Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25292
Title: | การวิเคราะห์สัดส่วนพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ของไทย โดยเทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่าย |
Other Titles: | Geometrical analysis of Thai buddha images from various periods by photogrammetric technique |
Authors: | บุญเลิศ ทัศนครองสิทธุ์ |
Advisors: | มะลิ โคกสันเทียะ ชูเกียรติ วิเชียรเจริญ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | พระพุทธรูป การสำรวจด้วยภาพถ่าย |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิเคราะห์สัดส่วนพระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ของไทย โดยเทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่าย เป็นการประยุกต์การสำรวจด้วยภาพถ่ายระยะใกล้กับงานโบราณคดี ในลักษณะการศึกษาเปรียบเทียบแบบศิลปะ โดยอาศัยการวัดค่าพิกัดของพระพุทธรูปจากรูปจำลองสามมิติของภาพถ่ายคู่ซ้อนแล้วคำนวณแปลงค่าเป็นสัดส่วนภายหลัง การศึกษาแบบศิลปะเริ่มต้นจากพระพุทธรูปแบบสุโขทัยก่อน ต่อจากนั้นเป็นพระพุทธรูปแบบทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ วิธีการที่ใช้คือ วิธีวิเคราะห์เชิงกราฟิกและวิธีวิเคราะห์เชิงสถิติ สัดส่วนที่นำไปใช้วิเคราะห์ระหว่างแบบศิลปะเป็นค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ผลของการวิเคราะห์สรุปได้ว่า การวิเคราะห์เชิงกราฟิก สามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างสัดส่วนหลักของพระพุทธรูปแต่ละแบบศิลปะได้ แต่จำแนกส่วนปลีกย่อยไม่ได้ เนื่องจากช่างที่สร้างพระพุทธรูปมีแนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียะไม่ลงรอยเดียวกัน การแสดงผลในรูปแบบกราฟิกไม่สามารถแสดงรายละเอียดให้เห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อชี้จำแนก จึงทำได้ยากกว่าการวิเคราะห์เชิงสถิติ ซึ่งสามารถจำแนกในส่วนปลีกย่อยได้ เนื่องจากการดำเนินกรรมวิธีข้อมูลได้ลดสัดส่วนที่วัดไว้ทั้งหมดเหลือเพียงสัดส่วนที่มีนัยสำคัญซึ่งสะท้อนแบบศิลปะของพระพุทธรูปแต่การวิเคราะห์โดยวิธีหลังนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอย่างที่เลือกมา นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการวิเคราะห์นานกว่าวิธีแรก อย่างไรก็ตามเทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่ายมีประโยชน์มาก สำหรับการศึกษาลึกลงไปในรายละเอียด เพราะสามารถทำได้สะดวก รวดเร็วและสมบูรณ์กว่าเท่าที่เคยเป็นมา ผลของการวิเคราะห์สัดส่วนพระพุทธรูปรากฎว่า พระพุทธรูปที่มีสัดส่วนแตกต่างกันระหว่างแบบศิลปแบ่งออกเป็นสามกลุ่มคือ กลุ่มที่หนึ่งได้แก่ พระพุทธรูปแบบทวารวดี และศรีวิชัย กลุ่มที่สองได้แก่ พระพุทธรูปแบบลพบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์ กลุ่มที่สามได้แก่ พระพุทธรูปแบบเชียงแสน และสุโขทัย พระพุทธรูปแต่ละกลุ่มยังมีสัดส่วนบางแห่งแตกต่างกันเองภายในกลุ่มกล่าวคือ กลุ่มที่หนึ่งแตกต่างกันที่ความสูงขององค์พระและระยะระหว่างพระถัน กลุ่มที่สองแตกต่างกันที่พระรัศมี กลุ่มที่สามแตกต่างกันที่พระรัศมีและความสูงขององค์พระ สัดส่วนที่แตกต่างระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มนี้ ช่วยให้สามารถจำแนกแบบศิลปพระพุทธรูปของไทยได้ |
Other Abstract: | Close-Range photogrammetric technique is used in geometrical analysis of various styles of Thai Buddha images for comparative study in archaeology. Model coordinates of Buddha images in Dvaravati, Srivijaya, Lopburi, Chieng-Saen, Sukho-Thai, Ayuthaya and Rattanakosin styles are measured and transformed. Average dimensions of the images are analysed both graphically and statistically. It was found that to identify the differences among various styles of Buddha images, the graphical analysis can be used effectively in the comparison of principle dimensions but cannot be applied in the case of complex comparison in which the minor variations are mainly dependent on sculptors special aesthetic and creative ideas. The difficulty of detailed presentation in graphical form is also the limitation of this method. The graphical analysis is superior to statistical method when comparison is on principle features. However, it does not lend itself very well when detailed study and comparison is an ultimate goal. In that case the statistical method becomes a more flexible tool to be used in data processing. The study reveals a new dimension in archaeology to use the photogrammetric technique for detailed investigation and data collection of Buddha images in Thailand. The result of Buddha-image analysis shows that the differences among various styles can be classified in three groups. Dvaravati and Srivijaya styles are in one group. Lopburi, Ayuthaya and Rattanakosin styles are the second group. Chieng-Saen and Sukho-Thai are the third group. There are some differences in each group, the first groups are height of the body and distance between the nipples, the second group is the radius, the third group are the radius and height of the body. The differences among their groups and between different styles could be used as additional tool for identification the styles of Thai Buddha images. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสำรวจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25292 |
ISSN: | 9745662348 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonlert_Th_front.pdf | 477.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_ch1.pdf | 338.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_ch2.pdf | 889.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_ch3.pdf | 719.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_ch4.pdf | 358.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_ch5.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_ch6.pdf | 296.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonlert_Th_back.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.