Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25148
Title: ผลของกรดมาเลอิกต่อการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของอะคริลาไมด์/กรดมาเลอิกและค่าการดูดซึมน้ำ
Other Titles: Effect of maleic acid on acrylamide/maleic acid polymerization and water absorption
Authors: ปวีณา เลิศจรรยากุล
Advisors: สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ
สุดา เกียรติกำจรวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไฮโดรเจลของโคพอลิเมอร์อะคริลาไมด์/กรดมาเลอิกสังเคราะห์โดยปฏิกิริยาโคพอลิเมอไร เซชันแบบอนุมูลอิสระ ริเริ่มปฏิกิริยาโดยคู่รีดอกซ์แอมโมเนียมเปอร์ซัลเฟตและเอ็น,เอ็น,เอ็น’,เอ็น’,- เททระเมทิลเอทิลีนไดอะมีน สารเชื่อมขวางคือ เอ็น,เอ็น’,-เมทิลีนบิสอะคริลาไมด์และใช้ก๊าช ไนโตรเจนที่อัตราการไหลต่างๆ ในการเกิดปฏิกิริยา ภาวะที่เกิดปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันคือ ความเร็วรอบในการกวน 250 รอบต่อนาที อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียสภายใต้บรรยากาศ ไนโตรเจนภายในระยะเวลา 30 นาที กำจัดน้ำภายในโครงสร้างของโคพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้ โดยเมทานอลและอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสในเตาอบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ตัวแปรสำคัญที่มี ผลต่อการเกิดปฏิกิริยาที่ศึกษาในงานวิจัยนี้ได้แก่ ปริมาณกรดมาเลอิก ปริมาณสารริเริ่มปฏิกิริยา ปริมาณสารริเริ่มปฏิกิริยาร่วม ปริมาณสารเชื่อมขวาง อัตราการไหลของก๊าซไนโตรเจน อุณหภูมิที่ เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยาและระยะเวลาที่เกิดปฏิกิริยา วัดค่าการดูดซึมน้ำของโคพอลิเมอที่สังเคราะห์ได้ในน้ำกลั่น ทดสอบการดูดซับสีย้อมประเภทแคตไอออน คือ Cl BB 41 11154 ศึกษาเกี่ยวกับประเภทของกลไกการแพร่ของน้ำเข้าสู่โคพอลิเมอร์ ศึกษาลักษณะเฉพาะของโคพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้โดย FTIR และ SEM ใช้เทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรีในการตรวจสอบการเกิด ปฏิกิริยารีดอกซ์ของมอนอเมอร์, มอนอเมอร์ร่วม, สารเชื่อมขวาง, สารริเริ่มปฏิกิริยา และกลไกการ เกิดปฏิกิริยา โคพอลิเมอร์ที่มีค่าดูดซึมนำสูงสุด คือ 310 ± 10 กรัมต่อกรัมน้ำหนักพอลิเมอร์แห้ง สังเคราะห์ โดยใช้ปริมาณสารต่างๆ ดังต่อไปนี้ อัตราส่วนโดยโมลของอะคริลาไมด์ต่อกรดมาเล อิก เท่ากับ 0.92 ต่อ 0.08 ปริมาณสารเชื่อมขวางร้อยละ 1 โดยน้ำหนักมอนอเมอร์ทั้งสอง ปริมาณ สารริเริ่มปฏิกิริยาร้อยละ 1 โดยน้ำหนักมอนอเมอร์ทั้งสองและปริมาณสารริเริ่มปฏิกิริยาร่วมร้อย ละ 10 โดยนำหนักมอนอเมอร์ทั้งสอง โคพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้สามารถดูดซับสีย้อมประเภท แคตไอออนได้ กลไกในการแพร่ของน้ำเข้าสู่พอลิเมอร์เป็นการแพร่แบบนอนฟิกเกียน จากไซคลิกโวลแทมโมแกรมแสดงให้เห็นว่าอะคริลาไมด์มีสมบัติเป็นตัวให้อิเล็กตรอนและกรดมาเลอิกมีสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอน
Other Abstract: Poly (acrylamide/maleic acid) hydrogels were synthesized by free radical copolymerization, initiated by a redox initiator ammonium persulfate (APS) and N,N,N',N'-tetramethylethylenediamine (TEMED). The crosslinking agent N.N’-methylenebisacrylamide (MBA) and N2 flow rate, were used in the copolymerization. The copolymerization was carried out at 250 rpm, 45 °c under nitrogen atmosphere for 30 minutes. The synthesized copolymers were dewatered by precipitation with excess methanol and drying at 60 °c in a vacuum oven for 24 hours. Various important parameters of maleic acid content, initiator content, co-initiator content, crosslinking agent content, N2 flow rate and polymerization time in the polymerization were studied. The water absorbencies of the synthesized copolymers in distilled water were investigated. The synthesized copolymers were tested on swelling and adsorption of a water-soluble cationic dye of Cl BB 41 11154. The kinetic of water diffusion of the synthesized copolymers was investigated. The synthesized copolymers were characterized by FTIR and SEM. Cyclic voltammetry was used in the investigation of redox reaction of the monomer, comonomer, crosslinking agent, initiator and reaction mechanism. The effects of the influential reaction parameters on water absorbency of the synthesized copolymers were investigated from which they were produced from the following recipe : molar ratio of acrylamide:maleic acid, 0.92:0.08; MBA 1% by weight of the monomers; APS 1% by weight of the monomers and TEMED 10% by weight of the monomers. The highest water absorbency of the synthesized copolymer was 310 ± 10 times its dry weight. The water absorbencies and dye adsoptions of the synthesized copolymers increased with increasing maleic acid content. A kinetic study of the water absorption determined the transport mechanism was a non-Fickian type diffusion. Cyclic voltammograms showed that acrylamide was the electron donor and maleic acid was the electron acceptor.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25148
ISBN: 9741766351
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paweena_le_front.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_le_ch1.pdf892.83 kBAdobe PDFView/Open
Paweena_le_ch2.pdf8.46 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_le_ch3.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_le_ch4.pdf10.37 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_le_ch5.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Paweena_le_back.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.