Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25227
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐานิสร์ ชาครัตพงศ์ | - |
dc.contributor.author | บุญชอบ เริงทรัพย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T06:17:38Z | - |
dc.date.available | 2012-11-22T06:17:38Z | - |
dc.date.issued | 2520 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25227 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 | en |
dc.description.abstract | อุปมา อุปไมย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งในการใช้อธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เข้าใจได้ง่าย โดยเฉพาะในการสอนทางด้านศาสนา สำหรับในพระพุทธศาสนา แหล่งของอุปมาที่ใหญ่และสำคัญยิ่ง คือพระไตรปิฎก คำอุปมาดังกล่าว มีมากหลายชนิดแตกต่างกันไป แต่ไม่เคยมีการรวบรวมกันไว้ให้เป็นหลักฐานในที่แห่งเดียวกัน โดยเหตุนี้จึงได้นำมารวบรวมไว้เพื่อความสะดวกและประโยชน์ของผู้ที่ประสงค์จะศึกษา อุปมา อุปไมย ในพระไตรปิฎก วิทยานิพนธ์นี้เป็นประเภทการวิจัยข้อมูลจากเอกสาร เอกสารสำคัญและใช้เป็นหลัก คือ พระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ 45 เล่ม โดยการค้นคว้าและประมวลเอาข้ออุปมาที่มีอยู่ทั้งหมด นำมาแยกประเภท จัดหมวดหมู่ และจากนั้น โดยอาศัยคำอุปมาเหล่านั้น นำมาวิเคราะห์ในด้านอักษรศาสตร์ ด้านวิชาการศึกษา ด้านประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม ของชาวอินเดียสมัยพุทธกาล และด้านสาธารณธรรม การวิเคราะห์ในด้านอักษรศาสตร์ ในเรื่องของการใช้อุปมา แสดงให้เห็นว่ามีการใช้คำอุปมา 4 แบบ คือ ใช้อุปมาก่อน และอุปไมยทีหลัง ใช้อุปไมยก่อน และอุปมาทีหลัง ใช้อุปมาล้อมอุปไมย และใช้อุปไมยล้อมอุปมา การจะเลือกใช้แบบใดนั้นย่อมแล้วแต่ความเหมาะสมของเวลา โอกาส และผู้ฟัง การวิเคราะห์ในด้านการศึกษาในเรื่องพุทธวิธีการสอน ได้แสดงให้เห็นว่า ในสมัยพุทธกาล มีวิธีการให้การศึกษาที่ทันสมัย เพราะมีการพิจารณาถึงความพร้อมของผู้เรียนกำหนดขอบเขตของเนื้อหาวิชาที่สอน ลำดับเนื้อหาวิชา กำหนดวิธีการสอนและการใช้อุปกรณ์การอสน การวิเคราะห์ในด้านประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม แสดงให้เห็นว่า มีการตั้งถิ่นฐานที่มีความเป็นระเบียบ มีการบริหารการปกครองที่ดีและเป็นแบบแผน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว ระหว่างครอบครัวกับสังคมภายนอก ดำเนินไปบนพื้นฐานของหน้าที่และความรับผิดชอบ ความเป็นอยู่ทั่ว ๆ ไป การประกอบอาชีพ ขึ้นอยู่กับวรรณะที่ตนสังกัดอยู่ และสภาพของสิ่งแวดล้อมทางสังคมด้วย การวิเคราะห์ด้านสาธารณธรรม แสดงให้เห็นถึงความนิยมและวิธีการใช้อุปมาต่างชนิด เพื่ออธิบายถึงคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกันของอุปไมยเพียงชนิดเดียว และยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของสำนวนอุปมาภาษาบาลีที่มีต่อสำนวนอุปมาภาษาไทยบางสำนวนด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | Similes are of vital importance in explaining what is abstract, particularly in elucidation of religious doctrines. In Pali Buddhism, the Tipitaka makes up the main source of similes, which are found scattered throughout in abundance and in great varieties. Until now no proper treatment of them has been made. This thesis is, in the first place, a collection of these similes, of which a critical study is attempted for the sake of those interested. The thesis is the out-come of the writer’s documentary research. The main source of reference is the 45 volumes of the Siamese edition of the Tipitaka. A careful search is made to draw out all the similes found in the source, after which they are assorted and classified. An analysis is then made in various angles, namely: the literary, educational, and historical-socio-cultural. From the literary point of view, the analysis is made to determine to prevalent modes of application of similes. In this research, there are 4 modes of application i.e., the object of the similes preceding the subject, the object following the subject, the object is repeated before and after the subject, and the subject is repeated before and after the object. The choice of the mode of employment depends on the time, place and the listeners in question. The study of the topic has shown that there is a well-established educational system even in the time of the Buddha. Attention is paid in the readiness of the students, the scope of the subject to be taught, the logical order of contents, the teaching method and the employment of other supplementary equipment. From the historical-socio-cultural point of view, the analysis touches upon the settlement, the order, the administration of the population at the time. Remarks are also given in the relationship of the members of the same family and that of the family with social units outside, which presupposes the sense of responsibility based on individual and social duties as a whole. Mention is also made of occupations which depend upon the caste and other environmental factors in the society to which one belongs. | - |
dc.format.extent | 5258002 bytes | - |
dc.format.extent | 1576607 bytes | - |
dc.format.extent | 4284317 bytes | - |
dc.format.extent | 40536274 bytes | - |
dc.format.extent | 29553858 bytes | - |
dc.format.extent | 2889699 bytes | - |
dc.format.extent | 1484849 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | อุปมา อุปไมย ในพระไตรปิฎก | en |
dc.title.alternative | Similes in the Pali Canon | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาตะวันออก | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonchob_Re_front.pdf | 5.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchob_Re_Ch1.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchob_Re_Ch2.pdf | 4.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchob_Re_Ch3.pdf | 39.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchob_Re_Ch4.pdf | 28.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchob_Re_Ch5.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonchob_Re_back.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.