Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25239
Title: การศึกษาพฤติกรรมของสมาชิกที่มีต่อร้านสหกรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2523
Other Titles: A study of the behavior of members of the cooperative stores in Bangkok Metropolitan area, 1980
Authors: บุญช่วย วาณิชยชาติ
Advisors: แสง สงวนเรือง
สุรัชนา วิวัฒชาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันประชาชนในกรุงเทพมหานครสนใจจัดตั้งร้านสหกรณ์กันมาก โดยผู้บริโภครวมกันตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพดีและจำเป็นแก่การครองชีพมาจำหน่ายแก่สมาชิก เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการครองชีพและผดุงฐานะทางเศรษฐกิจของตนและของหมู่คณะ ในการดำเนินงานร้านสหกรณ์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว บางครั้งผู้บริหารร้านสหกรณ์ต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบางประการ ทำให้การดำเนินงานไม่ราบรื่น การวิจัยจึงเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยเหลือในการตัดสินใจต่าง ๆ ของผู้บริหาร และใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการดำเนินงาน ตลอดจนใช้วางแผนและวางนโยบายต่าง ๆ ของสหกรณ์ การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยในสนาม (Field Research) โดยการสัมภาษณ์ (Interview) ตามแบบสอบถาม (Questionnaire) และอาศัยการสังเกต (Observation) ของผู้เขียนประกอบด้วย แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบ (Pre-test) โดยผู้เขียนและอาจารย์องอาจ ปทะวานิช ได้นำไปทดลองสัมภาษณ์สมาชิกที่มาซื้อของที่ร้านสหกรณ์ พระนคร จำกัด สาขาบางเขน จำนวน 10 ตัวอย่าง เพื่อหาข้อบกพร่องของแบบสอบถาม เมื่อได้แก้ไขแบบสอบถามจนเป็นที่พอใจแล้ว จึงได้ทำการอบรมพนักงานสำรวจเพื่อดำเนินการสัมภาษณ์ต่อไป ตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้คัดเลือกจากร้านสหกรณ์ พระนคร จำกัด จำนวน 8 สาขา และร้านสหกรณ์ กรุงเทพ จำกัด จำนวน 4 สาขา ที่ใช้ร้านสหกรณ์ดังกล่าวเป็นตัวแทนของร้านสหกรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร ก็เพราะว่าสหกรณ์ดังกล่าวมีจำนวนสมาชิกมากและเป็นร้านสหกรณ์ที่ตั้งในชุมชน ในการสุ่มตัวอย่าง ได้สุ่มกระจายไปในช่วงเวลาต่าง ๆ ในแต่ละวัน และกระจายไปในช่วงต่าง ๆ ของเดือน เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสถูกคัดเลือกให้เป็นตัวอย่าง การสัมภาษณ์เริ่มตั้งแต่ 24 มิถุนายน ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2524 ขนาดตัวอย่างกำหนดไว้ 500 ตัวอย่าง ได้ครบตามเป้าหมาย จำนวนตัวอย่างที่สุ่มจากแต่ละสาขาได้กำหนดให้มีจำนวนกระจายไปตามจำนวนสมาชิกของแต่ละสาขา เมื่อได้แบบสอบถามครบตามต้องการแล้ว ได้ตรวจความสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนที่จะนำข้อมูลไปลงตารางและวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อนำข้อมูลลงตารางเรียบร้อยแล้ว จึงได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่อไป ผลการวิจัยที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ สมาชิกที่มาซื้อสินค้าที่สหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและสมรสแล้วมีอายุอยู่ระหว่าง 26-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ส่วนมากมีอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจมีรายได้เฉลี่ยมากกว่าเดือนละ 4,000 บาท และส่วนใหญ่สมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์เพราะต้องการเงินปันผล สมาชิกส่วนมากมาซื้อสินค้าที่สหกรณ์สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันเสาร์-อาทิตย์ โดยวางแผนการซื้อล่วงหน้ามาจากบ้านหรือที่ทำงานว่าจะซื้ออะไรบ้าง ใช้เวลาในการซื้อน้อยเฉลี่ยครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง และซื้อสินค้าเป็นมูลค่าเฉลี่ยครั้งละ 201-500 บาท มูลค่าสินค้าที่สมาชิกซื้อแต่ละครั้งกับรายได้ของสมาชิกมีความสัมพันธ์กันโดยตรง กล่าวคือ ถ้ารายได้ของสมาชิกมาก มูลค่าสินค้าที่สมาชิกซื้อแต่ละครั้งจะมา และถ้ารายได้ของสมาชิกน้อย มูลค่าสินค้าที่สมาชิกซื้อแต่ละครั้งจะน้อยด้วย สินค้าที่สมาชิกซื้อมากที่สุดคือสินค้าในแผนกซูเปอร์มาร์เกต ได้แก่สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม และนำไปใช้บริโภคภายในครอบครัว สมาชิกส่วนมากสนใจสินค้าลดราคาของสหกรณ์ในบางโอกาส แต่สมาชิกจะยังไม่ซื้อทันที จะพิจารณาดูก่อนว่ามีความต้องการสินค้านั้นหรือไม่ สินค้าคุณภาพดีหรือไม่ การจัดรายการพิเศษแถมบัตรสมนาคุณหรือคูปอง หรือการจัดให้มีการชิงโชค ไม่ทำให้ยอดขายเพิ่มมากนัก สมาชิกส่วนมากมีความเห็นว่า สินค้าสหกรณ์บางอย่างสูงกว่าบางอย่างต่ำกว่าราคาท้องตลาด และถ้าสมาชิกเห็นว่าสินค้าที่ตนต้องการมีราคาแพงกว่าท้องตลาด สมาชิกจะไม่ซื้อจากสหกรณ์ จะไปซื้อที่อื่นที่ราคาถูกกว่า สมาชิกส่วนมากพอใจกับการตั้งราคาแบบไม่มีการต่อรอง โดยให้เหตุผลว่าสะดวก ไม่เสียเวลา และสบายใจที่ไม่ต้องซื้อแพงกว่าคนอื่น เกี่ยวกับคุณภาพสินค้า สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าสินค้าของสหกรณ์มีคุณภาพเหมือนกับที่อื่น อย่างไรก็ดี สมาชิกบางคนเห็นว่าสินค้าของสหกรณ์คุณภาพดีกว่าที่อื่น โดยให้เหตุผลว่าสินค้าของสหกรณ์ขายเร็ว ทำให้สินค้าใหม่สดอยู่เสมอ และการเก็บรักษาดีกว่า จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ร้านสหกรณ์ควรจัดตั้งในบริเวณใกล้เขตที่พักอาศัยของประชาชน และในบริเวณที่มีหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจตั้งอยู่มาก ไม่ควรตั้งในบริเวณย่านการค้าที่การจราจรคับคั่ง เพราะไม่สะดวกต่อการเดินทางมาซื้อสินค้าของสมาชิก 2. ร้านสหกรณ์ควรจำหน่ายสินค้าแก่สมาชิกและลูกค้าที่ไม่ใช่สมาชิกในราคาต่ำกว่าท้องตลาดเล็กน้อย เพื่อช่วยเหลือสมาชิกและประชาชนทั่วไปในการแก้ปัญหาค่าครองชีพ 3. ร้านสหกรณ์ขนาดใหญ่ควรมีการวิจัยตลาด เพื่อนำผลการวิจัยมาช่วยในการตัดสินใจต่าง ๆ ของผู้บริหาร และใช้เป็นแนวทางในการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ 4. ร้านสหกรณ์ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ เพื่อนำปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ ในการดำเนินงานมาปรึกษาหารือกัน เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา และให้การดำเนินงานบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมาย และควรมีการฝึกอบรมพนักงานเป็นระยะ ๆ เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อสหกรณ์และสมาชิกให้ทราบถึงเทคนิคและวิธีปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ให้ทราบระเบียบคำสั่งต่าง ๆ และให้มีการปฏิบัติโดยเคร่งครัด ชี้แจงให้ทราบถึงนโยบายของสหกรณ์ว่ามีอย่างไรและให้ปฏิบัติตามนโยบายทุกประการ ให้เข้าใจถึงปัญหาที่สหกรณ์กำลังเผชิญอยู่และช่วยกันหาทางลดปัญหา
Other Abstract: At the present, people in the Bangkok Metropolitan area are interested in setting up cooperative stores, with the principal objectives of providing goods and services for its member customers and helping them to maintain or increase their welfare. To meet with these objectives, there are many problems facing the general managers. The consumer research in an attempt to identify the problems and solutions to the problems would be helpful for the manager’s decision making. This study is conducted through field research. The personal interview with designed questionnaire was employed together with the researcher’s own observation. Pre-test of questionnaire was carried out through interview of 10 customers who shopped at Bangkhen Branch of the Pranakorn Cooperative Store. After the completion of questionnaire design, training of enumerators in conducting consumer interview was also carried out. The sampling location covers 8 branchs of the Pranakorn Cooperative Store, and 4 branchs of the Krungtep Cooperative Store. The random selection of sample customers was carried out in different times interval; i.e., different hour period and different day and week during 24 June – 23 July 1081. In total, five hundred member customers were interviewed. The sample size from each sampling location varies with the size of the members of each store. Editing of questionnaire was done before data tabulation and processing. The statistical analysis of the data was employed at later stage. The results of this study are summarized as follows. Most members of cooperative stores in the Bangkok Metropolitan area are female, married, aged between 26-35 years old and with education of or equivalent to Bachelor degree. By occupation, most members are government officers and workers of state enterprises. Their income level is higher than 4,000 baht per month. Their reason of becoming a member of the cooperative stores is to buy goods and services at fair price and expect to gain the returns to their purchases at the end of the fiscal year. Most member customers come to shop once a week, particularly during the weekend. The shopping of most members is well planned in advance for what items bought. A customer spends on average about half an hour and the value of purchased averages between 201-500 baht per one shopping. A test of relationship between the level of purchase value and the level of the customer’s income was also carried out. The result indicated that there is a highly positive relationship between the level of purchase and the level of customer’s income; i.e., the higher the customer’s income level, the higher the purchased value per one shopping. Most items purchased are located in the supermarket section which include foods and drinks, and are for family consumption. Most members expressed their interests in discount-priced items of the cooperative stores. But the associated factors for their buying of the discount-priced items are quality and the customers desire of the items. Other supplementary programs such as discount coupons lottery tickets or games did not seem to effectively increase sales. The majority of members said that some goods of the cooperative stores are priced higher than those in general stores. Therefore, whenever they desired that kind of goods they did not buy them from the cooperative stores, but from the other shops at lower prices. However, most members are in favour of the one price system since it is easier and time saving in their shopping. Regarding the quality, most members think that the cooperative stores provide goods with the same quality as those available elsewhere. However, some members think that the quality of goods in the cooperative stores is higher than those in other stores because they are fresh and better stored. Based on the above findings, it is suggested that : 1. The cooperative stores should be located near the residential areas or in the areas in which the offices of the government agencies or the state enterprises are already located. The areas with concentrated commercial activities are not appropriate for cooperative stores business because of the traffic congestion problem. 2. The cooperative stores should sell goods to members and non-members at slightly lower than the average market price to maintain low cost of living of their member customers. 3. Large-scale cooperative stores should set up their market research section and form research staff to do research and bring in suggestions to the general managers for more efficient operation and management. 4. Periodical seminar or workshops with an interest in identifying the problems and ways to improve the cooperative stores business should be organized among administrative personnel of the cooperative stores network. In addition, in-service training programs should be organized to improve work efficiency of personnel at all level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25239
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonchuay_Wa_front.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Wa_Ch1.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Wa_Ch2.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Wa_Ch3.pdf27.74 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Wa_Ch4.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Boonchuay_Wa_back.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.