Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25291
Title: ศาลต่างประเทศในภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ. 2416-2480)
Other Titles: The International Court in the Northern part of Thailand (1874-1937)
Authors: รัตนาพร เศรษฐกุล
Advisors: แถมสุข นุ่มนนท์
ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์ถึงบทบาทของศาลต่างประเทศในภาคเหนือของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2416-2480 นับแต่ไทยเริ่มตั้งศาลต่างประเทศขึ้นตามสัญญาเชียงใหม่ พ.ศ.2416 จนกระทั่งถึงปีที่ผรั่งเศสยกเลิกระบบศาต่างประเทศในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2480 โดยในแต่ละบทจะแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานของศาล ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ศาลประสบและการแก้ไขปรับปรุง ระบบ กฎเกณฑ์ของศาล ตลอดจนการขยายอำนาจขอบเขตของศาลออกไปตามเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือของไทย จนขยายออกไปทั่วประเทศตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส พ.ศ.2449 และตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2451 จากงานวิจัยฉบับนี้จะเห็นได้ว่า ศาลต่างประเทศนั้นเกิดจากความร่วมมือระหว่างไทยกับมหาอำนาจตะวันตกที่มีอิทธิพลสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อังกฤษ โดยอังกฤษยอมให้ศาลต่างประเทศซึ่งดำเนินการโดยผู้พิพากษาไทยมีอำนาจชำระตัดสินคดีความคนในบังคับอังกฤษในภาคเหนือตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาเชียงใหม่ พ.ศ. 2416 และ พ.ศ. 2426 ทั้งนี้มีจุดประสงค์แรกเริ่ม คือ แก้ไขปัญหาคดีความ ปัญหาโจรผู้ร้าย และปัญหาความขัดแย้งระหว่างเจ้านายขุนนางกับคนในบังคับอังกฤษในภาคเหนือซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆเป็นลำดับ นอกจากนี้ศาลต่างประเทศยังมีบทบาททางด้านการเมือง กล่าวคือ ศาลต่างประเทศเป็นหน่วยงานแรกของไทยในภาคเหนือ ได้วางรากฐานอำนาจทางการเมืองให้แก่ไทย จนสามารถเข้าจัดการควบคุมการปกครองประเทศราชภาคเหนือ ลดฐานะจากประเทศราชมาเป็นเพียงมณฑลหนึ่งของไทย และการที่ไทยเข้าควบคุมการปกครองประเทศราชภาคเหนือนี้ ทำให้ไทยสามารถป้องกันการขยายอำนาจของมหาอำนาจตะวันตก เข้ามาในภาคเหนือได้อีกด้วย
Other Abstract: This thesis aims at studying and analyzing the role of the International Court in the northern part of Thailand from 1874 – 1937. The period begins when the Thai Government founded the International Court in Chiengmai, following the Treaty of Chiengmai in 1874 until the year 1937 when the French Government abolishes the extraterritoriality in Thailand. Each chapter discusses the working process, the problems and the changing systems of the International Court including its expansion into the northern part of Thailand. The episode culminates in the establishment of the International Court in the whole kingdom after the Franco-Siamese Treaty of 1907 and the Anglo Siamese Treaty of 1909. The study reveals that the International Court came into being as a result of mutual understanding between England and Thailand. The primary objective of the International Court is to solve problems arising from crimes and conflicts between the local leaders and the British subjects. Furthermore, the International Court takes a notable political role as the first Thai power base in the North. In the end the northern part of Thailand comes under Thai sovereignty hence protecting western imperialism from encroaching that part of the country.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25291
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratanaporn_Se_front.pdf642.17 kBAdobe PDFView/Open
Ratanaporn_Se_ch1.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Ratanaporn_Se_ch2.pdf3 MBAdobe PDFView/Open
Ratanaporn_Se_ch3.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open
Ratanaporn_Se_ch4.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Ratanaporn_Se_back.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.