Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25061
Title: ผลของการเสริมแรงทางบวกโดยใช้การ์ตูนจากแถบบันทึกภาพ ต่อช่วงความสนใจในการทำงานของเด็กอนุบาล
Other Titles: Effects of positive reinforcement by using cartoon form video tape on attention span of kindergarden children
Authors: รัตนา เพทายบรรลือ
Advisors: พรรณทิพย์ ภิริวรรณบุศย์
ประไพพรณ ภูมิวุฒิสาร
Subjects: การเสริมแรง (จิตวิทยา)
จิตวิทยาเด็ก
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลการเสริมแรงทางบวกโดยใช้การ์ตูนจากแถบบันทึกภาพต่อช่วงความสนใจในการทำงานของเด็กอนุบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มเลือกนักเรียนอนุบาลจำนวน 150 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน โดยการจับสลาก กลุ่มแรกเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มทดลอง 2 และกลุ่มที่สามเป็นกลุ่มควบคุม การวิจัยในขั้นแรกทำการทดสอบนำช่วงความสนใจทำงานของผู้รับการทดลองทั้ง 3 กลุ่ม ต่อมาเสนอตัวเสริมแรงให้ผู้รับการทดลองกลุ่มทดลอง 2 ได้รู้จัก โดยฉายการ์ตูนจากเทปบันทึกภาพให้ดู แล้วให้ผู้รับการทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 ทำกิจกรรม 2 อย่างคือ ระบายสีภาพ และจัดกลุ่มวัตถุตามสี รูปร่าง และขนาด โดยกลุ่มทดลอง 1 จะไม่ได้รับการเสริมแรงหลังจากทำกิจกรรม ส่วนกลุ่มทดลอง 2 จะได้รับการเสริมแรงในเงื่อนไข เมื่อผู้รับการทดลองสามารถทำกิจกรรมโดยมีช่วงความสนใจนานมากขึ้น ต่อจากนั้นจึงทดสอบผลของช่วงความสนใจในการทำงานของผู้รับการทดลองทั้ง3 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการเสริมแรงด้วยการ์ตูนจากแถบบันทึกภาพหลังจากทำกิจกรรมแล้ว มีช่วงความสนใจในการทำงานแตกต่างจากกลุ่มควบคุม และกลุ่มทกลอง 1 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยมีช่วงความสนใจในการทำงานนานกว่า และเด็กที่ทำกิจกรรมแล้วไม่ได้รับการเสริมแรงมีช่วงความสนใจในการทำงานไม่แตกต่างจากเด็กที่ไม่ได้ทำกิจกรรมและไม่ได้รับการเสริมแรง
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the effects of positive reinforcement by using video tape cartoons on the attention span of kindergarten children. The sample included 30 children randomly selected from 150 kindergarten children. All subjects were divided into three groups: experimental group 1, experimental group 2 and a control group. Subjects in the experimental group 2 were shown video tape cartoon as reinforce in the study. Two activities were introduced to the subjects in both experimental groups. Subjects in the experimental group 2 were permitted to watch video tape cartoons after they have completed each activity with a longer attention span. Subjects in the experimental group 1 had no contingency reinforcement. The attention span on the tasks were assessed before and after treatments. Results show statistically significant differences between both experimental groups and the control group at .01 level. The experimental group 2 had a longer attention span on the task than the experimental group 1 and the control group. There is no statistically significant difference between experimental group 1 and the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25061
ISBN: 9745645141
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Pe_front.pdf405.3 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Pe_ch1.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Pe_ch2.pdf361.75 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Pe_ch3.pdf539.98 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Pe_ch4.pdf325.44 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Pe_ch5.pdf335.46 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Pe_back.pdf444.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.