Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25383
Title: มโนทัศน์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Concepts in science of lower secondary school students
Authors: รัชนี ศานติยานนท์
Advisors: ธีระชัย ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความสามารถในการเรียนรู้มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ (Science Concepts) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ข, 2 ข, และ 3 จ ปีการศึกษา 2517 จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 91 คน ทำการทดลองสอนมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ตามบทเรียนที่สร้างขึ้น 5 บทเรียน ด้วยตนเองทั้ง 3 กลุ่ม เป็นเวลา 15 ชั่วโมง และทำการทดสอบเพื่อวัดความเข้าใจ การนำไปใช้และความจำในมโนทัศน์ต่าง ๆ จากการนำข้อมูลมาทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างมัชฌิมเลขคณิตของคะแนนการทดสอบการเรียนรู้มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2, มัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3 ด้วยการทดสอบ ค่า t ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยปรากฏว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 โดยเฉลี่ย สามารถเรียนรู้มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และพบว่ามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ส่วนมากที่ได้เลือกมาทำการทดลองครั้งนี้ นักเรียนทั้ง 3 ระดับสามารถเรียนรู้ได้ และสามารถนำไปบรรจุลงในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นได้
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the ability of the lower secondary school students’ to learn science concepts of upper decondary level. The Sample groups were 91 students of Mathayom Suksa 1 B, Mathayom Suksa 2 B and Mathayom Suksa 3 E of the academic year 1974 of Chulaongkorn University Demonstration School. Five constructed lessons of science concepts wer introduced to the student sample for a total of 15 hour. Achievement tests were designed to measure the comprehension, application and memory of each concept. Difference between arithmetic means of each group were tested, using t-test. The results showed no significant difference at the .05 level between the three groups. It was also reviewed that most of the selected science concepts were attainable by the sample groups successfully. Hence, they can be included in the curriculum for lower secondary school.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25383
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rushnee_Sa_front.pdf419.21 kBAdobe PDFView/Open
Rushnee_Sa_ch1.pdf430.16 kBAdobe PDFView/Open
Rushnee_Sa_ch2.pdf777.88 kBAdobe PDFView/Open
Rushnee_Sa_ch3.pdf478.64 kBAdobe PDFView/Open
Rushnee_Sa_ch4.pdf532.64 kBAdobe PDFView/Open
Rushnee_Sa_ch5.pdf497.22 kBAdobe PDFView/Open
Rushnee_Sa_back.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.