Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25243
Title: มายาคติเรื่องอำนาจที่ปรากฎในข่าวโทรทัศน์
Other Titles: Myths about power relation in television news
Authors: เขมวไล ธีรสุวรรณจักร
Advisors: จุมพล รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องมายาคติเรื่องอำนาจที่ปรากฏในข่าวโทรทัศน์ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อ วิเคราะห์ถึงมายาคติเรื่องอำนาจที่ปรากฏในข่าวโทรทัศน์ และเพื่อวิเคราะห์ถึงตรรกะและกระบวนการเข้ารหัส ความหมายมายาคติของผู้ผลิตรายการข่าวที่ปรากฏในข่าวโทรทัศน์ในการทำวิจัยมีข้อมูล 2 ส่วนด้วยกันคือ ข้อมูลเนื้อหารายการข่าวโทรทัศน์ที่ทำการบันทึกเทปข่าวช่วงเวลาหลักวันที่ 12-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3, สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5, สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7, สถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 อ.ส.ม.ท., สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ของผู้ผลิตรายการข่าวซึ่งประกอบไปด้วย บรรณาธิการ ประจำวัน ผู้สื่อข่าวสายการเมืองและสายเศรษฐกิจ ช่างภาพสายการเมืองและสายเศรษฐกิจ และทำการวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยพบว่า ผู้ผลิตรายการข่าวโทรทัศน์มีมายาคติเรื่องอำนาจในเรื่องของข่าวกระแส มายาคติเกี่ยวกับ การนำเสนอบุคคลที่มีความสำคัญระดับประเทศ และมายาคติในเรื่องของการป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงานของตนเองและองค์กร โดยแสดงออกผ่านทางการคัดเลือกข่าว การจัดลำดับข่าว และระยะเวลาในการนำเสนอ ผู้ผลิตรายการข่าวจะมีการให้ความสำคัญกับข่าวกระแส ข่าวที่มีความเกี่ยวข้อง กับรัฐบาล บุคคลที่มีอำนาจมากของประเทศ ด้วยการคัดเลือกข่าวดังกล่าวมานำเสนอด้วยความถี่ที่มาก มีการนำเสนอต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จัดลำดับข่าวให้ได้รับการนำเสนอในลำดับแรกๆ และมีระยะเวลาในการนำเสนอข่าวดังกล่าวมาก เพื่อตอบสนองมายาคติในเรื่องอำนาจของตนเอง โดยข่าวกระแสที่พบในช่วงเวลา วิจัยได้แก่ ข่าวนโยบายการปราบปรามผู้มีอิทธิพลของรัฐบาล ข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และข่าว สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนข่าวที่ไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับข่าวกระแส หรือผู้มีอำนาจสังคม รวมทั้งข่าวที่ไม่ได้สนองตอบต่อผู้มีอำนาจมักถูกนำเสนอในลำดับท้ายๆ หรือไม่ได้คัดเลือก ให้ได้นำเสนอ นอกจากนั้นแล้วการลำดับการนำเสนอบุคคลภายในข่าวยังแสดงออกถึงมายาคติเรื่องอำนาจของ ผู้ผลิตรายการข่าวโทรทัศน์ที่มีการให้ความสำคัญกับผู้มีอำนาจในสังคมแบบมีลำดับชั้นไม่เสมอภาคกัน นอกจากนั้นแล้วเนื้อหาของข่าวที่นำเสนอก็มีการสื่อสารมายาคติเรื่องอำนาจสู่ผู้ชม ข่าวที่นำเสนอ โดยเฉพาะข่าวกระแสจะมีลักษณะเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจ แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจระหว่างกลุ่มและบุคคลต่างๆ
Other Abstract: The research “Myths about Power Relation in Television News” aimed at analyzing myths about power relation appearing in television news, logics and myth encoding process of news producers as seen on TV programs. The research contained two parts of data including the contents of TV news recorded during prime time from 12 to 25 of May 2003 by the Thai TV Color Channel 3, Royal Thai Army Radio and Television Channel 5, Bangkok Broadcasting & TV Channel 7, Mass Communication of Thailand Channel 9, Thailand Radio and Television Broadcasting Channel 11 The Government Public Relations Department and ITV Television Broadcasting Station and the data on interviews with news producers consisting of editors, political and economic news reporters and photographers. The data were analyzed using content analysis. The research found that the TV news producers possess myths about power relation in trendy news, myth on presentations of individuals at the forefront and myth on self protection to avoid adverse effects on careers and organizations through news selecting, sequencing and presenting period. News producers placed importance to trendy news, news related to the Government and country’s influential individuals by frequently selecting such news to present on a continual basis for a long period of time and positioning at top priority with a heavy exposure in order to respond their myth on power. Trendy news headlines found during the research period include gangster suppression by the Government, political debates by the Opposition parties and the chaotic situations in the three southern provinces. The news irrelevant to the trendy news, influential people or the news idle to the power plays were marginalized at low priority or even ignored to present. Besides, the order of individual presence indicated the myth on power of TV news producers featuring unequal placement for influential individuals in society. In addition, the broadcasting news contents communicated myth about power relation to audiences. The news contents, especially trendy news, reflected power relation and power execution of various groups and individuals.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25243
ISBN: 9741769709
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khemwalai_th_front.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_ch1.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_ch2.pdf14.59 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_ch3.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_ch4.pdf20.29 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_ch5.pdf9.86 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_ch6.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Khemwalai_th_back.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.