Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/249
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กรรณิการ์ สัจกุล | - |
dc.contributor.advisor | ศิราพร ณ ถลาง | - |
dc.contributor.advisor | สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม | - |
dc.contributor.author | นิตินันท์ พันทวี, 2511- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-05T08:28:10Z | - |
dc.date.available | 2006-06-05T08:28:10Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9741704275 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/249 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาเชิงวิเคราะห์คุณค่าพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญของชุมชน ศึกษาเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าพิธีกรรม กับการสร้างทัศนคติต่อตนเองและความผูกพันกับชุมชนของชาวบ้าน และสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมท้องถิ่น ในฐานะทุนวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก การประชุมและสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในชุมชนบ้านหมูม้น ตำบลหมูม้น กิ่งอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด นำเสนอเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมท้องถิ่น ในฐานะทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณค่าพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญของชุมชนประกอบด้วย 1) คุณค่าในตัวพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ หมายถึง คุณค่าในองค์ประกอบของพิธีกรรม อันได้แก่ ผู้นำพิธีกรรม ผู้ร่วมพิธีกรรม บทสู่ขวัญ วัสดุสิ่งของหรือเครื่องสังเวย เวลาและสถานที่ ในฐานะเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายแห่งความดีงาม 2) คุณค่าของพิธีกรรมที่เกิดขึ้นต่อบุคคล ได้แก่ สมาธิ ความสบายใจ ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีสัมมาคารวะ และความมีน้ำใจงาม 3) คุณค่าของพิธีกรรมที่เกิดขึ้นต่อชุมชน ประกอบด้วย คุณค่าในฐานะเป็นกระจกเงาสะท้อนวัฒนธรรมทางภาษา และให้ความบันเทิงแก่ชุมชน คุณค่าในฐานะที่ทำหน้าที่ควบคุมรักษาแบบแผนทางสังคมของชุมชน คุณค่าในฐานะที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม และคุณค่าในการสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชุมชน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าของพิธีกรรมกับการสร้างทัศนคติต่อตนเอง และความผูกพันกับชุมชน พบว่าเมื่อชุมชนเรียนรู้คุณค่าของพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ โดยการเชื่อมโยงกับภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน ก่อให้เกิดความเข้าใจ ความมั่นใจ ความภูมิใจและความมีเกียรติภูมิ จะส่งผลให้เกิดทัศนคติต่อตนเองในเชิงบวก และเมื่อชุมชนเกิดความคุ้นเคยกับแบแผนทางสังคมของชุมชน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น การยอมรับ การปรับตัวต่อพฤติกรรมภายในชุมชนได้ เกิดความรู้สึกพึงพอใจและความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชน ส่งผลให้เกิดความผูกพันกับชุมชนมาก 3. รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพิธีกรรมท้องถิ่นในฐานะทุนวัฒนธรรม พบว่า พิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญเป็นเครื่องมือที่คนในชุมชน ใช้เป็นทุนทางวัฒนธรรมในการสร้างสัมพันธภาพ ที่ถูกต้องสร้างสรรค์และสอดคล้องกัน ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ คนกับสิ่งแวดล้อม คนกับคน และคนสร้างทัศนคติต่อตนเอง พร้อมกันกับความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชนซึ่งเป็นการสร้างพลังชุมชนในการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพโดยใช้ปัญญาเป็นตัวเชื่อม | en |
dc.description.abstractalternative | To analyze values of Bai-Sri-Su-Kwan ceremony in community. To analyze relationships between rituals and self-concept building and the links between community and its people. To construct a moel of relationships between local rituals as cultural capital and community development. This is the qualitative research using document study, field study, in depth interview, meeting and group interview, participatory observation and non-participatory observation techniques. This research was conducted at Moo-Mon Community, Moo-Mon Village, Chiang Kawan Sub District in Roi-Ed Province. The researcher had presented a model showing relationships between local rituals as cultural capital and community development. Research findings were as follows: 1. Bai-Sri-Su-Kwan ceremony had following values for the community. 1) Values in ritual itself which meant values in ritual elements comprising ritual leader, ritual poems or sermons, objects or material for paying homage, times and places that symbolized merit making. 2) The ritual's values for individual person were concentration, peace of mind, gratefulness, humbleness, good manners, and good will for others. 3) As the values for the community rituals were mirrors that reflected cultural language and entertainment for the community. Local rituals also had values as the controller of community's social pattern, and as socialization. In addition, local rituals had values on promoting unity among comminity people. 2. With regards to the relationships between values of local rituals and the formation of self attitude and community attachment, the research found that when a community learned about values of Bai-Sri-Su-Kwan ceremony by linking the ceremony with social background and culture, the community started to have understanding, self confidence, pride and self-esteem which resulted in positive self attitude. When the community was familiar with social pattern, people will have trust, acceptance and adaptation to behavior in the community which would lead to satisfaction and a sense of belonging, thus creating closer relationships within the community. 3. When examining the relationship of local rituals as cultural capital for community development, it was found that Bai-Sri-Su-Kwan ceremony was the tool for one community of use as the cultural capital to build relationships in a rightful and creative way. It also created harmony between people and super-natural belief, between peopole and environment, and between people and people. Bai-Sri-Su-Kwan ceremony also helped people to have their own attitudes or self-concept along with having a close tie and unity with the community which would lead to empowering the community to have balanced development bound by local wisdom. | en |
dc.format.extent | 4237359 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.552 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วัฒนธรรมไทย | en |
dc.subject | วัฒนธรรม | en |
dc.subject | พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม | en |
dc.subject | บายศรีสู่ขวัญ | en |
dc.subject | ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี | en |
dc.title | การศึกษาพิธีกรรมท้องถิ่นในฐานะทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน : กรณีศึกษาพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญอีสาน | en |
dc.title.alternative | A study of local rituals as cultural capital for community development : a case study of I-San Bai-Sri-Su-Kwan ceremony | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Siraporn.N@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Suwatnna.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2001.552 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nitinun.pdf | 2.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.