Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25314
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศุภจิตรา ชัชวาลย์ | |
dc.contributor.advisor | พัชรา ลิมปนะเวช | |
dc.contributor.author | สายสุนี แก้วเทศ | |
dc.contributor.illustrator | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T08:21:31Z | |
dc.date.available | 2012-11-22T08:21:31Z | |
dc.date.issued | 2545 | |
dc.identifier.isbn | 9741730705 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25314 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en |
dc.description.abstract | การเตรียมฟีดเดอร์เซลล์จากแคลลัสของยาสูบ ที่ได้จากแผ่นใบที่เลี้ยงในอาหาร MS ที่เติม 2,4-D 0.1 mg/l พบว่า แคลลัสที่เจริญในอาหารดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างกัน คอมแพกแคลลัสสีเขียวและสีขาวสามารถเจริญเป็นยอดได้ ในอาหาร KDMS ในเวลา 80 วัน ในขณะที่ไฟรเอเบิลแคลลัสที่มีลักษณะเซลล์ใสไม่มีสีเขียว เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายไปในที่สุด เมื่อนำคอมแพกแคลลัสสีเขียวและสีขาวนี้มาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม 2,4-D 0.1 mg/l พบว่า ได้เซลล์แขวนลอยสีเหลืองอมเขียวที่เพิ่มปริมาณได้ และมีขนาดเล็ก กระจายตัวตัวดี เมื่อย้ายเซลล์แขวนลอยนี้มาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l พบว่า เซลล์แขวนลอยเจริญเติบโตเป็นกลุ่มเซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งผลที่ได้ต่างจากการย้ายคอมแพกแคลลัสสีเขียวและสีขาวมาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l โดยตรงที่พบว่า แคลลัสให้เซลล์แขวนลอยน้อย แต่มีการรีเจนเนอเรทเป็นยอดจำนวนมาก จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นฟีดเดอร์เซลล์ สำหรับการเลี้ยงแคลลัสจากแผ่นใบพิทูเนียในอาหาร MS ที่เติม 2,4-D 1.0 mg/l พบว่าได้แคลลัสสีเขียวอมเหลือง ลักษณะเซลล์ค่อนข้างละเอียด เมื่อนำมาเลี้ยงในอาหาร medium B สามารถเกิดการรีเจนเนอเรทเป็นยอดได้ดี และเมื่อนำแคลลัสมาเลี้ยงในอาหารเหลว Medium P พบว่าได้เซลล์แขวนลอยสีเขียวอมเหลืองลักษณะเซลล์ละเอียด และกระจายตัวได้ดี ซึ่งสามารถใช้ฟีดเดอร์เซลล์ได้ จากการศึกษาพบว่าวิธีการถ่ายยีนเข้าสู่มะเขีอเทศพันธุ์สีดาทิพย์และสวีทเชอรี่รวม 18 การทดลอง โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens สายพันธุ์ LBA 4404 ซึ่งมีพลาสมิด pBI121 ที่มี gus gene เป็นยีนรายงานผล และ npt II gene เป็นยีนเครื่องหมายสำหรับการคัดเลือก พบว่า ใบเลี้ยงของมะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ขยายขนาดได้ดีที่สุดเมื่อใช้เซลล์แขวนลอยพิทูเนียเป็นฟีดเดอร์โดยทำ preculture ด้วยเป็นเวลา 1 คืน และเลี้ยงบน regeneration medium III รองลงมา คือ การใช้เซลล์แขวนลอยยาสูบที่เลี้ยงในอาหาร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l เป็นฟีดเดอร์โดยไม่ทำ preculture และเลี้ยงบน regeneration medium II ส่วนใบเลี้ยงมะเขือเทศพันธุ์สวีทเชอรี่ขยายขนาดได้ดีที่สุดเมื่อใช้เซลล์แขวนลอยพิทูเนียเป็นฟีดเดอร์ และเลี้ยงบน regeneration medium I รองลงมา คือ การใช้เซลล์แขวนลอยยาสูบที่เลี้ยงในอาหาร MS ที่เติม IAA 0.1 mg/l และ kinetin 1.0 mg/l เป็นฟีดเดอร์ และเลี้ยงบน regeneration medium II ทั้งนี้การ preculture และไม่ preculture ให้ผลไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนประสิทธิภาพในการถ่ายยีนเข้าสู่มะเขือเทศทั้ง 2 พันธุ์ จากทั้ง 18 การทดลอง พบว่า มะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ และพันธุ์สวีทเชอรี่มีค่า pupative transformation efficiency เป็น 2.5-18.0% และ 5.6-22.2% ตามลำดับ ต้นมะเขือเทศที่คาดว่าจะเป็นต้นที่ได้รับการถ่ายยีนได้ถูกนำมาตรวจสอบเอนไซม์กลูคูโรนิเดส โดยวิธี histochemical detection และโดยการเพิ่มชิ้นส่วนของยีน npt II โดยใช้ไพร์เมอร์จำเพาะ ซึ่งพบว่าพืชทุกต้นที่นำมาตรวจสอบให้ผลบวกในการตรวจสอบยีนทั้งสอง การทดสอบนี้ยืนยันประสิทธิภาพการถ่ายยีนว่าเป็นดังที่ระบุไว้ข้างต้น | |
dc.format.extent | 6926890 bytes | |
dc.format.extent | 1321272 bytes | |
dc.format.extent | 6142233 bytes | |
dc.format.extent | 3835734 bytes | |
dc.format.extent | 23914235 bytes | |
dc.format.extent | 3255205 bytes | |
dc.format.extent | 1321052 bytes | |
dc.format.extent | 5130401 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ผลของชนิดของฟีดเดอร์เซลล์ และอาหารที่ใช้ในการรีเจนเนอเรทที่มีต่อการถ่ายยีนด้วย Agrobacterium tumefaciens เข้าสู่มะเขือเทศพันธุ์สีดาทิพย์ และสวีทเชอรี่ (Lycopersicon esculentum Mill. cultivar Seedatip and Sweet Cherry) | en |
dc.title.alternative | Effects of types of feeder cells and regenerarion Agrobacterium tumefaciens mediated transformation of tomato cultivar seedatip and sweet cherry (Lycopersicon esculentum Mill. cultivar Seedatip and Sweet Cherry) | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พันธุศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saisunee_ka_front.pdf | 6.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_ch1.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_ch2.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_ch3.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_ch4.pdf | 23.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_ch5.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_ch6.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisunee_ka_back.pdf | 5.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.