Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2502
Title: | ลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน |
Other Titles: | Future orientation of high school student in Amphoe Mueang, Nan province |
Authors: | สาวิตรี เต็งณฤทธิ์ศิริ, 2524- |
Advisors: | อุมาพร ตรังคสมบัติ ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Umaporn.Tr@Chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษา ลักษณะมุ่งอนาคต |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน แบบการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 394 คน เป็นผู้ชาย 137 คน และผู้หญิง 257 คน มีอายุเฉลี่ย 17.5 ปี จากโรงเรียนจำนวน 5 โรงเรียนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2 แบบ วัดลักษณะมุ่งอนาคต (Future Orientation Scale) ของ สุพิชชา กลิ่นบุหงา 3. แบบวัดความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตน (Internal-External Locus of control Scale) ของ Liverant, Rotter and Crowne สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า T-test การทดสอบค่า F-test (One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Enter Multiple Regression Analysis) และการหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน มีลักษณะมุ่งอนาคตปานกลางเป็นส่วนใหญ่ 2. ปัจจัยด้านเพศ ระดับชั้นเรียน และระดับผลการเรียน ที่แตกต่างกันมีผลให้นักเรียนมีลักษณะมุ่งอนาคตแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 3. ตัวแปรเพศ ระดับชั้นเรียนและผลการเรียน สามารถร่วมทำนายลักษณะมุ่งอนาคตได้ร้อยละ 9.7 4. ลักษณะมุ่งอนาคตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5. ลักษณะมุ่งอนาคตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเชื่ออำนาจภายใน-ภายนอกตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 |
Other Abstract: | The purposes of this cross-sectional descriptive study were to examine future orientation of high school students in Amphoe Mueang, Nan Province. The samples were 394 students from 5 schools in Ampher Meung, Nan province which consisted of 137 males and 257 females with average age of 17.5 years old. The instruments were questionnaire on general demographic data, future orientation scale constructed by Supicha Krinbu-nga, Internal-External Locus of control scale constructed by Liverant, Rotter and Crown. All data were analyzed with the SPSS/FW program to determine percentage, mean, standard deviation, T-test, F-test (One-way ANOVA), Pearson's Product Moment Correlation Coefficient and Enter multiple regression analysis. The major findings were as followed: 1. The majority of high school students in Amphoe Mueang, Nan province have Future orientation score in moderate level. 2. Difference in gender, age, academic grades and GPA had statistically significant on Future orientation. 3. Gender, academic grades and GPA were statistically factors which could predict Future orientation at 9.7%. 4. Future orientation was positively related with age at .01 level of significance. 5. Future orientation was negatively related with Internal-External Locus of control at .01 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2502 |
ISBN: | 9745317799 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sawitree.pdf | 531.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.