีการศึกษา 2524 จากวิทยาลัยครูในส่วนกลางและภูมิภาครวม 5 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 200 คน แล้วนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบทดสอบโคลซเท่ากับ 27.28 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.04 และจากคะแนนเต็ม 100 เช่นเดียวกัน ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมจากแบบทดสอบเลือกตอบเท่ากับ 48.48 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 12.42 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรวมจากแบบทดสอบทั้งสองเท่ากับ .83 และมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. จากคะแนนเต็มของความสามารถด้านละ 25 คะแนน ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถแต่ละด้านคือ ไวยากรณ์ ศัพท์ การอ่าน และการเขียนจากแบบทดสอบเลือกตอบเท่ากับ 10.77 15.73 12.02 และ 10.02 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.29 4.68 5.08 และ 3.78 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนจากแบบทดสอบโคลซกับคะแนนความสามารถด้านไวยากรณ์เท่ากับ .62 ด้านศัพท์ .59 ด้านการอ่าน .65 และด้านการเขียน .57 โดยมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทั้งสิ้น |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the relationship between scores from the cloze test and the multiple-choice test in evaluating English language proficiency of the higher certificate of education students who were English majors or minors. The samples of this study consisted of 200 students in 1981 academic year from 5 teachers colleges : one in Bangkok area, the others in the district area. English vocabularies and structures found in the sampling students’ text were systematically analyzed and selected as well as the vocabularies and structures in a series-reading book being in the same level of the text. A cloze test and a multiple-choice test were constructed from the selected vocabularies and structures to measure the students’ language proficiency. Each of the tests consisted of 100 items. The multiple-choice test was divided into 4 parts: grammar, vocabulary, reading and writing. The results were then interpreted in terms of statistical means, standard deviations, and correlation coefficients. The results of the analysis were as follows: 1. The mean score of the cloze test was 27.28 out of 100 and the standard deviation was 6.04 whereas the mean score of the multiple-choice test was 48.48 out of 100 and the standard deviation was 12.42. The correlation coefficient between the two tests was .83 at the .01 level of significance. 2. The mean scores of the ability in the four parts of the multiple-choice test, grammar, vocabulary, reading and writing, were 10.77, 15.73, 12.02 and 10.02 while the full score of each part was 25; the standard deviations were 3.29, 4.68, 5.08 and 3.78 respectively. The correlation coefficients between of the parts and the cloze test were .62, .59, .65 and .57 respectively, at the .01 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24929 |
ISBN: | 9745609056 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rajnikorn_Su_front.pdf | 471.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rajnikorn_Su_ch1.pdf | 509.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rajnikorn_Su_ch2.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rajnikorn_Su_ch3.pdf | 750.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rajnikorn_Su_ch4.pdf | 349.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rajnikorn_Su_ch5.pdf | 540.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rajnikorn_Su_back.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.