Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25505
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุชาติ เมอเรย์ | |
dc.contributor.author | ชลธิรา สัตยาวัฒนา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-23T04:10:10Z | |
dc.date.available | 2012-11-23T04:10:10Z | |
dc.date.issued | 2513 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25505 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2513 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มุ่งที่จะค้นหาวิธีการที่จะทำให้การศึกษาวิจารณ์วรรณคดีไทย ทันสมัยและน่าสนใจขึ้น โดยการนำวรรณคดีวิจารณ์แผนใหม่แบบตะวันตกมาใช้กับวรรณคดีไทย เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้ อาจจะแบ่งได้เป็นสองประเภท: ประเภทหนึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฏีและตัวอย่างของวรรณคดีวิจารณ์แผนใหม่แบบตะวันตกที่ทำการค้นคว้าและรวบรวมมาอีกประเภทหนึ่งเป็นข้อคิดวิจารณ์วรรณคดีไทยด้วยวรรณคดีวิจารณ์แผนใหม่แบบตะวันตกของผู้เขียนเอง จุดเด่นของวิทยานิพนธ์อยู่ที่ประเภทที่สอง วิทยานิพนธ์นี้มีห้าบท บทนำกล่าวถึงความเป็นมาของการวิจารณ์วรรณคดีทางตะวันตกอย่างคร่าวๆ และระบบการศึกษาวรรณคดีไทยในปัจจุบัน บทที่สองกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิทยากับการวิจารณ์วรรณคดีโดยอ้างอิงถึงหลักจิตวิทยาที่สำคัญของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) และคาล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung) บทที่สามกล่าวถึงการวิจารณ์วรรณคดีในแง่จิตวิทยาทั่วไปซึ่งแยกออกเป็นสองแนว แนวแรก เป็นการวิจารณ์วรรณคดีในแง่ที่วรรณคดีคือปฏิกิริยาอันเป็นสัญญลักขณ์ (Symbolic action) หรือเป็นผลผลิตที่คล้ายคลึงกับความฝัน ตัวอย่างการวิจารณ์แนวนี้ได้แก่ บทวิจารณ์ของเค็นเน็ธ เบอร์ค (Kenneth Burke) ชื่อ “Symbolic Action in a Poem by Keats” ซึ่งวิจารณ์โคลงชื่อ Ode on a Grecian Urn ของจอห์น คีทส (John Keats) แนวที่สอง เป็นการวิจารณ์วรรณคดีโดยนำหลักจิตวิทยาทั่วไป มาช่วยวิเคราะห์บทบาทและพฤติกรรมของตัวละครในวรรณคดี ตัวอย่างการวิจารณ์แนวนี้ ได้แก่บทวิจารณ์ของ วิลเลียม เอมป์สัน (William Empson) ชื่อ “Alice in Wonderland: The Child as Swain” ซึ่งวิจารณ์นิยายสำหรับเด็ก เรื่อง Alice in Wonderland วรรณคดีไทยที่นำมาวิจารณ์ในแง่จิตวิทยาทั่วไปคือ เรื่องขุนช้างขุนแผน มีชื่อบทวิจารณ์ว่า “ความก้าวร้าวของตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผน” บทที่สี่กล่าวถึงการวิจารณ์วรรณคดีในแง่หลักแบบฉบับ ซึ่งนำหลักจิตวิทยาและมานุษยวิทยามาใช้ร่วมกันในการพิจารณาวรรณคดี, โดยมีเกณฑ์การพิจารณาว่า วรรณคดีทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นของชาติใด หรือแต่งขึ้นในสมัยใด จะมีแก่นเรื่องที่ซ้ำๆกันจนจัดเป็นหลักแบบฉบับหนึ่งๆได้ ตัวอย่างการวิจารณ์แนวนี้ ได้แก่บทวิจารณ์ของโรเบิร์ต เฮสแมน (Robert Heilman) ชื่อ “The Turn of the Screw as a Poem” ซึ่งวิจารณ์นวนิยายเรื่อง The Turn of the Screw ของเฮนรี เจมส์ (Henry James) วรรณคดีไทยที่นำมาวิจารณ์ในแง่หลักแบบฉบับ คือเรื่องสิงหไกรภพ และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สังข์ทองและพระอภัยมณี มีชื่อบทวิจารณ์ว่า “ปมอีดิพัสในวรรณคดีไทยบางเรื่อง บทที่ห้ากล่าวถึงการวิจารณ์วรรณคดีในแง่สุนทรียศาสตร์ ซึ่งมุ่งพิจารณาคำประพันธ์อย่างละเอียดในแง่เสียง ความรู้สึกสัมผัส จังหวะความเคลื่อนไหว ภาพพจน์ อารมณ์ ระบบสัญลักษณ์ ความหมาย ประเภทพาราด็อกส์และแอมบิกิวตี ฯลฯ ตัวอย่างการวิจารณ์แนวนี้ได้แก่บทวิจารณ์ของ เคลนธ์ บรุกส์ (Cleanthe Brooks) ชื่อ “The Naked Babe and the Cloak of Manliness” ซึ่งวิจารณ์บทละครเรื่อง Macbeth ของ วิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) วรรณคดีไทยที่นำมาวิจารณ์ในแง่สุนทรียศาสตร์เป็นบทประพันธ์สั้นๆที่ตัดตอนมาจากกำสรวลศรีปราชญ์ บทเห่เรื่องกากี และกวีนิพนธ์ของอังคาร กัลยาณพงศ์, มีชื่อบทวิจารณ์ว่า “รสความงามในวรรณคดีไทย” ในตอนท้าย ผู้เขียนได้สรุปผลของการวิจัยว่า แม้ทำการวิจัยไว้อย่างกว้างๆ แต่ก็ทำให้เข้าใจความหมายและซาบซึ้งในคุณค่าของวรรณคดีไทยเพิ่มขึ้น, และเสนอแนะว่าเนื้อหาในวิทยานิพนธ์นี้ อาจจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ทั้งแก่ครู นักเรียน นักเขียน และนักวิจารณ์ | |
dc.description.abstractalternative | The research is an attempt to explore some new interesting approaches to Thai literature by applying western methods of modern literary criticism to Thai literary work. This work may be regarded as consisting of two parts: compilation of sources available in western modern criticism and actual criticism of Thai literature done by the author; the emphasis being on the latter. The Thesis is divided into five chapters. The introductory chapter is a quick survey of western literary criticism and of criticism of Thai literature of the present days. The second chapter discusses the relationship between literary criticism and psychology stressing on Sigmund Freud's psychoanalysis and Carl Gustav Jung's main psychoanalytical principles. In the third chapter, the two literary approaches based on psychology are discussed. The first approach treats literature as a symbolic action, a product similar to dreams, illustrated by Kenneth Burke's "Symbolic Action in a Poem by Keat”, a criticism on John Keats's Ode on a Grecian Urn. The second approach applies psychological theories to the role and behavior of literary characters. The material used as an illustration is Wlilliam Empson's "Alice in Wonderland: The Child as Swain". The Thai literary work, Khun Chang Khun Phaen, is examined to exemplify this theory under the title 11The Aggression of Some Characters in Khun Chang Khun Phaen". The fourth chapter is the study of the archetypal approach which is both psychological and anthropological in its attempt to examine a piece of literary work under the hypothesis that every piece of literature has some recurrent themes which can be put into patterns. The sample used is Robert Heilman's "The Turn of the Screw as a Poem". Singhakraiphop, Sangthong and Phra Aphaimani are studied under the title "Oedipus Complex in Some Thai Literary Works''. The fifth chapter is the study of the aesthetic theory which examines poetry in full details of sound, sensation, rhythm & movement, imagery, emotion, symbolism, paradox and ambiguity, etc. Excellent examples are extracted from Cleanth Brooks's "The Naked Babe and the Cloak of Manliness", a critical essay on William Shakespeare's Macbeth. Some excerpts from Kamsuan Siprat, Kaki, Kaviniphon Khong Angkhan Kalayanaphong are closely studied. The thesis concludes with the hope that this work may provide deeper insights into and a better appreciation of the meaning and value of Thai literature, and that it would be of some benefits to teachers, students, writers and critics alike. | |
dc.format.extent | 439519 bytes | |
dc.format.extent | 569848 bytes | |
dc.format.extent | 1854182 bytes | |
dc.format.extent | 3932028 bytes | |
dc.format.extent | 2266695 bytes | |
dc.format.extent | 4979064 bytes | |
dc.format.extent | 1371186 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ฟรอยด์, ซิกมันด์, ค.ศ. 1856-1939 | |
dc.subject | จูง คาล กูสตาฟ, 1875-1961 | |
dc.subject | วรรณคดี -- สุนทรียศาสตร์ | |
dc.subject | วรรณคดี -- ประวัติและวิจารณ์ | |
dc.subject | วรรณคดีไทย -- ประวัติและวิจารณ์ | |
dc.subject | Freud, Sigmund, 1856-1939 | |
dc.subject | Jung, Carl Gustav, 1875-1961 | |
dc.subject | Literature -- Aesthetics | |
dc.subject | Literature -- History and criticism | |
dc.subject | Thai literature -- History and criticism | |
dc.title | การนำวรรณคดีวิจารณ์แผนใหม่แบบตะวันตกมาใช้กับวรรณคดีไทย | en |
dc.title.alternative | Application of western methods of modern literary criticism to Thai literature | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cholthira_Sa_front.pdf | 429.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthira_Sa_ch1.pdf | 556.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthira_Sa_ch2.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthira_Sa_ch3.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthira_Sa_ch4.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthira_Sa_ch5.pdf | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholthira_Sa_back.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.