Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25242
Title: | การบังคับชำระหนี้จากสินเชื่อเพื่อการจัดหาอากาศยาน |
Other Titles: | Enforcement against aircraft finance |
Authors: | สรัลนุช สถิรเจริญทรัพย์ |
Advisors: | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ สมชาย พิพุธวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การจัดหาอากาศยานเพื่อใช้ในกิจการของผู้ประกอบการขนส่งทางอากาศไทย ในปัจจุบันทำโดยวิธีการของสินเชื่อเพื่อการจัดหาอากาศยานจากสถาบันการเงิน บริษัทลิสชิ่ง หรือผู้ผลิตอากาศยานซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ โดยการทำธุรกรรมประเภท Asset-Based Financing ในรูปแบบของ “สัญญาลิสชิ่ง”ซึ่งนิยมทำมากที่สุด ในการพิจารณาคำขอสินเชื่อ ผู้ให้สินเชื่อจะให้ความสำคัญต่อความสามารถในการบังคับชำระหนี้โดยการกลับเข้าครอบครองอากาศยานเมื่อมีการผิดนัดโดยลูกหนี้เกิดขึ้นมากที่สุด แต่บทบัญญัติกฎหมายไทยที่ใช้บังคับในปัจจุบันมีข้อขัดข้องหลายประการซึ่งไม่เอื้อประโยชน์ต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาสินเชื่อเพื่อการจัดหาอากาศยานที่จะบังคับชำระหนี้โดยการกลับเข้าครอบครองอากาศยานเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ดังนั้น จึงเป็นอุปสรรคต่อการขอสินเชื่อเพื่อการจัดหาอากาศยานของผู้ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศของไทยและส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศของประเทศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นต่อเจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อในการบังคับชำระหนี้โดยการกลับเข้าครอบครองอากาศยานในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยพบว่าปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวมีผลให้เจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาที่จะไม่อนุมัติสินเชื่อ หรือหากอนุมัติก็จะคำนวณค่าความเสี่ยงไว้ในมูลค่าของธุรกรรม ทำให้ต้นทุนในการจัดหาอากาศยานของผู้ประกอบกิจการสูงขึ้น การทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้วิธีวิจัยเอกสารโดยการรวบรวมข้อมูลจาก หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ เอกสารต่างๆและข้อมูลจากกรมการขนส่งทางอากาศ โดยมีขอบเขตในการศึกษาวิจัยเฉพาะปัญหาและอุปสรรคของเจ้าหนี้ตามสัญญาสินเชื่อเพื่อการจัดหาอากาศยานในการบังคับชำระหนี้โดยการกลับเข้าครอบครองอากาศยานในประเทศไทย เพื่อประกอบการนำเสนอมาตรการในการบังคับชำระหนี้โดยการกลับเข้าครอบครองอากาศยานของเจ้าหนี้ภายใต้บทบัญญัติกฎหมายไทยที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่าการดำเนินการบังคับชำระหนี้ภายใต้บทบัญญัติกฎหมายไทยดังกล่าวยังไม่เอิ้อประโยชน์ต่อเจ้าหนี้อย่างเพียงพอ จึงเสนอแนะให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเคปทาวน์ ค.ศ.2001 เพื่อให้เกิดผลดีต่อทั้งผู้ให้สินเชื่อที่จะมีบทบัญญัติกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อการบังคับชำระหนี้โดยการกลับเข้าครอบครองอากาศยานที่แน่นอน และในด้านผู้ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศของไทยที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อเพื่อการจัดหาอากาศยานในต้นทุนที่ต่ำลง |
Other Abstract: | At present, to procure an aircraft for the operation of Thai air carriers is created by means of “Aircraft Finance”, which is one of the “Asset-Based Financing” transaction, provide by the financial institutions, leasing companies, or aircraft manufacturers, that almost are foreign enterprises, in the forms of leasing contract is the most well-known. In a consideration of the aircraft finance approval, the considerable attention is paid on the possibility of enforcement in the forms of repossession of an aircraft in case of default of the debtor. However, the current relevant laws have many obstacles that are disfavor of the creditor in the aircraft finance contract for the enforcement by aircraft repossession in case of default of the debtor. Therefore, this leads to an obstacle for obtain the aircraft finance approval of Thai air carriers and also affects the development of the national air transportation industry. This thesis focuses on a study and analysis on the problems and obstacles of the creditors that provide aircraft finance regarding the enforcement in the forms of aircraft repossession in several countries, as well as in Thailand. It is obviously found that such problems and obstacles bring about the disapproval of aircraft finance or the provision of risk assessment in the transaction value, these will cause a number of cost in aircraft procurement. This thesis is based on a documentary research gathering information from textbooks, articles, thesis and the documents derived from Department of Civil Aviation. The scope of thesis is to research merely the problems and obstacles of the creditors of aircraft finance contract in case of enforcement by aircraft repossession and subsequently, to propose the appropriate measure for aircraft repossession in accordance with current Thai laws. The consequence stemming from the research is the fact that the aforesaid enforcement in accordance with Thai laws favor the creditor inadequately. It is suggested that Thailand is supposed to be a contractual party of the “Cape Town Convention ,2001” in order to apply the specific provision that is favor of the enforcement in the forms of aircraft repossession and to lower the cost of aircraft procurement of Thai air carriers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25242 |
ISBN: | 9741797664 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saralnuch_sa_front.pdf | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saralnuch_sa_ch1.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saralnuch_sa_ch2.pdf | 41.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saralnuch_sa_ch3.pdf | 24.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saralnuch_sa_ch4.pdf | 26.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saralnuch_sa_ch5.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saralnuch_sa_back.pdf | 6.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.