Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25418
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสบู่ฟอกตัว ของผู้บริโภคกลุ่ม แม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A study on factors influenceing decisions on bath soap buying among housewives in Bangkok metropolitan area |
Authors: | สุนทร คำนูญเศรษฐ |
Advisors: | เสรี วงศ์มณฑา สุรัชนา วิวัฒนชาต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสบู่ถูตัวของผู้บริโภคกลุ่มแม่บ้านนี้เป็นหัวข้อที่น่าศึกษาเรื่องหนึ่ง เนื่องจากในปัจจุบันสินค้าสบู่ได้กลายเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน และสบู่ในท้องตลาดทุกวันนี้มีตรายี่ห้อมากกว่า 50 ชนิดที่แข่งขันกันอยู่ทั้งการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2523-2524 มีสินค้าสบู่หลายยี่ห้อได้ถูกแนะนำเข้าสู่ตลาดโดยใช้ค่าใช้จ่ายทั้งการโฆษณาและการส่งเสริมการขายอย่างมากมาย จนกระทั่งถึงปัจจุบันหลายยี่ห้อก็ยังไม่มีส่วนครองตลาดที่น่าพอใจ ดังนั้นจากการศึกษาสภาพตลาดและการแข่งขันโดยทั่วไปของสินค้าสบู่ในประเทศไทย รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการตลาดสำหรับตัวผลิตภัณฑ์นั้น ทำให้เราทราบว่า การที่ผู้บริโภคเลือกใช้สบู่ถูตัวยี่ห้อที่ใช้อยู่เนื่องจากกลิ่นหอมของสบู่เป็นจุดสำคัญ เหตุผลรองลงมาก็คือ เนื้อสบู่แข็งไม่เละง่าย ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจมาใช้สบู่ยี่ห้อใหม่เพราะเนื้อสบู่เละและกลิ่นไม่หอม สำหรับการตัดสินใจซื้อสบู่ ผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่จะคำนึงถึงกลิ่นหอมของสบู่เป็นอันดับแรก รองลงมาคือชื่อเสียงของตรายี่ห้อและราคาของสบู่ตามลำดับ ส่วนการเลือกตรายี่ห้อที่ใช้และการซื้อ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกและซื้อสบู่ด้วยตนเอง โดยซื้อจากร้านค้าใกล้บ้านมากที่สุดและจำนวนการซื้อในแต่ละครั้งประมาณ 7-12 ก้อน ในด้านตัวผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะชอบสบู่ที่เป็นสีขาวและมีกลิ่นที่เป็นน้ำหอมมากที่สุด ในด้านการส่งเสริมการขายส่วนใหญ่จะให้ความสนใจเป็นพิเศษโดยเฉพาะการลดราคาสินค้า จากการทดสอบสมมุติฐานที่กำหนดให้ทำให้ทราบว่า ภาพพจน์ของตรายี่ห้อหรือชื่อเสียงของตรายี่ห้อก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค รองลงมาจากกลิ่นหอม ในเรื่องของการเลือกตรายี่ห้อ รายได้ของผู้บริโภคจะไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกตรายี่ห้อสบู่ที่ใช้และกลิ่นของสบู่ส่วนใหญ่จะชอบสบู่กลิ่นน้ำหอมมากกว่าสบู่กลิ่นดอกไม้ ส่วนสีของสบู่ส่วนใหญ่จะนิยมสบู่สีขาวมากกว่าสีอื่นๆ ในกรณีของการส่งเสริมการขายไม่ว่าผู้ซื้อสบู่ราคาถูกหรือราคาแพงก็มีความสนใจในรายการส่งเสริมการขายใกล้เคียงกัน ในด้านความภักดีต่อตรายี่ห้อสบู่ที่ใช้ ทั้งผู้ซื้อสบู่ราคาถูกและสบู่ราคาแพงจะมีความภักดีต่อตรายี่ห้อเท่าๆ กัน การศึกษาในเรื่องนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าสบู่ ควรจะให้ความสนใจในด้านความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะความต้องการในตัวสินค้า ในด้านกลิ่น ความคงรูปก้อนของสบู่ไม่เละง่าย และคุณสมบัติในการบำรุงรักษาผิว เพราะกลิ่นของสบู่และความคงรูปก้อนของสบู่จะมีส่วนที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจที่จะใช้สบู่ยี่ห้อนั้นต่อไปหรือเปลี่ยนใจทดลองสบู่ยี่ห้อใหม่ที่ดีกว่า ในด้านราคา สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะเข้าสู่ตลาดผู้จัดจำหน่ายควรจะศึกษาอย่างละเอียดก่อนการตั้งราคาโดยเฉพาะอย่างยิ่งควรจะมีการทดสอบตลาดก่อนการวางตลาดจริง เพื่อหาระดับราคาที่ผู้บริโภคสามารถจะยอมรับได้เมื่อเปรียบเทียบกับภาพพจน์ของผลิตภัณฑ์ ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายควรจะกระจายสินค้าไปตามร้านค้าปลีกทั่วๆ ไป เพราะสินค้าประเภทนี้ผู้บริโภคยังคงนิยมซื้อจากร้านค้าใกล้บ้าน ในด้านการส่งเสริมการขาย ยังมีการส่งเสริมการขายอีกหลายวิธีที่สามารถจะนำมาใช้อย่างได้ผลซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโอกาส จังหวะ และช่วงเวลา เช่น การแจกตัวอย่าง การลดราคา การให้ของแถม การชิงโชค และการแข่งขัน สำหรับในด้านการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายควรจะให้ความสนใจในด้านการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการโฆษณาแต่ละครั้งนับวันจะแพงขึ้น นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์ยังมีส่วนช่วยในการสร้างภาพพจน์ของตัวสินค้า สร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวสินค้ากับกลุ่มเป้าหมายหรือระหว่างบริษัทกับสาธารณชนอีกด้วย |
Other Abstract: | A study on factors influencing decisions on bath soap buying among housewives is an interesting topic since this product became an essential goods in every day life. Presently, there over fifty brands of bath soap in the market competing each other in both advertising and sales promotion. During the year of 1980-1981, several brands were introduced into the market with large sum of money supported on advertisement and sales promotion. However, none of the brands introduced were able to make major gain in market share. As the result, this study of market situation and competition of soap products in Thailand (together with factors affecting consumer’s decisions in order to set guidelines for marketing planning of such product) revealed that consumer’s brand selection were firstly on fragrance of the soap and secondly on the hardness (which means not easily softened) of the soap. For brand switching, a consumer would buy a new brand if present brand is easily softened and contains dissatisfactory fragrance. On buying decisions, most consumers were concerned on fragrance, popularity and pricing respectively. On purchasing habit, most consumers selected the brand and purchased the soap by themselves from the nearest shophouse. The quantity per purchase was around 7-12 cakes. On the color of soap, most consumers preferred white soap with perfume fragrance. For sales promotion, price-off was the most effective promotion among consumers. From testing the given hypothesis, the result showed that the product image and brand popularity also influenced on consumer’s decision, which is second to the fragrance. However, consumer’s income did not show any relationship with the choices of brands. For soap fragrance, soap with perfume fragrance was preferred to flower fragrance. For soap coloring, white color was preferred to other colors. Concerning sales promotion, consumers who buy cheap soap or expensive soap had the same level of interested in sales promotion. On the brand loyalty, both buyers of cheap soap and expensive soap were equally loyal to the brand they used. In this study, it was suggested that both manufacturer and distributor should pay more attention to the product attributes especially, the fragrance, the hardness, and the need of skin care. These were the main factors which would cause the consumers to maintain buying the same brand or switch to the new brand. For pricing, if it is a new brand, marketing should conduct market research on pricing and relationship between price and brand image. For distribution coverage, rather than concentrate on big stores, sales department should also pay more attention to small grocery stores as consumers are more likely to buy soap near by their houses. For sales promotion, there are several kinds of promotion which can be used to achieve sales objective, depend on timing and market situation, for instance, free sampling, price-off, premium, prize-drawing and contest. For advertising and public relation, since the cost of media increase tremendously, company should emphazise not only advertising but also public relation. This will also create brand image to the target group, and relationship between the company and the public. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การตลาด |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25418 |
ISBN: | 9745636401 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soonthorn_ku_front.pdf | 11.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_ku_ch1.pdf | 10.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_ku_ch2.pdf | 8.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_ku_ch3.pdf | 35.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_ku_ch4.pdf | 55.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_ku_ch5.pdf | 23.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soonthorn_ku_back.pdf | 23.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.