Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25191
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพินธุ์ ชาติอัปสร | - |
dc.contributor.advisor | ยรรยง พวงราช | - |
dc.contributor.author | รัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T04:32:34Z | - |
dc.date.available | 2012-11-22T04:32:34Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745632899 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25191 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการศึกษาเรื่องนี้ ก็เพื่อศึกษาให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการคิดต้นทุนของสิทธิบัตร การคิดค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร และวิธีการบัญชีเกี่ยวกับสิทธิบัตร โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ ออกแบบสอบถามผู้ทรงสิทธิบัตรที่จดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ที่กรมทะเบียนการค้า ตรวจสอบงบการเงินของนิติบุคคลทั่ว ๆ ไป และนิติบุคคลที่เป็นสาขาของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่มีสิทธิบัตรหรือมีการขออนุญาตใช้สิทธิตามสิทธิบัตร และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรซึ่งสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ การคิดต้นทุนของสิทธิบัตร การได้มาซึ่งสิทธิบัตรไม่ว่าทำการประดิษฐ์คิดค้นและนำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรด้วยตนเอง หรือรับโอนจากบุคคลอื่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสิทธิบัตรทั้งหมด เช่น ค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา หรือราคาทุนที่จ่ายซื้อสิทธิบัตรค่าจดทะเบียนและค่าทนายความ และค่าธรรมเนียมที่จ่ายให้แก่ทางราชการ เป็นต้น จะต้องรวมเป็นต้นทุนของสิทธิบัตร การคิดค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ในการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรผู้ทรงสิทธิบัตรจะคิดค่าตอบแทนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้นตลอดอายุสัญญา ดังนั้น ค่าตอบแทนที่กำหนดขึ้นจึงรวมต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงและผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้น นอกจากนี้ผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิมักจะกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เป็นตัวเงินอื่น ๆ ไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิอีกด้วย ซึ่งเงื่อนไขที่ไม่เป็นตัวเงินเหล่านี้ย่อมมีผลทำให้ต้นทุนที่แท้จริงของผู้ขออนุญาตใช้สิทธิสูงกว่าค่าตอบแทนที่กำหนดไว้ สำหรับวิธีการบัญชีเกี่ยวกับสิทธิบัตร ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิบัตรไม่ว่าในกรณีที่จดทะเบียนสิทธิบัตรด้วยตนเองหรือจดทะเบียนรับโอนสิทธิบัตรจากบุคคลอื่นจะนำไปบันทึกไว้ในบัญชีสิทธิบัตร และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสิทธิบัตรนั้น ในกรณีที่มีการขออนุญาตใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ค่าตอบแทนที่จ่ายทีเดียวทั้งจำนวนจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี และตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายตามประโยชน์ที่ได้รับจากสิทธิตามสัญญานั้น ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรจดทะเบียนโอนสิทธิบัตรให้แก่บุคคลอื่น จะต้องบันทึกบัญชีโอนสิทธิบัตรออกจากบัญชี พร้อมทั้งบันทึกผลกำไรหรือขาดทุนจากการโอนสิทธิบัตรนั้น ค่าตอบแทนที่ผู้ทรงสิทธิบัตรได้รับจากการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของตน ถ้าหากเป็นค่าตอบแทนจ่ายทีเดียวทั้งจำนวนอาจบันทึกบัญชีเป็นรายได้รอการตัดบัญชีและตัดบัญชีเป็นรายได้ตามอายุสัญญาหรืออาจบันทึกเป็นรายได้ของงวดที่มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิทั้งหมดก็ได้ ถ้าหากเป็นค่าตอบแทนจ่ายเป็นงวดจะบันทึกเป็นรายได้ ในงวดที่มีค่าตอบแทนเกิดขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดต่อก่อนมีการอนุญาตให้ใช้สิทธิ จะบันทึกบัญชีตามเกณฑ์เงินค้าง การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน สิทธิบัตรและค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมีตัวตนแสดงไว้ในงบการเงินภายใต้หัวข้อสินทรัพย์อื่น ส่วนรายได้รอการตัดบัญชีแสดงไว้ในงบการเงินภายใต้หัวข้อหนี้สินอื่น นอกจากนี้จะต้องเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิบัตรหรือสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย จากการสอบถามผู้ทรงสิทธิบัตรจำนวน 9 ราย ปรากฏว่ามีผู้ทรงสิทธิบัตรเพียง 3 รายที่มีการคิดต้นทุนของสิทธิบัตร โดยรวมรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสิทธิบัตรเป็นต้นทุนของสิทธิบัตร ซึ่งการที่ผู้ทรงสิทธิบัตรส่วนใหญ่ไม่คิดต้นทุนของสิทธิบัตรย่อมทำให้งบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานไม่ตรงกับข้อเท็จจริง นอกจากนี้ถ้าหากมีการอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตรผู้ทรงสิทธิบัตรส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรจะคำนวณค่าตอบแทนโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้น ข้อเสนอแนะของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้มุ่งให้ผู้ทรงสิทธิบัตรมีการคิดต้นทุนของสิทธิบัตรและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิบัตรในงบการเงินให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อให้งบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานถูกต้องตามควร ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงิน นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่พัฒนาวิชาชีพการบัญชีในประเทศไทยควรมีการศึกษาและกำหนดหลักการบัญชีเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิบัตรและวิธีการในทางปฏิบัติของผู้ทรงสิทธิบัตรเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | The main objectives of this study are, firstly to study the principles and procedures in determining the cost of a patent and royalty, and secondly to study accounting methods for patents. This study is based on the study from various text books. Official documents, questionnaires sent to people concerned, financial statements of general juristic persons and juristic persons set up under a foreign law engaging in a business. In addition, the study is also based on interviewing officials at the Department of Commercial Registration, Ministry of Commerce. The ultimate conclusions of this study are as follow:- The cost of a patent should include all of the relevant expenses such as, research and development costs, the cost of patent when patent right was obtained from owners, registration expenses, attorney fees and government fees. In determining the royalty to be obtained in a license contract, actual costs of a patent and expected future benefit to be derived from a license contract are included in the royalty. Further more, in some case certain non-monetary conditions are also included in the license contract such as certain restrictions which in effect increases the licensee’s cost of patent license. Whether a patent is granted in respect of invention or assigned from others, all of the relevant expenses should be recorded in the patent account. The of a patent then be amortized over the accounting periods to be benefited from patent. For licensee, a lump sum payment for a patent should be recorded in a deferred cost account. The deferred cost account is then amortized over the accounting periods to be benefited from the license. In the case of royalty, payments should be charged to expense account in the period in which they are incurred. The patent’s amortized expense or royalty must be included in the cost of patent’s product in the period in which those expenses are incurred. When a patentee grants his patent right to any persons, the cost of the patent should be transferred from patent account while profit of loss from the transaction should be recognized. Money received in lump sum in return for a patent right may be treated as deferred revenue and amortized over the life of the contract of can be recognized as revenue when received; while royalty received should be recognized as revenue in the period in which it is received. Relevant expenses concerning patent licensing should be treated on accrual basis. In Balance Sheet, patents and deferred cost are presented under other assets item while deferred revenue is presented under other liabilities item. Relevant expenses and material information concerning license contracts should also be disclosed. From the questionnaires received from nine patentees for the study of this thesis, three patentees included all relevant expenses as the cost of patents. Since the majority of patentees do not record the cost of patents as such, their financial statements do not present fairly the financial position and results of their operation. The author suggests that :- 1. Patentees should determine the cost of their patent right and disclose the information in their financial statement, so that the latter presents fairly the financial position and results of their operation. 2. Accounting and reporting standards concerning patents should be established by Institutes concerned so that a uniform practice would be followed. Information provided would then be of beneficial use to all people concerned. | - |
dc.format.extent | 537164 bytes | - |
dc.format.extent | 339323 bytes | - |
dc.format.extent | 675353 bytes | - |
dc.format.extent | 1034940 bytes | - |
dc.format.extent | 913104 bytes | - |
dc.format.extent | 890431 bytes | - |
dc.format.extent | 634844 bytes | - |
dc.format.extent | 2022661 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สิทธิบัตร | - |
dc.title | การตีราคามูลค่าสิทธิบัตร | en |
dc.title.alternative | Patent Valuation | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratana_Th_front.pdf | 524.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Th_ch1.pdf | 331.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Th_ch2.pdf | 659.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Th_ch3.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Th_ch4.pdf | 891.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Th_ch5.pdf | 869.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_Th_ch6.pdf | 619.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_th_back.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.