Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25346
Title: ลักษณะจุลทรรศน์เปรียบเทียบของเฟิร์นบางชนิดในสกุล Thelypteris Schmidel ในประเทศไทย
Other Titles: Comparative microscopic characters of some fern species in the genus thelypteris schmidel in Thailand
Authors: สมฤทัย ชัยโพธิ์
Advisors: ทวีศักดิ์ บุญเกิด
เรณู ถาวโรฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เฟิร์นสกุล Thelypteris Schmidel จัดอยู่ในวงศ์ Thelypteridaceae มีสมาชิกมากกว่า 800 ชนิด ในประเทศไทยพบ 50 ชนิด ในอดีตนักอนุกรมวิธานบางท่านได้จัดจำแนกเฟิร์นวงศ์นี้ไว้ในสกุล Thelypteris Schmidel เพียงสกุลเดียว ต่อมามีผู้เสนอให้แยกเฟิร์นสกุลนี้ออกเป็นสกุลย่อยๆ จากการศึกษาโดยใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอกร่วมกับลักษณะของ ขน สเกล และอับสปอร์ ทำให้เกิด ความสงสัยว่าเฟิร์นสกุลนี้ควรจะรวมไว้ในสกุล Thelypteris Schmidel เพียงสกุลเดียว หรอจำแนกเป็น หลายสกุล การศึกษานี้เป็นการศึกษาลักษณะจุลทรรศน์ทั้งทางสัณฐานวิทยาและกายวิภาคของขน สเกล ปากใบ แผ่นใบ ก้านใบ และเหง้า ของเฟิร์นสกุล Thelypteris บางชนิดในประเทศไทย โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง พบว่าเฟิร์นกลุ่มนี้มีลักษณะทางกายวิภาคร่วมกัน คือ เซลล์ชั้นผิวมีผนัง เซลล์เป็นคลื่น มีปากใบเฉพาะที่ผิวใบด้านล่าง เหง้ามีสตีลแบบดิกทิโอสตีล และมีลักษณะสัณฐาน วิทยาของโครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ร่วมกัน คือ อับสปอร์มีรูปร่างกลม แอนนูลัสมีการเรียงตัว ตามยาว สปอร์มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องเปิดแบบรอยเชื่อมเดียว รูปร่างแบบทรงรีเหมือนกัน ลักษณะ ทางกายวิภาคที่มีความสำคัญในการจัดจำแนก ได้แก่ รูปแบบของปากใบ การมีหรือไม่มีขนต่อมที่ผิว ใบด้านล่าง การมีหรือไม่มีกลุ่มเซลล์ที่มีผนังหนาบริเวณไส้ไม้ และลักษณะสัณฐานวิทยาของ โครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ที่มีความสำคัญในการจัดจำแนก ได้แก่ การมีหรือไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ การมีหรือไม่มีขนต่อมบนเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ ตำแหน่งของขนบนอับสปอร์ และลวดลายบน ผิวสปอร์ เป็นต้น ทั้งนี้พบว่าการจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะทางกายวิภาคและสัณฐานวิทยาของ โครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์มีความสอดคล้องกัน และมีความสอดคล้องกับการจัดจำแนกโดยใช้ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาภายนอกที่มีผู้เสนอไว้ว่าควรแยกเฟิร์นสกุลนี้ออกเป็นหลายสกุลด้วยกัน
Other Abstract: The genus Thelypteris Schmidel belonging to family Thelypteridaceae has more than 800 species. There was only one genus in this family. It was proposed later to classify this fern genus into many subgenera. This research is a microscopic characteristic study concerning morphology and anatomy of hairs, scales, stomata, lamina, stipe, rhizome, sorus, sporangium and spore of some species in this genus in Thailand, using light microscope. It is found that this genus of fern has some characters in common. That is, epidermal cell wall is undulate, leaf is amphistomatic, vascular strand is bicollateral, the vascular system of rhizome is dictyostelic, sporangia are oval to globose, the annulus is vertical, spores are bilateral, monolete aperture and ellipsoidal shape. Anatomical and morphological structures in reproduction that play an important role in classification include type of stomata, presence or absence of glandular hair on lower surface of leaf, presence or absence of parenchyma thickeness wall on pith, presence or absence of indusium, presence or absence of glandular hair on indusium, position of hair on sporangium and surface of spore wall. It was found that morphological and anatomical characters of vegetative and reproductive structures correspond with the classification of these plant group into many genera.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พฤกษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25346
ISBN: 9741758596
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somruetai_ch_front.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Somruetai_ch_ch1.pdf927.29 kBAdobe PDFView/Open
Somruetai_ch_ch2.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Somruetai_ch_ch3.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Somruetai_ch_ch4.pdf39.05 MBAdobe PDFView/Open
Somruetai_ch_ch5.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open
Somruetai_ch_back.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.