Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25402
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรอนงค์ กุละพัฒน์ | |
dc.contributor.author | บัณฑูร สุวรรณเนตร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T11:02:35Z | |
dc.date.available | 2012-11-22T11:02:35Z | |
dc.date.issued | 2546 | |
dc.identifier.isbn | 9741745966 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25402 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะสัดส่วนของร่างกายต่อความสามารถในการพายเรือในชายไทยซึ่งไม่ได้เป็นนักกีฬาพายเรือ กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนพลทหาร ศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กองทัพเรือ จำนวน 220 คน อายุเฉลี่ย 21 ปี ทำการวัดสัดส่วนของร่างกาย 20 ตำแหน่ง และทดสอบความสามารถในการพายเรือ 500 เมตร และ 2,000 เมตร ด้วยเครื่องกรรเชียงบกกล ก่อนและหลังการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกพายเรือทั้งบนบกโดยใช้เครื่องกรรเชียงบกกลและพายเรือกรรเชียงจริงบนน่านน้ำระยะทาง 2,000 เมตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ภายหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการฝึก เหลืออาสาสมัคร 206 คน ผลการศึกษาพบว่าภายหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการฝึกพายเรือ 4 สัปดาห์ สัดส่วนของร่างกาย 11 ตำแหน่งมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.001 ไม่มีนัยสำคัญ 1 ตำแหน่ง และมี 5 ตำแหน่งที่สัดส่วนของร่างกายมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 และไม่มีนัยสำคัญจำนวน 3 ตำแหน่ง เวลาที่ใช้ในการทดสอบพายเรือทั้งระยะ 500 เมตร และ 2,000 เมตร ลดลง 7.8 วินาที โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.001 ทั้ง 2 ระยะ จากการวิเคราะห์ด้วย Step-wise multiple regression พบว่าเส้นรอบวงกล้ามเนื้อแขนท่อนบนขณะข้อศอกงอ 90 องศา ช่วงความกว้างกระดูกหัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง และความหนาไขมันใต้ผิวหนังขาท่อนล่างด้านชิดใน กับ เส้นรอบวงแขนท่อนล่าง และผิวหนังไขมันใต้ผิวหนังแขนท่อนบนด้านหน้า ขณะแรกเข้าโปรแกรมการฝึกพายเรือ เป็นตัวพยากรณ์ที่สามารถนำมาอธิบายถึงความสัมพันธ์กับเวลาที่ใช้ในการทดสอบภายเรือหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมการฝึกพายเรือทั้ง ในระยะ 500 เมตร และ 2,000 เมตร ได้ 12 % กับ 11 % ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ทั้ง 2 ระยะ ตามลำดับ สรุป ลักษณะสัดส่วนของร่างกายก่อนเข้ารับโปรแกรมการฝึกพายเรือ มีความสำคัญในการทำนายถึงความสามารถในการพายเรือในชายไทยซึ่งไม่ได้เป็นนักกีฬาเรือพาย ภายหลังได้รับการฝึกในโปรแกรมการฝึกพายเรือ 4 สัปดาห์ | |
dc.description.abstractalternative | The aim of this experimental study was to establish a relationship between selected anthropometric characteristics of thai men non-rowers and rowing performance as determined by 500 and 2,000 m.time-trials on a concept 2 rowing ergometer .The participants were 220 Thai men from the Recruit training center, Naval education department. The mean age was 21 years. The volunteres underwent 20 anthropometric measurements and rowing performance tests determined by 500 and 2,000 m.time trials using a rowing ergometer, before and after participating in a rowing training program for 4 weeks .The program consisted of 2,000 m. rowing on a rowing machine and 2,000 m. sculling "on-water". At the end of the program, 206 subjects remained in the study. The results of the study showed that with 4 weeks training a significant increase in 11 body dimensions was found (P<0.001) . There was a non-significant increase in one anthropometric measure. Additionally, there were significant decreases in 5 body dimensions (P<0.05), while another 3 sites decreased non-significantly. The time trials for both 500 and 2,000 m. rowing performance tests showed a significant decrease by 7.8 seconds rowing performance tests (P<0.001 for both tests) . A stepwise multiple regression showed that baseline biceps girth, biacromial length and calf skinfold were the best predictors contributing 12 % of rowing performance for 500 m. time trials test(P<0.001), and forearm girth and biceps skinfold were the best predictors explaining 11% of 2,000 m. rowing time (P<0.001) at the end of the rowing training program. Conclusion : Anthropometric characteristics are important factors predicting rowing performance in Thai men non-rowers after completing a 4 week rowing training program. | |
dc.format.extent | 2382354 bytes | |
dc.format.extent | 2410037 bytes | |
dc.format.extent | 3780999 bytes | |
dc.format.extent | 2830427 bytes | |
dc.format.extent | 8516472 bytes | |
dc.format.extent | 2933339 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ของลักษณะสัดส่วนของร่างกายต่อความสามารถในการพายเรือในชายไทยซึ่งไม่ได้เป็นนักกีฬาเรือพาย | en |
dc.title.alternative | Relationship of anthropometric characteristics to rowing performance in Thai men non-rowers | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เวชศาสตร์การกีฬา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Buntoon_su_front.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Buntoon_su_ch1.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Buntoon_su_ch2.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Buntoon_su_ch3.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Buntoon_su_ch4.pdf | 8.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Buntoon_su_back.pdf | 2.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.