Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2494
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถาวร สุทธิไชยากุล-
dc.contributor.authorยงเกษม วรเศรษฐการกิจ, 2516--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-14T10:59:58Z-
dc.date.available2006-09-14T10:59:58Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741771266-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2494-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractที่มาของงานวิจัย: หลังจากที่มีการปรับปรุงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2544 ยังไม่เคยมีการประเมินผล ดังนั้นหากมีการรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์แล้ว จะเป็นฐานข้อมูลที่ดีสำหรับการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบและผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก่อนและหลังการปรับปรุงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว วิธีการดำเนินการ: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลทางคลินิก และข้อมูลด้านการดูแลรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วยในของแผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้รับการวินิจฉัยหลักเมื่อได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลว่าหัวใจล้มเหลว โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่มๆ ที่ 1 คือก่อนที่มีการปรับปรุง (ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2543) และกลุ่มที่ 2 คือ หลังมีการปรับปรุงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว (ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2546) นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบและผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยระหว่าง 2 กลุ่ม ผลการศึกษา: จากเวชระเบียนผู้ป่วยในรวม 244 รายคือแบ่งเป็น กลุ่มที่ 1 จำนวน 106 ราย และกลุ่มที่ 2 จำนวน 138 ราย พบว่ามีการลดลงของ 1) ระยะเวลาของการนอนโรงพยาบาล (10.16 วันและ 6.37 วัน P=0.002) 2) อัตราการกลับเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำ (42.7% และ 26.7% p=0.011) และ 3) อัตราการกลับเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากหัวใจล้มเหลว (36.9% และ 17.2% P=0.001) โดยยาที่ผู้ป่วยได้รับก่อนออกจากโรงพยาบาลคงเดิมได้แก่ diuretics (98.1% และ 98.5%, p=1.00), digitalis (41.7% และ 32.8%, p=0.20) spironolactone (22.3% และ 21.6%, p=1.0), calcium channel blockers (15.5% และ 12.7%, p=0.66), beta blockers (6.6% และ 10.9%, p=0.35) ยาที่มีการใช้ลดลงคือ angiotensin converting enzyme inhibitors (75.7% และ 58.2%, p<0.01) และยาที่มีการใช้เพิ่มขึ้นได้แก่ angiotensin II receptor blockers (1.0% และ 9.0% p=0.02) ในกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ตามลำดับ สรุป: หลังจากที่มีการปรับปรุงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวแล้ว มีการลดลงของระยะเวลาของการนอนโรงพยาบาล อัตราการกลับเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำ และอัตราการกลับเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำเนื่องจากหัวใจล้มเหลว โดยรูปแบบการใช้ยารักษาภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ดังนั้นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นนั้นน่าจะเป็นผลจากการดูแลรักษานอกเหนือจากการใช้ยา (non pharmacologic treatment ) เป็นหลักen
dc.description.abstractalternativeBackground: Guideline for the management of patients with congestive heart failure in King Chulalongkorn Memorial (KCM) hospital has been changed in recent years. The clinical impact of this guideline has never been studied. Objectives: To compare the therapeutic management of heart failure and the outcomes of patients admitted to KCM hospital before and after the revised guideline used. Method: The demographic data, clinical and therapeutic management were retrospectively extracted from the medical records of adult patients admitted to the hospital with heart failure, as a principle diagnosis before the use of guideline (July 1st to December 31th, 2000) compared with a six-month period after the use of guideline (July 1st to December 31th, 2003) Result: 244 medical records, 106 before and 138 after the use of the revised guideline, were reviewed. There were significant decrease in 1) the length of hospital stay (10.16 vs 6.37 days, p= 0.002), 2) readmission rate (42.7% vs 26.7%, p=0.001) and 3) heart failure readmission rate (36.9% and 17.2%, p=0.001) in the group before and after the use of guideline respectively. There were no significantly changed in the medications used before hospital discharge ed: diuretics (98.1% vs 98.5%, p=1.00), digitalis (14.7% vs 32.8%, p=0.20) spironolactone (22.3% vs 321.6%, p=1.0), calcium channel blockers (15.5% vs 12.7%, p=0.66), beta blockers (6.6% vs 10.9%, p=0.35), The use of angiotensin converting enzymes inhibitors was significantly decreased (75.7% vs 59.2%, p<0.01), contrarary to the use of angiotensin II receptor blockers (1.0% vs 9.0%, p=0.02). Conclusion: Our data suggested that guideline for treatment of congestive heart failure plays an important role on significantly decrease in length of hospital stay, all readmission rate and HF readmission rate, despite of only some impacts on pharmacological pattern change. Therefore the results may be from non-pharmacological pattern change.en
dc.format.extent1067475 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหัวใจวายen
dc.subjectหัวใจ--โรค--การรักษาen
dc.titleการประเมินการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en
dc.title.alternativeEvaluation of treatment of heart failure in King Chulalongkorn Memorial Hospitalen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTaworn.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yongkasem.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.