Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25203
Title: | การนำเสนอแนวทางการจัดฝึกอบรม ของกองการฝึก กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ |
Other Titles: | A proposed guideline for training management of fleet training command of the Royal Thai Navy |
Authors: | สงวนศักดิ์ บรรจง |
Advisors: | วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการจัดฝึกอบรมของกองการฝึก กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองการฝึก กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ และที่ปรึกษารัฐมันตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 5 คน ผู้บริหารงานฝึก อบรมของกองการฝึก กองเรือยุทธการ จำนวน 10 คน และวิทยากรของกองการฝึก กองเรือยุทธการ จำนวน 224 คน รวมประชากรทั้งสิน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแจกแจงความถี่และคำบรรยาย และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า กองการฝึก กองเรือยุทธการ ส่วนใหญ่มีการจัดฝึกอบรมตามกระบวนการจัดฝึกอบรมทั้ง 4 ขั้นตอน คือการหาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการฝึกอบรมและการประเมินผลการฝึกอบรม ปัญหาในการจัดการฝึกอบรม คือ การพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมให้มีความทันสมัยต่อสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป วิทยากรหรือครูผู้ฝึกอบรมส่วนใหญ่ขาดความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จัดหามาใหม่ วัสดุอุปกรณ์การสอนและสภาพห้องเรียนยังไม่เพียงพอ และไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และขาดการประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การวิจัยครั้งนี้นำเสนอแนวทางการจัดฝึกอบรมของกองการฝึก กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ใน 4 ด้าน ดังนี้ 1. การวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม ควรพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของหลักสูตรที่มีความจำเป็นต่อภารกิจของหน่วยงานเป็นอันดับแรก 2. การจัดหลักสูตรฝึกอบรม ควรจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรมให้มีความทันสมัย ส่งเสริมให้วิทยากร/ครูผู้ฝึกอบรมได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในวิทยาการสมัยใหม่ และจัดหาวัสดุอุปกรณ์การสอนให้เพียงพอ ตลอดจนปรับปรุงสภาพห้องเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน 3. การดำเนินการจัดฝึกอบรม ควรแจ้งเตือนหน่วยงานต่างๆ จัดเตรียมผู้ประสงค์เข้ารับการฝึกอบรมล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน และจัดอุปกรณ์การสอนประจำห้องเรียนให้พร้อม 4. การประเมินผลการฝึกอบรม ควรให้มีการประเมินผลเป็นรายบุคคล และทำการประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีการประเมินผลก่อนฝึกอบรม ระหว่างฝึกอบรม และหลังการฝึกอบรม |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the state and problems of training management of Fleet Training Command of The Royal Thai Navy. The population of this study were 4 high rank commanders of the Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy. 1 Adviser to the Minister of Education, 10 Training administrators of Fleet Training Command, and 224 Trainers of Fleet Training Command, which the population were 239 in total. The instruments employed in this research were the structured interview guidelines and questionnaires. The data of interview guidelines were analyzed by frequency and narration, and the data of questionnaires were analyzed by frequency, percentage and narration. Research findings indicated that most of the training management of Fleet Training Command in accordance with the four steps of its process as follows : (1) according to the training needs assessment in training management process. (2) according to constructing the training. (3) according to administering the training. (4) according to the training evaluation. The problems in training management process were as follow : lack of development and improvement in constructing the update curriculum, most of trainers without of modern knowledge especially in aspects of modem weapons, lack of training media, and lack of system and continuity in evaluation and follow-up. The main objective of the research is to propose a guideline for training management of Fleet Training Command. A proposed guideline is as follows : 1. In training needs assessment, the priority of the vital curriculum for the task force should be considered. 2. In constructing the curriculum, the panel in charge of developing and improving the update curriculum should be set up, trainers of Fleet Training Command should be encouraged to fulfill their skills with modem information & knowledge, and the sufficient training and including the appropriate classroom & surroundings must be provided. 3. In administering the training, the 1 month early warning and informing action to units should be considered and the training aid must be prepared in classroom. 4. The training evaluation and follow - up must be firmly established in system and continuity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25203 |
ISBN: | 9741731701 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sanguansak_ba_front.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanguansak_ba_ch1.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanguansak_ba_ch2.pdf | 45.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanguansak_ba_ch3.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanguansak_ba_ch4.pdf | 10.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanguansak_ba_ch5.pdf | 7.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sanguansak_ba_back.pdf | 12.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.