Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25625
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทวัส คงคากุล | |
dc.contributor.author | ดารุพัสตร์ สำราญวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-23T08:37:15Z | |
dc.date.available | 2012-11-23T08:37:15Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.issn | 9745664326 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25625 | |
dc.description | วิยาทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาเรื่องราวของชาวกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านเกริงกะเวีย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้ทราบถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการปรับตัวทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา สังคมและวัฒนธรรม การอนามัย การปกครอง รวมทั้งเพื่อศึกษาว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของชาวกะเหรี่ยง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเรื่องนี้ ส่วนใหญ่ได้จากการออกไปศึกษาภาคสนามในระหว่างวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2527 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2528 โดยการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านเกริงกะเวียมีชาวกะเหรี่ยงทั้งสิ้น 37 ครัวเรือน แต่ทำการสัมภาษณ์ได้เพียง 35 ครัวเรือน ผลการศึกษา การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านเกริงกะเวีย พอจะสรุปได้ดังนี้ 1.ด้านการศึกษา การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางด้านการศึกษาของชาวกะเหรี่ยงนับว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุด เริ่มจากการก่อตั้งโรงเรียนชั้นประถมศึกษาขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2513 ชาวกะเหรี่ยงเริ่มมองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษา จนภายหลังได้มีการตื่นตัวทางการศึกษาที่ค่อนข้างสูง การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเกริงกะเวีย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะในด้านการอนามัย สังคมและวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 2. ด้านการอนามัย การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวด้านการอนามัยของชาวกะเหรี่ยงมีมากในบางส่วน และไม่เปลี่ยนแปลงเลยในบางส่วน เช่น ที่อยู่อาศัย เริ่มจากการใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างมาเป็นบ้านโครงสร้างไม้จริง หลังคาเปลี่ยนมาเป็นสังกะสี ยกเว้นบันไดบ้านที่จะใช้ไม้ไผ่เป็นขั้นบันไดเช่นเดิม ในด้านอาหารการกิน ชาวกะเหรี่ยงนิยมใช้ น้ำปลา ผงชูรส น้ำมันพืช บะหมี่สำเร็จ ขนมแห้งราคาถูกที่มีสะดุดตามากขึ้น รวมทั้งใช้ช้อนแทนมิอในการรับประทายอสหสน รู้จักใช้สบู่ ยาสระผม แปรงสีฟัน และใช้ผงซักฟอก ส่วนเรื่องการใช้ส้วม แม้จะได้รับคำแนะนำ และได้รับแจกหัวส้วมเป็นตัวอย่าง แต่การเปลี่ยนในเรื่องนี้ไม่มีเลย ปัจจบัน เริ่มมีชาวกะเหรี่ยงบางครอบครัวดื่มน้ำต้มสุกเป็นประจำ แม้ว่าส่วนใหญ่ยังคงดื่มน้ำห้วยโดยไม่ต้ม และมีหลายครอบครัวที่กางมุ้งนอนเพื่อป้องกันโรคมาเลเลีย ชาวบ้านเกริงกะเวียเพิ่งมีสถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน เมื่อ พ.ศ.2526 แต่ชาวกะเหรี่ยงก็รู้จักการรักษาแบบแผนปัจจุบันมาก่อนแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นกว่าการรักษาด้วยสมุนไพร แต่อย่างไรก็ตาม การคลอดบุตรยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง หญิงกะเหรี่ยงยังนิยมคลอดบุตรที่บ้านกับหมอตำแย เพราสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวด้านการอนามัยนี้จะเกิดขึ้ได้ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นจำเป็นและได้ประโยชน์คุ้มค่า 3. ด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจของชาวกะเหรี่ยงนั้นมีผลต่อการทำมาหากินและการดำเนินชีวิต เช่น ในเรื่องการถือครองที่ดินได้เปลี่ยนแปลงจากการถือครองตามประเพณีมาสู่การได้รัลใบแสดงสิทธิทำกินในเขตป่าสงวน ซึ่งทางราชการออกให้เพื่อให้ชาวบ้านมีที่ดินทำกินเป็นที่เป็นทาง และเพื่อมิให้เกิดการถากถางป่าเพิ่มขึ้น การเกษตรกรรมมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ พริก ละหุ่ง กล้วย และข้าวโพด ทำให้เกิดรายรับรายจ่ายเพิ่มขึ้น รู้จกการใช้เงินตรา มีการซื้อของจำเป็นภายในครอบครัวมาใช้ และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างเกิดขึ้นใหม่ในหมู่บ้าน ได้แก่ การตั้งโรงสีข้าวขนาดเล็กของผ้ใหญ่บ้าน และการจัดตั้งธนาคารข้าวของหมู่บ้าน เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจมีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยง เกิดขึ้นในหลาย ๆ ด้าน ที่เห็นชัดได้แก่ การแต่งกาย ซึ่งในปัจจุบันไม่พบการแต่งกายแบบกะเหรี่ยงในหมู่บ้านเกริงกะเวีย ส่วนในด้านภาษาชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่สามารถพูดและเข้าใจภาษาไทย โดยเฉพาะชนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผลจากการตั้งโรงเรียนในหมู่บ้าน ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยังมีบ้างที่นับถือผี แต่ก็เหลือไม่กี่ครอบครัว การนับถือศาสนาพุทธนั้นทำมานับชั่วอายุคนมิใช่เพิ่งเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันการนับถือผีมีแนวโน้มจะหมดไป ชาวกะเหรี่ยงที่เกริงกะเวียส่วนใหญ่จะถือประเพณีแบบคนไทย เช่น การทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ตักบาตรวันพระ โดยเฉพาะระหว่างเข้าพรรษา หรือทำบุญวันสงกรานต์ เป็นต้น ส่วนพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเกิด การตาย และการเรียกขวัญนั้น ส่วนใหญ่ยังรักษาของเดิมอยู่ ชาวกะเหรี่ยงที่หมู่บ้านนี้นับเครือญาติทางฝ่ายมารดา ระบบครอบครัวเป็นแบบครอบครัวเดี่ยว แต่ความสัมพันธ์ระหว่างกันยังเป็นระบบเครือญาติและมีการพึ่งพาอาศัยกันอยู่มาก 5. ด้านการปกครอง การเปลี่ยนแปลงส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดที่สุด คือ การจัดการปกครองของหมู่บ้าน เมื่อประมาณ พ.ศ.2516 ซึ่งเป็นการจัดการการปกครองที่ถูกกำหนดขึ้นจากภายนอก คือ จากรัฐบาล ถึงแม้ว่าจะไม่การปกครองเช่นนี้เกิดขึ้น แต่สังคมชาวกะเหรี่ยงก็คงอยู่ได้อย่างสงบสุข เพราะยังมีการยึดหลักจารีตประเพณีก็จะมีความสำคัญน้อยลง เพราะขาดผู้นำประเพณีคอยนำให้ชาวกะเหรี่ยงประพฤติปฏิบัติตามแบบกะเหรี่ยง หรือเป็นผู้ตัดสินกรณีพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อผู้นำเหล่านั้นแก่ชรา หรือตายไปจะไม่มีผู้ใดรับช่วงสืบต่อ ดังนั้น การมีครูเป็นที่พึ่งรับฟังข้อทุกข์ร้อน และการมีระเบียบการปกครองแบบใหม่เขามาแทนที่ ทำให้ความสำคัญของการมีผู้นำประเพณีลดลง แต่หลักจารีตประเพณียังคงมีอยู่ในสังคมกะเหรี่ยง | |
dc.description.abstractalternative | This study deals with the social and cultural change in a Karen Community in Amphoe Thong Pha Phum, Changwat Kanchanaburi on such aspects as economic, education, social and culture,. health and local administration. Its emphasis is also placed upon the major causes for the change and how the people adapt themselves to these changes. The data used in this study are obtained in the field work through participation - observation and interview of thirty - five household heads of the Karen families ( from a total of thirty - seven families )in Ban Kroengkawia during July 22,1984 to February 28, 1985 The result of the findings are as follow : 1.Education. The change and adjustment on educational aspect seemed to have a major impact upon the way of life in the community, especially since the establishment of the primary school in 1970. The Karen are awared of the benefit of formal education and have accepted it with great enthusiasm. This change has, therefore, brought about other changes which seem to bring about a higher standard of living for the new generation. 2. Health. The change and adjustment on health and personal hygiene practices in some area have been great while other has remained more or less the same. The common use of bambooฐfor house building has changed to the use of hard wood and from thatch roof to the corrugated iron roof. The use of factory produced food items such as fish source, accents, vegetable oil, etc. has been greater than before. Bath soap, shampoo, tooth brush, tooth paste and laundry detergent have become common items and widely used among the Karen. Preventive measures such as boiling their drinking water .and sleeping inside mosquito nets have become more acceptable. Since the establishment of public health center in 1982, greater attention has been paid to their own health care and personal hygiene. 3. Economy. The change and adjustment on economic aspect of the Karen in this village have some effect upon their earning as well as their livelihood. For example, traditional land ownership has been replaced by legal rights for the cultivation of land which once has been forest reserve. The cultivation of cash crops such as chillies, bananas, castor-seeds and corn has become more common among the Karen. Money is being used more widely for the purchase of necessary household consumer goods. With these changes came the establishment of a small rice mill and rice bank in the village. 4. Social and culture. The change and adjustment on socio-cultural aspect appeared in many areas especially in apparels which has changed from tradition to modern. Thai language is more widely spoken now than before, especially among the young generation. The majority has now accepted Buddhism and with only a few families still remained animists. The many ceremonies observed among the Karen in this village have been borrowed from their Thai neighbors, with only a few exception of traditional ceremonies remained without any change. The kinship system still remains matriarchal and a close family tie still can be found among the Karen. 5. Local administration. The change and adjustment on local administration is most evident when the government in 1972 declared that Ban Kroengkawia is to be included within the official jurisdiction.. Unlike the past in the traditional Karen community where informal social control prevailed, official rules and regulations are unnecessary. Today the traditional leaders have been replaced by formal leaders, although many of them still prefer to practice their traditional way of life. But it would not be too long in the future, when everything will be governed by official ,rules and regulation. | |
dc.format.extent | 634182 bytes | |
dc.format.extent | 1612921 bytes | |
dc.format.extent | 1031253 bytes | |
dc.format.extent | 1768542 bytes | |
dc.format.extent | 1131372 bytes | |
dc.format.extent | 1729935 bytes | |
dc.format.extent | 935065 bytes | |
dc.format.extent | 638891 bytes | |
dc.format.extent | 546425 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนกะเหรี่ยง | en |
dc.title.alternative | Social and cultural change in a Karen community | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Darupat_Sa_front.pdf | 619.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_into.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_ch1.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_ch2.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_ch3.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_ch4.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_ch5.pdf | 913.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_ch6.pdf | 623.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Darupat_Sa_back.pdf | 533.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.