Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2525
Title: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นกับแบบคอนเวคทีฟ คอนโทร ดับเบิ้ลไฮ-ฟลักซ์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น
Other Titles: Comparision of efficacy between on-line hemodiafiltration and convective control double high flux hemodiafiltration
Authors: จุลภัทร ยศสุนทรากุล, 2517-
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ไตวายเรื้อรัง--ผู้ป่วย
การฟอกเลือด
ออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น
ไฮฟลักซ์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อัตราการเจ็บป่วยและการตายในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายยังคงสูง ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากการคั่งของของเสียโมเลกุลใหญ่ในร่างกาย การฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นซึ่งใช้ทั้งหลักการแพร่และการพาทำให้ขจัดสารโมเลกุลใหญ่ได้ดีกว่าการฟอกเลือดแบบธรรมดา แต่การฟอกเลือดด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องไตเทียมระบบฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นโดยเฉพาะซึ่งมีระบบที่ซับซ้อนและราคาแพง การฟอกเลือดอีกเทคนิคหนึ่ง คือ คอนเวคทีฟ คอนโทร ดับเบิ้ล ไฮ-ฟลักซ์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น ซึ่งใช้เพียงตัวกรองเลือด 2 ตัวต่อกันแบบอนุกรมเครื่องไตเทียมมาตรฐานทั่วไปก็สามารถทำวิธีนี้ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการขจัดสารเบต้า เบต้าทูไมโครโกลบูลินระหว่างการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น และแบบคอนเวคทีฟ คอนโทรดับเบิ้ล ไฮ-ฟลักซ์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจำนวน 12 ราย ซึ่งได้รับการฟอกเลือดมานานอย่างน้อย 6 เดือนก่อนเริ่มการวิจัยจะได้รับการฟอกเลือดด้วยวิธีดังกล่าวทั้งสองวิธีโดยสุ่มเลือกว่าจะฟอกด้วยวิธีใดก่อน เพื่อขจัดตัวแปรเรื่องพื้นที่ผิวของตัวกรอง วิธีออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นจะใช้ตัวกรองเลือด 2 ตัวต่อกันแบบอนุกรมเช่นเดียวกันและให้สารน้ำทดแทนหลังตัวกรองในขนาดร้อยละ 25 ของอัตราเร็วเลือดที่สามารถเปิดได้ ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลที่เกี่ยวกับการฟอกเลือดไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม การฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น มีค่าการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลินโดยรวม 134.56+-16.18 มิลลิลิตรต่อนาที มากกว่าแบบคอนเวคทีฟ คอนโทร ดับเบิ้ลไฮ-ฟลักซ์ ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นซึ่งมีการขจัด 112.38+-17.03 มิลลิลิตรต่อนาที (p<0.001) โดยแยกเป็นการขจัดที่เกิดจากการแพร่ และการพาซึ่งมีค่า 115.99+-18.75 มิลลิลิตรต่อนาที มากกว่า 98.47+-20.24 มิลลิลิตรต่อนาที (p=0.047) ส่วนการขจัดที่เกิดจากการดูดซับของตัวกรองนั้นมีค่าไม่แตกต่างกันคือ 18.56+-14.01 มิลลิลิตรต่อนาที เทียบกับ 13.91+-14.23 มิลลิลิตรต่อนาที (p=0.519) ส่วนการขจัดสารยูเรียและการขจัดฟอสเฟตไม่แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม (2.33+-0.45 เทียบกับ 2.4+-0.37, p=0.53 และ 244.41+-77.37 เทียบกับ 242.83+-57.04 มิลลิลิตรต่อนาที p=0.96) กล่าวโดยสรุปการฟอกเลือดแบบออนไลน์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่นด้วยตัวกรองเลือด 2 ตัว มีอัตราการขจัดของสารเบต้าทูไมโครโกลบูลิน มากกว่าการฟอกเลือดแบบคอนเวคทีฟ คอนโทร ดับเบิ้ลไฮ-ฟลักซ์ฮีโมไดอะฟิลเตรชั่น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่มีอัตราการให้สารน้ำทดแทนที่คงที่มากกว่า
Other Abstract: Background. Convective therapies have more effective to remove larger toxic molecules than conventional hemodialysis. Although on-line hemodiafiltration (on-line HDF) could provide both diffusion and convection, the procedure needs a sophisticated and expensive hemodiafiltration machine. Convective-control double high-flux hemodiafiltration (CC-DHF) was set up only a standard hemodialysis machine and using two high flux dialyzer. Aim of this study was to compare beta-2 microglobulin removal between two HDF techniques. Method. Experimental cross over trial between on-line HDF and CC-DHF was performed in 12 chronic hemodialysis patients who had treatment with hemodialysis for at least 6 mo. To eliminate confounding factors, on-line HDF was also set up using two high-flux dialyzers connected in serial. The replacement flow rate in both techniques were 25% of blood flow rate in post dilution. Result. There were no significant differences in basic hemodialysis data among on-line HDF and CC-DHF groups. On-line HDF could provide higher total beta-2 microglobulin clearance than CC-DHF (134.55+-16.18 vs.112.38+-17.03 ml/min, p<0.05). For dialysate clearance (convection+diffusion), on-line HDF also provide higher dialysate clearance than CC-DHF, but there were no significant differences in adsorptive clearance. There were no significant differences in value of Kt/Vurea and phosphate clearance between on-line HDF and CC-DHF (2.33+-0.45 vs. 2.4+-0.37 and 244.41+-77.37 vs. 242.83+-57.04 ml/min). Conclusion. On-line HDF could provide higher beta-2 microglobulin removal than CC-DHF, magnitude of which is correlated to constant rate of fluid replacement.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2525
ISBN: 9741771134
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chunlapat.pdf789.11 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.