Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25493
Title: การพัฒนาแบบสอบชุดความถนัดจำแนกด้านจำนวน
Other Titles: Development of a numerical ability test of the differential aptitude test battery
Authors: ชลลดา ชินะศิริกุล
Advisors: สวัสดิ์ ประทุมราช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาแบบทดสอบชุดความถนัดจำแนก(The Differential Aptitude Tests-DAT) ด้านจำนวน (The Numerical Ability Test) เพื่อนำมาใช้ในการแนะแนวและให้คำปรึกษาหารือทางการศึกษาและอาชีพนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 5 ผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบโดยยึดแนวของแบบสอบชุดความถนัดจำแนกด้านจำนวน มาสร้างเป็นแบบสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ประกอบด้วย 5 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ คำถามเป็นการคิดคำนวณ 2 แบบ คือการคำนวณตัวเลข (Arithmetic Computation) และการคำนวณโจทย์ปัญหา (Problem Solving) จำนวน 60 และ 40 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด ตามลำดับ ให้เวลาในการตอบ 40 นาที กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีแยกประเภทและสุ่มตัวอย่างสามขั้น (Stratified Three Stage Sampling)จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดกองการมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2520 จำนวน 84 โรงเรียน จาก 35 จังหวัด รวมนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,448 และ 1,094 คน ตามลำดับ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1. ค่าความยากของข้อสอบสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในช่วง .112 ถึง .627 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในช่วง .169 ถึง .730 ส่วนค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในช่วง .107 ถึง .567 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในช่วง .244 ถึง .645 2. ความเที่ยงของแบบสอบถามสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีค่า .703 และ .828 ตามลำดับ 3. ความตรงร่วมสมัยสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5อยู่ในช่วง .45 ถึง .61 และ .28 ถึง .51 ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to develop The Numerical Ability Test of the Differential Aptitude Test Battery (DAT) to be used in educational and vocational guidance and counseling for Matayom Suksa III and V students. The test is a multiple choice type with five options. It composes of 40 items with two types of calculating: arithmetic computation and problem solving in proportion of 60 percents and 40 percents respectively. The time allow for the test is 40 minutes. The stratified random sampling was used to select Matayom Suksa III and V students from 84 public secondary schools of 35 sample provinces in 1977. The subjects were 1,448 and 1,094 students from M.S.III and M.S. V respectively. Major findings are 1. The levels of difficulty for M.S.III students are between.112 to .627 and for M.S.V are between.169 to .730. The indices of discrimination are between .107 to .567 and .244 to .645 for M.S.III and M.S. V respectively. 2. The reliability of the test for M.S. III and M.S.V. are .703 and .828 respectively. 3. The concurrent validity of the test for M.S. III and M.S.V are between .45 to .61 and .28 to .51 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25493
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chollada_Sh_front.pdf425.82 kBAdobe PDFView/Open
Chollada_Sh_ch1.pdf425.49 kBAdobe PDFView/Open
Chollada_Sh_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chollada_Sh_ch3.pdf714.3 kBAdobe PDFView/Open
Chollada_Sh_ch4.pdf489.42 kBAdobe PDFView/Open
Chollada_Sh_ch5.pdf376.22 kBAdobe PDFView/Open
Chollada_Sh_back.pdf701.79 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.