Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25310
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธิติมา พิทักษ์ไพรวัน-
dc.contributor.advisorไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์-
dc.contributor.authorรัตนาวดี รัตนโกมล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-22T08:17:08Z-
dc.date.available2012-11-22T08:17:08Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25310-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิวัฒนาการและบทบาทของธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ระหว่าง พ.ศ. 2431 -2488 คือ นับตั้งแต่การก่อตั้งธนาคารพาณิชย์ธนาคารแรกในประเทศไทย ได้แก่ธนาคารฮ่องกงแอนด์เซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น ในเดือนธันวาคม พ. ศ. 2431 จนถึงการประกาศใช้พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พุทธศักราช 2488 เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความเปลี่ยนแปลงตลอดจนอิทธิพลที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน ในแง่ของ รูปแบบ โครงสร้างการดำเนินงาน และความสำคัญที่มีต่อเศรษฐกิจในส่วนรวมของประเทศ ผลการศึกษาพบว่า การธนาคารพาณิชย์ของไทยเกิดขึ้นเพื่อให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจการค้า ซึ่งเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนับแต่ประเทศไทย ทำสนธิสัญญาบาวริ่งใน พ.ศ. 2399 เป็นต้นมา ธนาคารพาณิชย์ไทยรับเอารูปแบบและระบบการดำเนินงานจากธนาคารพาณิชย์อังกฤษที่ใช้ในดินแดนอาณานิคม คือเป็นระบบธนาคารสาขาและให้การสนับสนุนการค้าต่างประเทศ นอกจากนั้นยังรับเอาระบบคอมปราโดร์มาดำเนินงานด้วย การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ของผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องทำตามครรลองของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่รัฐบาลวางไว้เพื่อควบคุมการดำเนินงานของธนาคารรัฐบาลให้การสนับสนุนธนาคารพาณิชย์ตั้งแต่ต้น แต่กฎหมาย หน่วยงาน และบุคลากรที่มีหน้าที่ควบคุมธนาคารพาณิชย์ไม่มีประสิทธิภาพพอ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงแก้ไขโดยการออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ มักเป็นมาตรการที่ตั้งขึ้นภายหลังจากที่ได้มีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว จากการศึกษาเกี่ยวกับการควบคุมธนาคารพาณิชย์ พบว่า รัฐบาลมีแนวโน้มที่จะพิทักษ์ผลประโยชน์ของสาธารณชน และควบคุมให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินงานให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคมมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ คือ คหบดีชาวไทย จีน ขุนนาง ข้าราชการ ซึ่งมีฐานะเป็นปึกแผ่น จากการสะสมทุนทางการค้าทั้งภายในและนอกประเทศ ผู้ประกอบการจึงมักมีกิจการค้าประเภทอื่น ๆ ดำเนินควบคู่ไปกับกิจการธนาคาร เป็นผลให้การให้กู้ยืมมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้นผู้ประกอบการมักมีความสัมพันธ์ต่อกันทางด้านการค้า เครือญาติ และสมาคม ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มผลประโยชน์ ธนาคารพาณิชย์ของไทยจึงผูกขาดอยู่กับบุคคลเพียงบางกลุ่มที่มีอิทธิพลและกุมสายใยการดำเนินธุรกิจการค้าของประเทศ ธนาคารพาณิชย์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวค่อย ๆ เจริญเติบโตค่อยเป็นค่อยไปแต่มั่นคง เห็นได้จากจำนวนสาขา ปริมาณเงินฝาก และเงินให้กู้ยืมที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศแล้ว ปริมาณเงินฝากดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก และเงินฝากส่วนใหญ่ยังรวมตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพ ฯ และจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น การให้กู้ยืมก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน คือจำกัดวงอยู่ในจังหวัดใหญ่ ๆ และเฉพาะสาขาเศรษฐกิจ ธนาคารพาณิชย์ในระหว่างระยะเวลาที่ทำการศึกษา นอกจากจะเป็นสถาบันแหล่งกลางในการระดมเงินออมและกระจายเงินทุน และให้บริการทางด้านการเงินแล้วยังมีบทบาทสอดคล้องกับพัฒนาการทางด้านการเงินของประเทศ คือ การออกธนาคารบัตรในระยะที่การผลิตธนบัตรของประเทศยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น การเป็นตัวกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการสร้างเงินเครดิต นอกจากนั้นธนาคารพาณิชย์ยัง เป็นสถาบันทางการเงินที่จำเป็นยิ่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะการค้าข้าว ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญและมีมูลค่าสูงที่สุด การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์จึงเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการค้าโดยส่วนรวม ยิ่งไปกว่านั้นการสนับสนุนรับบาลให้กู้ยืมเงินภายนอกราชอาณาจักร เพื่อการพัฒนาประเทศในระหว่าง พ. ศ. 2444 – 2447 โดยการสร้างทางรถไฟ และการชลประทาน มีผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญในระดับหนึ่ง-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the development and roles of commercial banks in Thailand from 1888-1945 during the period of the establishment of the first commercial bank in Thailand, the Hong Kong and Shanghai Banking Corp., in December 1888 to the issuance of the Commercial Bank Act of 1945, with special emphasis on their influences on commercial banks at present in form of pattern, structure, management and contribution to the country’s economy as a whole. The studies found that the commercial banking in Thailand was firstly established to offer financial services to the trade business which had developed rapidly since Thailand signed the Bowring Treaty type in 1850’s Thai commercial bands were influenced by the British Commonwealth’s Banking pattern and system: the branch banking management was arranged to support foreign business and trade. Besides the Compradore system was also put into practice. The management of commercial banks depended upon banker’s policies which had to comply with obligations under the laws, rules and regulations laid by the Government in order to control the banking operation. The Government supported commercial banks since the beginning. But, at the same time, the law, cevil agents and officers supervising the banks were not efficient enough. Therefore, improvement and amendment were introduced to eliminate all the loopholes in trial and error manner. Concerning banking control, the study found that Government’s primary concern was not only to protect public interest but also to supervise the banking operation to the advantage of social economy. Most of the bankers were both Thai and Chinese who accumulated wealth through internal and external trade. Consequently, they were people who ran different kinds of business at the same time. Trend of advances was then to finance their concerned business Moreover, all the bankers had inter-relationship either by business, ralatives and societies which were united by common interest. Thai commercial banks were therefore the monopoly of some influencial groups who held the business and trade net work within the country. During the period, commercial banks developed gradually and steadily which could be seen from the number of branches, deposits and advances increased every year. However, comparing with the number of population, the amount of deposits as well as the amount of advances was still not high enough and centralized in Bangkok and provinces with economic potentials only. In accordance with county’s money economy, the commercial banks played the roles in issuing bank notes, sharing foreign exchange activities and creating credit money. For economic development, they were the only important private financial institute for financing foreign trade especially the rice export. Moreover, the roles of British and French commercial banks in Thailand in supporting the Government’s loans in London Capital Market during 1901-1904 indirectly affected the country’s economic development for the loans were used in railway construction and irrigation.-
dc.format.extent856906 bytes-
dc.format.extent2342882 bytes-
dc.format.extent1914801 bytes-
dc.format.extent2822212 bytes-
dc.format.extent1584805 bytes-
dc.format.extent1214837 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleวิวัฒนาการและบทบาทธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย (พ.ศ. 2431-2488)en
dc.title.alternativeDevelopmentnand roles of commercial banks in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratanawadee_Ra_front.pdf836.82 kBAdobe PDFView/Open
Ratanawadee_Ra_ch1.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Ratanawadee_Ra_ch2.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Ratanawadee_Ra_ch3.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Ratanawadee_Ra_ch4.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Ratanawadee_Ra_back.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.