Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25128
Title: ความคิดเห็นของครูและนักเรียนเกี่ยวกับค่านิยม ที่มีอยู่ในหนังสือเรียนภาษาไทย วิชาบังคับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Opinions of teachers and students concerning values in Thai text-books for required courses at the lower secondary education level
Authors: รัตนา รัตนาสิน
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ค่านิยม
ภาษาไทย -- แบบเรียน
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เกี่ยวกับค่านิยมในเรื่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหนังสือเรียนภาษาไทยวิชาบังคับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ตลอดจนศึกษาปัญหา และสภาพการเรียนการสอนค่านิยมในระดับนี้ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์หาค่านิยมที่มีสอดแทรกอยู่ในหนังสือเรียนภาษาไทยวิชาบังคับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 เล่ม และหนังสืออ่านนอกเวลา จำนวน 2 เล่ม จากนั้นได้คัดเลือกค่านิยมในทางที่ดีได้ 35 ประการ นำมาเป็นข้อมูลในการสร้างแบบสอบถามขึ้น 2 ชุด ใช้ศึกษาความคิดเห็นของครูที่สอนภาษาไทย จำนวน 90 คนและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 442 คน นำแบบสอบถามที่ได้กลับคืนมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำข้อมูลเสนอในรูปตารางประกอบคำอธิบาย สรุปผลการวิจัย 1. หนังสือเรียนภาษาไทยวิชาบังคับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 เล่ม และหนังสืออ่านนอกเวลา จำนวน 2 เล่ม ที่ได้ศึกษาและวิเคราะห์ มีค่านิยมในเรื่องต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก ค่านิยมที่มีสอดแทรกอยู่ในบทอ่านเกือบทุกบท โดยที่ครูและนักเรียนเห็นว่ามีอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ค่านิยมดังต่อไปนี้ ค่านิยมเรื่องความรู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ ความสัตย์ สุจริต ความกตัญญู รู้คุณ ความอดทน อดกลั้น ความอุตสาหะ ขยัน หมั่นเพียร ความรักเกียรติ ความรักชาติ ความกล้าหาญ ความเสียสละ และความมีสติปัญญารู้จักไตร่ตรองหาสาเหตุ 2. สภาพการเรียนการสอนค่านิยม ครูส่วนใหญ่ได้สอนเน้นค่านิยมและเน้นโดยการบรรยายสอดแทรกตามโอกาส ส่วนปัญหาในการเรียนการสอนค่านิยม คือ คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเห็นความสำคัญของค่านิยมพอที่จะนำไปปฏิบัติ 3. ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตามค่านิยมเรื่องความนิยมไทย ความอารี เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ความอุตสาหะ ขยัน หมั่นเพียร ความสามัคคี และปฏิบัติตามค่านิยมอื่น ๆ ในระดับปานกลาง แต่มีการปฏิบัติตามค่านิยมเรื่องการรักษาทรัพย์สมบัติของส่วนรวม และความสัตย์ สุจริต ในระดับน้อย 4. ครูและนักเรียนมีข้อเสนอแนะในการเรียนการสอนและการปลูกฝังค่านิยมอันพึงประสงค์ว่า ทุก ๆฝ่ายต้องร่วมมือกัน และควรให้ความรู้ความเข้าใจแก่เด็กให้มาก ควรพยายามสอนสอดแทรกค่านิยมลงในวิชาต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนี้ ผู้ใหญ่จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กด้วย
Other Abstract: Purpose: The purpose of this study was:- To study the opinions of teachers and students concerning values in Thai text – books for required courses at the lower secondary education level as well as the problems of teaching learning situations concerning values. Procedures: The researcher studied and analyzed values appeared in three Thai text – books for required courses and two books assigned for external reading. Then two sets of questionnaires were constructed by using selected 35 positive values as data. The two sets of questionnaires were administered to 90 Thai language teachers and 442 lower secondary students to survey their opinions concerning values from Thai text-books for required courses at the lower secondary education level. The returned data were analyzed statifically by means of percentage, arithmetic means and standard deviation, then tabulated and explained descriptively. Conclusions: 1. The three Thai text-books for required courses and two books assigned for the external readings offered various aspects of values at the high level. Values which appeared in most stories at the high level were as follow; duty and responsibility, honesty, gratefulness, endurance and restrain one-self, endeavour, self-esteemed, patriotism, bravery, sacrifice and intelligence and reason. 2. In teaching learning situations, the majority of teachers stressed values by explained as often as occasion permitted. However, the problems were that the majority of people did not pay attention to the importance of values. 3. Teachers and students agreed that people followed the value of Thai nationalism, generosity, endeavour, unity and others at the modulate level, but public spirit and honesty were at the low level. 4. Both teachers and students that teaching learning and inculcating desirable values there should be a cooperation among parents, schools, authorities and mass media. Values should be put in different subjects as much possible. Moreover, adults should behave themselves as the good examples for the children.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25128
ISBN: 9745625353
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratana_Rat_front.pdf591.01 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Rat_ch1.pdf705.02 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Rat_ch2.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Rat_ch3.pdf586.35 kBAdobe PDFView/Open
Ratana_Rat_ch4.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Rat_ch5.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Ratana_Rat_back.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.