Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25260
Title: ความต้านทานการพัดพาอนุภาคดินเหนียวในดินกระจายตัว
Other Titles: Resistance of clay detachment in dispersive soil
Authors: คมกริช หงษ์ทอง
Advisors: สุพจน์ เตชวรสินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดินกระจายตัวจัดเป็นดินที่สร้างปัญหาให้กับงานด้านวิศวกรรมที่ต้องใช้ดินเป็นวัสดุหลัก ในการก่อสร้าง โดยเฉพาะจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจะพบดิน ชนิดนี้ได้มาก ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดเนื่องจากการกัดเซาะภายในของดิน ซึ่งการศึกษาวิจัย ในครั้งนี้ต้องการที่จะหาปริมาณต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการกระจายตัวของดินชนิดนี้ การทดสอบดินกระจายตัวโดยทั่วไป เช่น วิธี Pinhole Test หรือวิธี Double Hydrometer Test จะชี้ให้เห็นว่าดินที่น่ามาทดสอบนั้นเป็นดินกระจายตัวหรือไม่ ซึ่งเป็นเพียงการหาคุณสมบัติของดินและชี้ว่าเป็นดินชนิดนี้เท่านั้น ในส่วนของเครื่องมือที่ทำการปรับปรุงใน งานวิจัยนี้จะทำการหาปริมาณต่างๆ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการกระจายตัวของดินชนิดนี้ โดยค่าพารามิเตอร์ที่นำมาพิจารณาก็คือ ช่องทางน้ำไหล แรงดันของน้ำและความหนาของตัวอย่าง ดิน ความสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับค่าพารามิเตอร์ที่กล่าวมาข้างต้นจะถูกนำเสนอในงานวิจัยในครั้งนี้
Other Abstract: Dispersive soil has been used as a construction soil in the northeastern provinces of Thailand. In several earth structures, failures were mostly caused by internal erosion from soil. In the present study, attempts had been made to quantitatively determine the dispersivity of a dispersive soil from the northeastern provinces of Thailand. Conventional tests; i.e. , pinhole test, double hydrometer test, were used and indicated that the tested soil is dispersive. Nevertheless qualitative determination was only obtained. A special equipment was modified to quantitative the dispersivity of soil. Several parameters; i.e. , induction flow channel, water head and soil thickness were calibrated. A empirical correlation which relating these above mentioned parameters for classification of soil dispersivity has been proposed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25260
ISBN: 9745312266
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Komkrit_ho_front.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ho_ch1.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ho_ch2.pdf11.35 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ho_ch3.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ho_ch4.pdf6.67 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ho_ch5.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Komkrit_ho_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.