Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2503
Title: ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อการบริจาคอวัยวะของผู้ที่มาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Other Titles: Knowledge, opinions and practice of blood donors towards organ donation
Authors: จุฑามาส ปิ่นมงคล, 2518-
Advisors: ดวงใจ กสานติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: การบริจาคอวัยวะ เนื้อเยื่อ ฯลฯ
ผู้บริจาคโลหิต
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมต่อการบริจาคอวัยวะ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริจาคอวัยวะของผู้ที่มาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย โดยศึกษาในกลุ่มผู้ที่มาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทย จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยให้ผู้ที่บริจาคโลหิตเสร็จเรียบร้อยแล้วตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมต่อการบริจาคอวัยวะ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแปรปรวนและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของผู้ที่มาบริจาคโลหิต ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติสภากาชาดไทยกับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมต่อการบริจาคอวัยวะด้วยสถิติ ANOVA, t-test และ Pearson product moment correction coefficient ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มาบริจาคโลหิตส่วนใหญ่ (40%) มีอายุระหว่าง 18-30 ปี (เพศชาย 54.2% เพศหญิง 45.8%) มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (50.5%) และบริจาคโลหิตมาแล้ว 1-15 ครั้งมากที่สุด (53.2%) โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ต่อการบริจาคอวัยวะเท่ากับ 6.8 จาก 10 คะแนน คะแนนเฉลี่ยทัศนคติ 79.13 จาก 100 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม 6.32 จาก 10 คะแนน ซึ่งคะแนนเฉลี่ยในทุกด้านของผู้ที่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ มีค่าสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ (p<0.001) ยกเว้นด้านความรู้ที่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ได้แก่ ระดับการศึกษา (p<0.001) และระยะเวลาที่บริจาคโลหิตระหว่าง 6-10 ปี (p=0.049) ด้านทัศนคติต่อการบริจาคอวัยวะมีความสัมพันธ์แปรผันตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น (p=0.001) ด้านพฤติกรรมต่อการบริจาคอวัยวะมีความสัมพันธ์กับอายุระหว่าง 51-60 ปี (p=0.005) ระยะเวลาที่บริจาคโลหิตมากกว่า 10 ปีขึ้นไป และจำนวนครั้งที่บริจาคโลหิตตั้งแต่ 16 ครั้งขึ้นไป (p<0.001) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมต่อการบริจาคอวัยวะ พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติในระดับน้อย (r-0.122) ส่วนทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในระดับปานกลางถึงมาก (r=0.413) แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ผู้บริจาคโลหิต 91.25% เคยรับทราบเรื่องการบริจาคอวัยวะแต่มีเพียง 26.25% ที่ได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ โดยส่วนใหญ่ 70.25% ยังไม่ได้แสดงความจำนงและให้เหตุผลว่าไม่ทราบวิธีการบริจาคอวัยวะมากที่สุด ดังนั้นควรมีการประชาสัมพันธ์เรื่องการบริจาคอวัยวะทางสื่อต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเกิดทัศนคติที่ดีในการบริจาคอวัยวะเพื่อนำไปช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยต่อไป
Other Abstract: To (1) explore knowledge, opinions and practice of blood donors towards organ donation and their related factors, and (2) study the relationship among knowledge, opinions and practice towards organ donation. The subjects were 400 blood donors from National Blood Center Thai Read Cross Society. Data collection was done by using self reported questionnaire. Research instruments were the questionnaires to collect demographic data and the questionnaire on the knowledge opinions and practice, developed by the researcher which was tested for content validity and reliability. Data was analyzed by using SPSS software for percentage, mean and standard deviation. ANOVA, t-test and Pearson product moment correlation coefficient were used to demonstrate the associated factors and correlation. The major findings were as follow : most subjects (40%) were aged from 18-30 years (54.2% were men and 45.8% were women). They were bachelor degree education (50.5%) and number of blood donation was 1-15 times (53.2%). Knowledge,opinions and practice of subjects towards organ donation were averaged at 6.8 (total=10), 79.13 (total=100), and 6.32 (total=10) respectively. For those who have donor card by mean had higher score than those who did not have (p<0.001) excepting knowledge about organ donation, it was no significantly related. Demographic data as education level (p<0.001) and duration of blood donation (6-10 years) were significantly related with knowledge (p=0.049). A significantly more positive opinions was found among subjects who had high education level (p=0.01). Practice towards organ donation related with age (51-60 years old) (p=0.005), duration of blood donation (>10 years) and number of blood donation (>16 times) (p<0.001). Knowledge of subjects towards organ donation related in small effect (r=0.122) to their opinions and opinions were significantly associated in moderate to large effect (r=0.413) with practice. Blood donor 91.25% knew about organ donation but only 26.25% had donor card. Most of them (70.25%) had not decided yet about their willingness because they did not know how to acquire it. It is recommended that mass media campaigns to support for organ donation should be encouraged. This will allow people to be well informed and have positive opinions for saving life through organ donation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2503
ISBN: 9745317721
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Juthamas.pdf965.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.