Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25299
Title: การศึกษาการจัดการธุรกิจของผู้แทนจำหน่ายรถแทรคเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร
Other Titles: A study on management of agents for agricultural tractors
Authors: ชัยณรงค์ อิทธิภาณุวัต
Advisors: ประกอบ เรืองปัญญาพจน์
ณัฐดนัย อินทรสุขศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงการดำเนินงานโดยทั่วไปของธุรกิจผู้แทนจำหน่ายรถแทรคเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร ศึกษาปัญหาการจัดการของธุรกิจดังกล่าวที่มีผลต่อการพัฒนาการเกษตร โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้รถแทรคเตอร์ในการปฏิบัติงานทางการเกษตร ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงการจัดจำหน่ายรถแทรคเตอร์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งทดสอบข้อสมมุติฐานที่ว่า การจัดการธุรกิจของผู้แทนจำหน่ายรถแทรคเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรยังขาดประสิทธิภาพในด้านการประสานงานภายในองค์การ อัตราขาเข้าออกของพนักงานและการควบคุมว่าจริงหรือไม่ วิธีการศึกษา จะใช้หลักการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยอาศัยข้อมูลทั้งทางด้านข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ กล่าวคือ ข้อมูลปฐมภูมิจะสัมภาษณ์สดจากระดับผู้บริหารที่มีประสบการณ์ของบริษัททั้ง 11 แห่งที่ดำเนินธุรกิจนี้ โดยมิได้ใช้แบบฟอร์มการสอบถามที่แน่นอนตายตัว แต่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่อง เช่น วิธีการติดต่อเป็นผู้แทนจำหน่าย วิธีบริหารงาน ปัญหาในการจัดการด้านการขายและการตลาด การวางแผนงาน การสั่งการ การควบคุม และการประสานงานต่าง ๆ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิจะศึกษาจากหนังสือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังกล่าวและการจัดการด้านต่าง ๆ ผลของการศึกษา ปรากฏว่า สมมุติฐานที่ตั้งขึ้นคือ “การจัดการธุรกิจของผู้แทนจำหน่ายรถแทรคเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร ยังขาดประสิทธิภาพ อาทิ การประสานงานภายในองค์การไม่ดี อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง และขาดการควบคุมที่ดี” ไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม การจัดการธุรกิจดังกล่าว ยังมีปัญหาด้านอื่น ๆ อาทิ ปัญหาด้านการวางแผน ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านการตลาด และปัญหาด้านการบัญชี ดังต่อไปนี้ ปัญหาด้านการวางแผนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ[สิ่งแวดล้อมของธุรกิจ] คือ ความต้องการของตลาดที่ไม่แน่นอนในแต่ละเดือนและแต่ละปี ผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำมันต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายของธุรกิจ การขาดแคลนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงยี่ห้อรถแทรคเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรของบริษัทผู้แทนจำหน่าย การเปลี่ยนแปลงระบบงานซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารเก่าและใหม่ ในเรื่องประสบการณ์กับการบริหารงานสมัยใหม่ ปัญหาด้านการเงิน ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการขาดแคลนเงินทุน ทั้งนี้เนื่องจากโครงสร้างของผู้ถือหุ้นของบริษัทส่วนใหญ่เป็นการถือหุ้นในหมู่ครอบครัวเท่านั้น โดยเฉพาะการขาดแคลนเงินทุนในการเก็บสต๊อกสินค้าในฤดูที่มิใช่การขาย ขณะเดียวกัน ภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ต้นทุนสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรไทยส่วนใหญ่ก็ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะซื้อรถแทรคเตอร์ที่มีราคาแพงได้ การซื้อจึงนิยมซื้อในระบบเงินผ่อน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านหนี้เสียสูง ด้านการตลาดมีปัญหาที่สำคัญเนื่องมาจากเกษตรกรโดยมีกำลังซื้อค่อนข้างต่ำ รายได้ของเกษตรกรไม่แน่นอน ทำให้ปริมาณความต้องการค่อนข้างต่ำ ยอดขายไม่มีเสถียรภาพและฤดูการจำหน่ายค่อนข้างสั้นด้วย ประกอบกับธุรกิจรถแทรคเตอร์มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ขณะที่ตลาดส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ธุรกิจรถแทรคเตอร์ โดยทั่วไปยังถือเป็นเพียงผลิตภัณฑ์รองของบริษัท ความผันผวนของเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศทำให้การลงทุนธุรกิจนี้มีความเสี่ยงสูง และการแก้ไขปัญหาน้ำมันของรัฐยังขาดประสิทธิภาพ ปัญหาด้านการบัญชี ได้แก่ ปัญหาการลงบัญชีในส่วนที่เกี่ยวกับการขายเงินผ่อนที่อาจก่อให้เกิดการสับสนในด้านการพิจารณากำไร-ขาดทุน ปัญหาเกี่ยวกับหนี้สูญที่ทางกรมสรรพากรกำหนดและทางปฏิบัติของบริษัทที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากประเมินรวม ทั้งผลตอบแทนทางธุรกิจแก่ผู้แทนจำหน่ายรถแทรคเตอร์และผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางการเกษตรของประเทศ โดยนำมาเปรียบเทียบกับปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการแล้ว พอสรุปได้ว่า ผลดีมีมากกว่าผลเสีย และแนวโน้มในการสร้างผลกำไรก็ยังมีลู่ทางแจ่มใสในอนาคต
Other Abstract: This thesis aims to study about the general operations of agents for agricultural tractors, the problems in managing such business which result in agricultural development; by implying the important of using tractors in agriculture as well as suggesting how to distribute tractors to all concerned. To test the assumption if “Management of agents for agricultural tractors” is lack of efficiency in coordinating within the organization, staff turnover rate and controlling. The study will base on quantitative method by relying on both primary and secondary data. That is: Primary data will be obtained by interviewing experienced managerial level of all eleven firms in this field. No specific questionnaire has been used but emphasizing on the negotiation to be sole agent, the managerial task, problems in sales and marketing, planning, directing, controlling and coordinating. Whereas secondary data will be studied from all concerned textbooks. The solution of study finalized that our assumption “The management of agents for agricultural tractors is lack of efficiency, poor coordinating within organization, high staff turnover rate and poor controlling” is untrue. Nevertheless, there are still some problems in managing tractor business: planning, financing, marketing and accounting. Planning problem has somewhat related to business environment: the uncertainty of market in every single month or year, oil crisis resulted in cost of expenditures, insufficient concerned data, change in tractor brands of sole agent as well as change in system management caused conflicts between obsolete management and modern management or experiences against modern style. Financing problem mostly concerns with insufficient fund. As the structure of most firms is family-business type, consequently there is sometimes lack of capital for keeping stock during unsaleable season whereas inflation has increased cost of stock. Besides, Thai farmers are generally unable to afford the expensive tractors thus high purchase system is widely used which caused high tendency of risk. Marketing problem occurred because of low purchasing power of farmers, income fluctuation leads to low demand thus unstable gross sales, short sale period, severe competition whereas only local market available. Moreover, tractors tend to be sub-products of most firms, high risk resulted from uncertainty economy both local and abroad, the unsolvable of oil problem. Accounting problem related to how the firm records credit sales which may cause confusion in profit and loss consideration, problem in bad debt which must be complied with revenue department and different procedure applied by each firm. Finally, in general evaluation, return in tractor business as well as from development in agricultural economy point of view compared to some problem in managing can be summarized that advantage has covered disadvantage, and the tendency in profit making is still opportune in future.
Description: วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25299
ISBN: 9745612472
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chainarong_It_front.pdf558.74 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_It_ch1.pdf379.06 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_It_ch2.pdf971.09 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_It_ch3.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Chainarong_It_ch4.pdf706.66 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_It_ch5.pdf489.02 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_It_back.pdf754.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.