Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25654
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะวิกฤตในชีวิตกับการประกอบอัตวินิบาตกรรม |
Other Titles: | Relationships between life crisis and the suicidal attempt |
Authors: | เรณู ประทุมมณี |
Advisors: | ปาหนัน บุญ-หลง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2523 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ครั้งมีวัตถุประสงค์จะหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะวิกฤติในชีวิตกับการประกอบอัตวินิบาตกรรม โดยเปรียบเทียบระหว่างเพศและสถานภาพสมรส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือการสัมภาษณ์ผู้ประกอบอัตวินิบาตกรรม โดยใช้คำถาม ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามที่ประเมินภาวะวิกฤติที่ ซินดี คุก วิลเลียม และโทมัส เอช โฮล์มส ได้สร้างไว้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบอัตวินิบาตกรรมที่เข้ารับการตรวจและรักษาในโรงพยาบาลต่าง ๆ จำนวน 96 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยทดสอบค่าไคสแคว์ (Chi – Square) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การประกอบอัตวินิบาตกรรมมีความสัมพันธ์กับระดับภาวะวิกฤตในชีวิตมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ว่า “การประกอบอัตวินิบาตกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับระดับภาวะวิกฤต” 2. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะวิกฤติในชีวิตระหว่างผู้ประกอบอัตวินิบาตกรรมที่มีสถานภาพสมรสอยู่เป็นโสดและแต่งงานแล้ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสนองสมมติฐานการวิจัยที่ว่า “บุคคลที่อยู่ในสถานโสดหรือแต่งงานแล้วมีระดับภาวะวิกฤติไม่แตกต่างกัน” 3. ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะวิกฤติระหว่างเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยที่ว่า “ระดับภาวะวิกฤติระหว่างเพศชายและเพศหญิง ไม่มีความแตกต่างกัน” |
Other Abstract: | The purpose of this research was to find the Relationships between life crisis levels and the suicidal commitment. The difference between sexes and marital status were also compared. The tool used was a structured interview questionnaire. The questions employed in the interview were modified from Williams and Holmes’ Questionnaire. Ninety-six patients who have attempted to commit suicide were selected as a sample subjects. Chi-square was statistical method used to analyze the data. The results were summarized as the following statement. 1. There is a Relationships between life crisis levels and the suicidal commitment at .01 significant level. Thus, the Research Hypothesis stated “There is no Relationship between the Suicidal Commitment and life crisis levels” was rejectd. 2. There is no relationships between life crisis levels and the suicidal commitment at .01 significant levels when the marital status was compared. Thus, The research Hypothesis stated “There is no difference between the marital status and life crisis levels” was retained. 3. There is a relationship between life crisis levels and the suicidal commitment when both sexes were compared. Thus, the research hypothesis stated “There is no difference” |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25654 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Raynu_Pr_front.pdf | 377.59 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Raynu_Pr_ch1.pdf | 408.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Raynu_Pr_ch2.pdf | 939.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Raynu_Pr_ch3.pdf | 304.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Raynu_Pr_ch4.pdf | 363.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Raynu_Pr_ch5.pdf | 493.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Raynu_Pr_back.pdf | 501.32 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.