Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2526
Title: การเปรียบเทียบผลของยาแอมมิโอดาโรนกับยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซิน บริหารทางหลอดเลือดดำในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ในผู้ป่วยที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะเอเตรียลฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลัน ที่รักษาตัวในหอบริบาลผู้ป่วยวิกฤต
Other Titles: Comparison of intravenous amiodarone versus intravenous amiodarone plus digoxin for rate control in intensive care patients with acute atrial fibrillation
Authors: สราวุฒิ ศิวโมกษธรรม, 2516-
Advisors: สมชาย ปรีชาวัฒน์
อภิชัย คงพัฒนะโยธิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: แอมมิโอดาโรน
ดีจ็อกซิน
เอเตรียลฟิบริลเลชัน
อัตราการเต้นของหัวใจ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ : เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับยาที่ใช้ในการรักษา เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเอเตรียลฟิบริลชั่นชนิดเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤต ประกอบกับยาแอมมิโอดาโรนหรือยาดีจ็อกซินเพียงอย่างเดียว ยังมีประสิทธิภาพไม่มีเต็มที่นัก จึงมีแนวคิดที่จะใช้ยา 2 ชนิดดังกล่าวร่วมกันซึ่งยังไม่มีข้อมูลศึกษามาก่อน วัตถุประสงค์ : ประเมินประสิทธิภาพของยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซินทางหลอดเลือดดำ เปรียบเทียบกับยาแอมมิโอดาโรนบริหารทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว ในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ป่วยที่รักษาตัวในหอบริบาลผู้ป่วยวิกฤต ที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะเอเตรียลฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลัน รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดมีกลุ่มเปรียบเทียบ จัดแบ่งกลุ่มประชากรแบบสุ่มอย่างง่าย โดยผู้ป่วยและผู้วิจัยทราบว่าใช้ยาชนิดใด ระเบียบวิธีวิจัย : ผู้ป่วยภาวะวิกฤตที่เกิดเอเตรียลฟิบริลเลชั่นชนิดเฉียบพลันจำนวน 42 ราย ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับ ยาแอมมิโอดาโรน ทางหลอดเลือดดำ (5 ม.ก. ต่อ ก.ก. เป็นเวลา 30 นาที ต่อด้วย 1 ม.ก. ต่อนาทีเป็นเวลา 6 ชม. ต่อด้วย 0.5 ม.ก. ต่อนาที) กลุ่มที่ 2 ได้รับยาแอมมิโอดาโรน ขนาดเดียวกันร่วมกับยาดีจ็อกซินทางหลอดเลือดดำ (0.25 ม.ก. ทุก 2 ชม. รวม 0.75 ม.ก.) เปรียบเทีบค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจหลังได้รับยา 8 ชม. และเฝ้าสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ ผลการวิจัย : ที่เวลา 8 ชม. กลุ่มที่ได้รับยาแอมมิโอดาโรนอย่างเดียว และยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซิน มีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยกันทั้ง 2 กลุ่มจาก 134+-21.7 ครั้งต่อนาทีมาเหลือ 95.4+-26.6 ครั้งต่อนาที (p<0.001) และ 140+-16.2 ครั้งต่อนาทีมาเหลือ 91.5+-25.4 ครั้งต่อนาที (p<0.001) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาร่วมกัน สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจได้มากกว่าอีกกลุ่มเล็กน้อย แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.64) พบอาการไม่พึงประสงค์ ชนิดความดันโลหิตต่ำชั่วขณะ และหลอดเลือดอักเสบเท่ากันทั้ง 2 กลุ่ม (5 และ 1 ราย ตามลำดับ) แต่พบ bradyarrhythmia จำนวน 4 ราย เฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่ 2 เท่านั้น (1 รายเกิด complete heart block) แต่ไม่พบอาการข้างเคียงที่ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิต สรุป : ประสิทธิภาพของยาแอมมิโอดาโรนร่วมกับยาดีจ็อกซิน ในการควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเทียบกับ ยาแอมมิโอดาโรน บริหารทางหลอดเลือดดำไม่แตกต่างกัน แต่เพิ่มโอกาสของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
Other Abstract: Background : The optimal rate control approach for acute atrial fibrillation in intensive care unit patients has not been established. Either amiodarone or digoxin is widely used to decrease the ventricular rates but combination of both has not been proved its efficacy. Objective : This study was designed to determine the efficacy of intravenous combination of amiodarone and digoxin vs intravenous amiodarone alone for acute ventricular rate control in intensive patients with acute atrial fibrillation. Design : Prospective, randomized open label study. Methods : Forty-two patients with atrial fibrillation and uncontrolled ventricular rates were randomized to receive either an intravenous combination of amiodarone (5 mg/kg intravenously in 30 minutes ,then 1 mg/min for 6 hours, followed by 0.5 mg/min over next 18 hours) and digoxin (0.25 mg intravenously every 2 hours, total 0.75 mg) ,or an intravenous amiodarone alone(identical amount) and were continuously monitored EKG and drug adverse effects. Result : At8 hours, the mean heart rates in both groups decreased clinically significant : in amiodarone group from 134 +/- 21.7 beats/min to 95.4 +/- 26.6 beats/min(p<0.001), in combination group from 140 +/- 16.2 beats/min to 91.5 +/- 25.4 beats/min (p<0.001). Comparing between two groups, treatment with combination drugs demonstrated slightly better ventricular rate control at 8 hours (91.5 +/- 25.4 beats/min in combination group vs 95.4 +/- 26.6 beats/min in amiodarone alone group, p = 0.64). By the end of 24 hours treatment period : 14 patients (67.7%) in combination group and 15 patients (71.6%) in amiodarone alone group had returned to sinus rhythm (p = 1.0). Adverse effects occurred 49% in combination group (5 hypotension, 1 phebitis, 4 bradyarrhythmia) where as 29% in amiodarone alone group (5 hypotension, 1 phebitis).There was no life threatening adverse effect, interestingly we found bradyarrhythmia in combination group only, including one patient who developed complete AV block. Conclusions : Combination therapy, as compared with amiodarone alone, was not significantly improved efficacy for acute ventricular rate control but increased bradyarrhythmic adverse effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2526
ISBN: 9741770588
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarawut.pdf799.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.