Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24941
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชมพูนุช โสภาจารีย์ | - |
dc.contributor.advisor | ศิริพันธุ์ สาสัตย์ | - |
dc.contributor.author | วิชิยา ยลพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T07:21:04Z | - |
dc.date.available | 2012-11-21T07:21:04Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741738935 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24941 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและศึกษาความสามารถของการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือด การสนับสนุนทางสังคม ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และสมรรถภาพทางกาย ในการร่วมกันพยากรณ์ความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดในระยะเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกตามสะดวก จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมรรถภาพทางกาย แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือด แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยและแบบสอบถามความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยทรงคุณวุฒิและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงระหว่าง 0.71 และ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดในระยะเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลมีระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ( x = 39.04, S.D. = 10.87) 2. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยคัดสรรทั้งหมดมีความสามารถในการร่วมกันพยากรณ์ความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดในระยะเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้ร้อยละ 69.9 (R² = .699, F = 43.673) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยการรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและสมรรถภาพทางกาย มีความสามารถในการพยากรณ์ความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดในระยะเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = .582 P < .05, Beta = -.197 P< .05, Beta = -.193 P < .05 ตามลำดับ) ส่วนประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือดและการสนับสนุนทางสังคม ไม่สามารถพยากรณ์ความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดในระยะเปลี่ยนผ่านทางสุขภาพหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ | - |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to examine the level of stress and to determine abilities of perceived severity of illness, knowledge of ischemic heart disease, social support, hospitalization with ischemic heart disease experiences, self esteem, and activities of daily living in predicting stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge. The subjects of this study were 120 elderly with ischemic heart disease who were selected through convenience sampling method. Data were collected by using demographic questionnaire. Perceived severity of illness. Knowledge of ischemic heart disease, Social support, Self esteem, Bartel ADL Index and Stress of elderly with ischemic heart disease questionnaire. The instruments were content validated and tested for reliability. The Cronbach alpha were between 0.71 and 0.90. The statistics used in this study were percentage, mean. standard deviation, multiple regression. The major results of this study were as follows : 1. Stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge was perceived as slightly higher than normal ( X = 39.04. S.D. = 10.87 ) 2. All predictors together significantly accounted for 69.9 percent of the variance (R² = .699, F = 43.673). Perceived severity of illness, self esteem and activities of daily living were found to contribute significantly to the prediction of stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge (Beta = .582 P <.05. Beta = -.197 P <.05, Beta = -.193 P <.05, respectively). However, knowledge of ischemic heart disease, social support, and hospitalization with ischemic heart disease experiences could not statistically predict stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge. The results from this study indicate the important contribution that perceived severity of illness, self esteem and activities of daily living were predictors of stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge. It can be used as guideline for nursing intervention to reduce stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge. | - |
dc.format.extent | 3152779 bytes | - |
dc.format.extent | 7627687 bytes | - |
dc.format.extent | 18481600 bytes | - |
dc.format.extent | 5270328 bytes | - |
dc.format.extent | 3031445 bytes | - |
dc.format.extent | 6998215 bytes | - |
dc.format.extent | 11384554 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค | - |
dc.subject | ความเครียดในวัยสูงอายุ | - |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย | - |
dc.subject | Coronary heart disease | - |
dc.subject | Stress in old age | - |
dc.subject | Hospitals -- Admission and discharge | - |
dc.title | ปัจจัยคัดสรรในการพยากรณ์ความเครียดในผู้สูงอายุโรคหัวใจขาดเลือดในระยะเปลี่ยนผ่านทงสุขภาพหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล | en |
dc.title.alternative | Selected factors predicting stress in elderly with ischemic heart disease during health-illness transition post hospital discharge | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichiya_yo_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichiya_yo_ch1.pdf | บทที่ 1 | 7.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichiya_yo_ch2.pdf | บทที่ 2 | 18.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichiya_yo_ch3.pdf | บทที่ 3 | 5.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichiya_yo_ch4.pdf | บทที่ 4 | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichiya_yo_ch5.pdf | บทที่ 5 | 6.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Wichiya_yo_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 11.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.