Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24969
Title: | ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพและประเภทการรับรู้ทางตา ต่อการสร้างมโนทัศน์วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | An interaction of visual presentation formats and optical perception types on science concepts formation of mathayom suksa one students |
Authors: | พีระยศ ยุภาศ |
Advisors: | วชิราพร อัจฉริยโกศล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ความคิดรวบยอด การรับรู้ ภาพในการศึกษา วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การสอน -- อุปกรณ์ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเสนอภาพและประเภทการรับรู้ทางตาต่อการสร้างมโนทัศน์วิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร กรุงเทพมหานคร ปี การศึกษา 2528 จำนวน 120 คน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบ โอเวนเฟลด์ เทสท์ ออฟ ซับ เจทีฟ อิม เพรสชัน เพื่อแบ่งประเภทการรับรู้ทางตาออกเป็นแบบทัศนะและแบบแฮพติคมาอย่างละ 60 คน แต่ละประเภทแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากนั้นนำนักเรียนกลุ่มที่ 1 ของทั้ง 2 ประเภท เข้ารับการทดลองโดยการดูสไลด์ทั้งการเสนอแบบทีละภาพและกลุ่มที่ 2 ของทั้ง 2 ประเภทเข้ารับการทดลองโดยการดูสไลด์ที่มีการเสนอแบบหลายภาพพร้อมกัน เครื่องมือการวิจัยเป็นภาพสไลด์ชุด 12 ชุด แต่ละชุดมี 4 ภาพ เสนอ เสนอมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ 1 มโนทัศน์ รูปแบบการเสนอภาพทั้ง 4 มีสองรูปแบบคือ แบบที่ละภาพและแบบหลายภาพพร้อมกัน กลุ่มที่ดูสไลด์ที่ที่เสนอแบบทีละภาพต่อเนื่องกัน ผู้วิจัยทำการฉายภาพไปยังจอทีละภาพ ภาพละ 7 วินาที จำนวน 4 ภาพ เมื่อดูจบแล้วจะมีสไลด์คำถามปรากฏบนจอเป็นเวลา 1 นาที ให้นักเรียนตอบคำถามลงในกระดาษคำตอบที่แจกให้ สำหรับกลุ่มที่มีภาพแบบหลายภาพพร้อมกัน ผู้วิจัยได้ทำการฉายภาพไปยังจอพร้อมกันทีเดียว 4 ภาพ เป็นเวลา 28 วินาที เมื่อดูเสร็จก็มีสไลด์คำถามปรากฏบนจอเป็นเวลา 1 นาที นักเรียนตอบคำถามลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้ นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง สรุปผลการวิจัย 1. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเสนอภาพ (แบบที่ละภาพ/แบบหลายภาพพร้อมกัน) และประเภทการรับรู้ทางตา (แฮพติค/ทัศนะ) สร้างมโนทัศน์วิชาวิทยาศาสตร์ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 2. นักเรียนที่มีการับรู้ทางตาแบบแฮพติค กับนักเรียนที่มีการรับรู้ทางตาแบบทัศนะสร้างมโนทัศน์วิชาวิทยาศาสตร์ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเสนอภาพแบบที่ละภาพกับหลายภาพพร้อมกันสร้างมโนทัศน์วิชาวิทยาศาสตร์ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The Purpose of this study was to examine the interaction of visual presentation formats and optical perception types on science concept formation of Matayom Suksa one students. The Subjects were one hundred and twenty Mathayom Suksa One Students of Wimuttayarampittayakorn School. The individuals’ optical perception types in terms of haptic and visual were determined by the lowenfeld’s Test of subjective impression. Sixty subjects were randomly selected from each optical perception type. Thirty subjects from each type, then, were randomly assigned into two experimental groups. The two experimental groups were presented sets of pictures with treatments of visual presentation formats: sequential-image and simultaneous-image presentations. The materials used in this study were twelve sets of twelve science concepts. There four pictures in each set. The data collected were analyzed by means of two-way analysis of variance. The results of the study can be concluded as the followings : 1.There was no significant interaction between visual presentation format: Sequential-image and Simultaneous-image and optical perception types: haptic and visual on science concept formation. 2. There was no significant difference between haptic and visual types on Science concept formation. 3. There was no significant difference between sequential-image and simultaneous-image presentation formats on science concept formation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24969 |
ISSN: | 9745664391 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
perayod_ju_front.pdf | 468.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
perayod_ju_ch1.pdf | 558.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
perayod_ju_ch2.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
perayod_ju_ch3.pdf | 347.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
perayod_ju_ch4.pdf | 310.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
perayod_ju_ch5.pdf | 446.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
perayod_ju_back.pdf | 517.18 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.