Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25469
Title: การดัดแปลงสถาปัตยกรรม วี-บีแอลเอเอสที สำหรับระบบสื่อสาร เอ็ม ซี-ซีดีเอ็มเอ บนพื้นฐานการหักล้างสัญญาณรบกวนแบบผสม
Other Titles: Modification of V-BLAST architecture for MC-CDMA systems based on hybrid interference cancellation
Authors: รัฐพล กาญจวัฒน์
Advisors: สมชาย จิตะพันธ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอวิธีการเพิ่มความจุและความเร็วในการส่งข้อมูลของระบบเอ็มซี-ซีดีเอ็มเอ โดยได้นำเอาหลักการของสถาปัตยกรรมวี-บีแอลเอเอสทีซึ่งเป็นระบบมัลติเพิลอินพุทมัลติเพิลเอาท์พุทมาประยุกต์ใช้ในระบบเอ็มซี-ซีดีเอ็มเอทางข่ายเชื่อมโยงขาขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสามารถทำได้เนื่องจากระบบที่นำเสนอนี้จะสามารถส่งข้อมูลโดยใช้รหัสแผ่ที่มีอัตราแผ่ที่ต่ำได้ และในระบบที่นำเสนอนี้ผู้ใช้สามารถใช้รหัสแผ่ที่ซ้ำกันได้จึงทำให้ระบบที่ได้นี้มีความจุที่สูง โดยวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะแตกต่างจากงานวิจัยอื่นที่เกี่ยวข้องเพราะจะให้ความสำคัญกับความผิดพลาดที่เกิดจากการประมาณช่องสัญญาณด้วย ดังนั้นจึงทำการจำลองระบบโดยให้มีการส่งสัญญาณนำเพื่อใช้ในการประมาณช่องสัญญาณ และวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการจำลองระบบทั้งในสภาพแวดล้อมแบบเมืองและแบบชนบท ซึ่งผลการทดลองที่ได้แสดงให้เห็นว่า ระบบที่นำเสนอนี้จะมีสมรรถนะที่ดีเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเมือง นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้นำเสนออัลกอริทึมที่ถูกปรับปรุงเพื่อลดความซับซ้อนทั้งสิ้น 3 วิธี คือ วิธีการละทิ้งผลของสัญญาณแทรกสอดจากผู้ใช้รายอื่น วิธีการหักล้างสัญญาณแบบผสม และวิธีการหักล้างสัญญาณแบบผสมที่มีการใช้วิธีการมัลติเพิลสไลส์ซิงร่วมด้วยและจากผลการจำลองระบบ พบว่าเครื่องรับที่ใช้อัลกอริทึมที่นำเสนอนี้มีจะมีความซับซ้อนที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับอัลกอริทึม วี-บีแอลเอเอสทีเดิม โดยที่เครื่องรับที่ใช้อัลกอริทึมวิธีการหักล้างสัญญาณแบบผสม และวิธีการหักล้างสัญญาณแบบผสมที่มีการใช้วิธีการมัลติเพิลสไลส์ซิงร่วมด้วยนั้น จะมีสมรรถนะที่เหนือกว่าเครื่องรับที่ใช้อัลกอริทึม วี-บีแอลเอเอสทีเดิม
Other Abstract: In this thesis, we propose a new approach for MC-CDMA system. For our proposed system, a efficient MIMO technique, called as V-BLAST (Vertical Bell Laboratories Layered Space-Time), is applied in order to increase the capacity of uplink Multi-Carrier Code Division Multiple Access (MC-CDMA) system. High speed transmission can be also achieved by using low spreading factor. In this system, different users can use same spreading code, so system capacity can be increased significantly. Different from, most of V-BLAST related researches which assume the perfect knowledge of channel, we also consider the effect of the practical channel estimation to the system performance. Moreover, we investigate the performance of this system in both urban area rural area. We show that this system can be used efficiently in urban environment. In addition, we propose the modified V-BLAST algorithms which have low complexity. They are ignored MAI V-BLAST algorithms (I-MAI BLAST) , Hybrid Interference Cancellation BLAST algorithm (HIC BLAST), Multiple Slicing – Hybrid Interference Cancellation BLAST algorithm (MS-HIC BLAST) . The result of simulation shows that the receivers using HIC BLAST algorithm and MS-HIC BLAST algorithm are superior to that using original V-BLAST algorithm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25469
ISBN: 9741749104
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rattaphol_ka_front.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open
Rattaphol_ka_ch1.pdf5.47 MBAdobe PDFView/Open
Rattaphol_ka_ch2.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open
Rattaphol_ka_ch3.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open
Rattaphol_ka_ch4.pdf10.16 MBAdobe PDFView/Open
Rattaphol_ka_ch5.pdf427.14 kBAdobe PDFView/Open
Rattaphol_ka_back.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.