Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25042
Title: | ต้นทุนการผลิตและต้นทุนการจำหน่ายของอุตสาหกรรมปากกาลูกลื่น ในประเทศไทย |
Other Titles: | The production and distribution cost of ball pen manufacturing in Thailand |
Authors: | รัตนา โอภาเฉลิมพันธุ์ |
Advisors: | สมศักดิ์ โภไคยรัตน์ วัธนี พรรณเชษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การบัญชีต้นทุน ปากกาลูกลื่น |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปากกาลูกลื่นเป็นสินค้าประเภทเครื่องเขียนที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นสิ่งจำเป็นแก่การใช้งานประจำวันของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในในวงการศึกษาและธุรกิจอุตสาหกรรมนี้ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ. ศ. 2512 และได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับโดยในปี พ. ศ. 2514 เริ่มมีโรงงานผลิตปากกาลูกลื่นขึ้นภายในประเทศ ปัจจุบันมีผู้ผลิตปากกาลูกลื่นรายใหญ่ 5 ราย และมีผู้ผลิตรายเล็กอีกหลายราย ทำให้กำลังการผลิตมีเพียงพอที่จะสนองความต้องการภายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ปรากฏว่ายังมีการนำปากกาลูกลื่นสำเร็จรูปเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากทั้งปากกาลูกลื่นชนิดที่ผลิตได้เองภายในประเทศ และชนิดที่ผลิตภายในประเทศเองไม่ได้ ทำให้ผู้ผลิตประสบปัญหาการแข่งขันจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศและจากการผลิตภายในประเทศซึ่งมีผู้ผลิตอยู่หลายรายด้วยกัน ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศในด้านการคิดต้นทุนการผลิต ต้นทุนการจำหน่าย และต้นทุนการบริหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ฝ่ายจัดการและฝ่ายบริหารใช้เป็นหลักในการพิจารณาวางแผนในอนาคต หรืออาจจะนำมาทำการวิเคราะห์ว่าควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงต้นทุนตลอดจนคุณภาพของสินค้าให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้สามารถจำหน่ายในราคาที่ต่ำพอสมควร ผู้เขียนจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องต้นทุนการผลิตและต้นทุนการจำหน่ายของอุตสาหกรรมปากกาลูกลื่นในประเทศไทย โดยได้ทำการศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปากกาลูกลื่นเฉพาะปากกาที่เปลี่ยนไส้ไม่ได้ ในด้านการผลิต การจำหน่าย และความต้องการใช้ปากกาลูกลื่นพร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมนี้ จากการศึกษาทำให้ทราบถึงกระบวนการผลิตปากกาลูกลื่นของผู้ผลิต และวิถีการจัดจำหน่าย สถานการณ์ทางการตลาด ความสัมพันธ์ของต้นทุนการผลิตกับราคาขาย และอัตราผลตอบแทนจากการดำเนินงานต่อหน่วยทั้งการขายส่งและการขายปลีก รวมทั้งปัญหาการผลิตของอุตสาหกรรมปากกาลูกลื่นที่กำลังประสบอยู่ ผลของการศึกษาปรากฏว่าต้นทุนการผลิตของปากกาลูกลื่นประกอบด้วย วัตถุดิบประมาณ 72% ค่าแรงประมาณ 9% และค่าใช้จ่ายโรงงานอีกประมาณ 19% ต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตบางรายอาจจะแตกต่างไปจากนี้บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ผลิตแต่ละราย สำหรับต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตที่เริ่มผลิตก่อนจะต่ำกว่าผู้ผลิตรายหลัง ๆ อีกทั้งสินค้าก็ยังเป็นที่นิยมกันในตลาดทั้งนี้เนื่องจากมีความชำนาญทางด้านเทคนิคและมีประสบการณ์ที่ดีในด้านการผลิต รู้จักหากรรมวิธีการผลิตซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้เพื่อที่จะลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากปัจจุบันปัจจัยการผลิตมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอยู่เรื่อย ๆ โดยที่ผู้ดำเนินการยังสามารถที่จะได้รับอัตราผลตอบแทนที่ดีพอสมควร ส่วนผู้ผลิตรายใหม่ที่เพิ่งดำเนินการจะมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ผลิตรายใหม่ต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตที่มีต้นทุนสูงกว่า อีกทั้งความรู้ความสามารถทางด้านเทคนิคการผลิตยังไม่ค่อยชำนาญเท่ากับผู้ผลิตที่เริ่มผลิตก่อน นอกจากนี้แล้วผู้ผลิตรายใหม่ยังต้องคำนึงถึงการแข่งขันในด้านตลาด ทั้งนี้เนื่องจากว่าการผลิตแต่ละครั้งต้องสามารถที่จะผลิตได้เป็นจำนวนมาก ๆ เพื่อที่จะให้ได้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำที่สุด ซึ่งก็ไม่แน่นักว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้นี้จะเป็นที่นิยมกันในตลาดหรือไม่ ดังนั้นผู้ผลิตรายใหม่ส่วนใหญ่แล้วจะผลิตเท่าที่คิดว่าจะจำหน่ายได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้เงินทุนจมอยู่ในสินค้า ทำให้เสียดอกเบี้ย ต้นทุนการผลิตของปากกาลูกลื่นที่ผลิตขึ้นภายในประเทศจะมีต้นทุนประมาณด้ามละ .75 บาท ถึง 1 บาท แต่มีต้นทุนการจำหน่ายและต้นทุนในการบริหารค่อนข้างสูง คือประมาณกว่า 50% ของต้นทุนการผลิต ทั้งนี้เนื่องจากการแข่งขันกันภายในประเทศและการสั่งเข้าจากต่างประเทศ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ปัจจุบันการจำหน่ายปากกาลูกลื่นในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ปากกาลูกลื่นที่เปลี่ยนไส้ได้ มีราคาจำหน่ายตั้งแต่ด้ามละ 10 ถึง 1500 บาท และปากาลูกลื่นชนิดที่เปลี่ยนไส้ไม่ได้ มีราคาจำหน่ายระหว่างราคาด้ามละ 2 – 3 บาท การแก้ไขปัญหาทางด้านการผลิตและปัญหาทางด้านการจำหน่าย เพื่อที่จะให้ผู้ผลิตรายใหม่สามารถดำเนินการได้นั้น จะต้องปรับปรุงการบริหารด้านการตลาดให้มีประสิทธิภาพเช่น ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และนิยมใช้มากขึ้นในหมู่ประชาชนเพื่อให้จำหน่ายได้มากขึ้น และสามารถเพิ่มการผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลงได้ สำหรับทางราชการอาจต้องทำการช่วยเหลือ โดยพิจารณาลดอัตราอากรขาเข้าของวัตถุดิบที่สำคัญ อันได้แก่ หมึก เม็ดพลาสติค โดยเฉพาะเม็ดพลาสติคซึ่งมีมีอัตราอากรขาเข้าในปัจจุบันสูงถึงร้อยละ 40 ส่วนปัญหาทางด้านการจำหน่าย ควรหาทางขยายตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศใกล้เคียง เช่นมาเลเซีย สิงคโปร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และฮ่องกง เป็นต้น นอกจากนี้ ทางราชการอาจตั้งกำแพงภาษีสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศโดยเพิ่มอัตราภาษีอากรนำเข้าของปากกาลูกลื่นชนิดที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ จนทำให้ราคาจำหน่ายสูงกว่าที่ผลิตได้เองภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยผู้ผลิตไม่ให้ต้องประสบปัญหาการแข่งขันจากต่างประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย |
Other Abstract: | Ball point pen has become a necessity in working and academic life of people. In A.D. 1971 the first ball point pen factory in Thailand started its production. At present there are five large-scale manufacturers with few more minor ones. The present production capacity of all manufacturers is sufficient for domestic consumption with surpluses for export. Yet some ball point pens are still imported, both the refill type which is not yet produced in Thailand and the non-refill type which are already being produced in the country. This gives rise to fierce competition in the market. In order to help local manufacturers to improve their cost of sale to enlarge their profit, since selling price has to remain competitive, the author feels that a research should be undertaken into the components of production cost, the channels and cost of distribution as well as consumers’ demand so that measures for improvement could be offered to local manufacturers. The research was limited to non-refill ball point pens. The result to research shows that 72 per cent of the cost of production was for material while 9 per cent and 19 per cent were for labour and overhead expenses respectively. These percentages of components of production cost may vary among manufacturers. It was also found that for manufacturers who entered early into the industry, the cost of production would be lower than new-comers into the industry, while the formers’ products also enjoy wider popularity among consumers. The reason is that with their expertise, they were more adaptable in forever improving their techniques and processes of production to suit the circumstances, while new-comers still have to produce under their full-capacity since their products are not yet well-known. Thus their cost of production per unit is still high. The study showed that the cost of production per unit of local manufacturers is between .75 to 1.00 Baht, while the cost of distribution and administration is about 50 per cent of the cost of production, due to the competition among local manufacturers as well as from imported goods. At present the selling price of non-refill type of ball point pens in the country is about 2-3 Bahts per unit while that of the refill type is between 10 to 1500 Bahts per unit. Thus in order to survive, local manufacturers have to find ways and means to control their cost of production as well as to achieve high market share, so that they can produce at full capacity, thus reducing the cost of production per unit. Expanding exporting markets to neighbor countries should be looked into while Government agencies could extend a helping hand by lowering the rates of importing duties on essential raw materials as well as putting up a barrier against import of similar products by raising import duty on such products in such a way that their price would become non-competitive. With such a help, local industry would have a chance to survive and improve upon their production and marketing to provide working opportunities for Thai labour as well as to earn needed foreign exchanges from exporting to other countries. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25042 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratana_Op_front.pdf | 662.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch1.pdf | 508.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch2.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch3.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch4.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch5.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch6.pdf | 740.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_ch7.pdf | 635.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Op_back.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.