Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25687
Title: การเจริญเติบโตของร้านสรรพสินค้าในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา
Other Titles: The growth of department stores in Nakorn Ratchasima Municipality
Authors: รำพึงพิศ มะเริงสิทธิ์
Advisors: สุรพัฒน์ วัชรประทีป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงการเจริญเติบโตของร้านสรรพสินค้าในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ คือ สภาพของจังหวัด การดำเนินงานและผลตอบแทนในการลงทุนของร้านสรรพสินค้า การแข่งขันในตลาด และทัศนคติของผู้บริโภค จำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ถามร้านสรรพสินค้าถึงเรื่องการดำเนินงานต่าง ๆ ฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ถามร้านค้าปลีกทั่วไป ที่คาดว่าจะเป็นคู่แข่งขันของร้านสรรพสินค้า ฉบับที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ถามประชาชน ในเขตเทศบาล และรอบ ๆ เขตเทศบาลเมืองนครราชสีมา ฉบับที่ 4 เป็นแบบสอบถามที่ใช้ถามผู้บริโภคที่ร้านสรรพสินค้า นอกจากการวิจัยสนามดังกล่าวแล้ว ยังได้รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยราชการต่าง ๆ รวมทั้งจากห้องสมุด เพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาปัญหาด้านการตลาดในส่วนที่เกี่ยวกับผู้บริโภค สินค้า การกำหนดราคา การจำหน่าย การส่งเสริมการขายและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของร้านสรรพสินค้า ผลที่ได้รับจากการค้นคว้าและวิเคราะห์มีดังนี้ ร้านสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดยขยายตัวมาจากร้านค้าปลีกขนาดกลาง มูลเหตุจูงใจในการตั้งร้าน เพราะอยากเป็นเจ้าของร้านที่มีขนาดใหญ่โตและทันสมัย ประกอบกับสภาพของเทศบาลเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหลักทางเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งประชากรของจังหวัดก็เพิ่มมากขึ้น รายได้อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดก็มุ่งจะส่งเสริมให้ประชากรอยู่ดีกินดีขึ้น จึงเป็นฐานรองรับการเจริญเติบโตของร้านค้าปลีกได้เป็นอย่างดี ภายในระยะเวลาอันสั้นเพียงไม่เกิน 2 ปี มีร้านสรรพสินค้าเกิดขึ้นถึง 3 แห่ง แต่ละแห่งต่างขยายงานโดยการเพิ่มแผนกสินค้า เพิ่มปริมาณสินค้า และเพิ่มพนักงานขายสินค้าขึ้นเรื่อย ๆ โดยลักษณะการค้าในต่างจังหวัด ร้านค้าจะตั้งอยู่เป็นกลุ่ม ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างเต็มที่ นอกจากจะต้องแข่งขันกับร้านสรรพสินค้าด้วยกันเองแล้ว ยังต้องแข่งขันกับร้านค้ารายเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่โดยรอบอีกด้วย ทำเลที่ตั้งและการบริหารงานในร้านสรรพสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบอันส่งผลถึงการเจริญเติบโตของร้านเอง สิ่งนี้วัดได้จากผลตอบแทนในการลงทุน จะเห็นได้ว่าร้านสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีการบริหารงานที่ดีและตั้งอยู่ใกล้ตลาดไม่เคยประสบผลขาดทุนเลย กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดของร้านสรรพสินค้าในเขตเทศบาลเมืองนครราชสีมาคือคนโสด เป็นนักศึกษาและข้าราชการ อายุ 30 ปีลงไป รายได้ไม่เกิน 3,000 บาท ฉะนั้น การจะบริหารให้ร้านสรรพสินค้าเจริญเติบโตต่อไปได้จำเป็นต้องสร้างความพอใจให้กับบุคคลกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นผู้วิจัยขอเสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงงานดังนี้ 1. ด้านสินค้า ควรจัดหาสินค้าไว้บริการให้มากชนิด เพราะมูลเหตุจูงใจอันดับแรกในการเข้าร้านสรรพสินค้าก็คือ การมีสินค้าให้เลือกมากชนิด และเนื่องจากกลุ่มผู้สนใจคือคนโสด อายุไม่มากนัก จึงควรจัดหาสินค้าแปลก ๆ ใหม่ ๆ และทันสมัยมาจำหน่ายให้มากที่สุด การจัดแผนกสินค้าควรกระทำให้เป็นสัดส่วนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเลือกซื้อ คำนึงถึงไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดวางสินค้าหรือทางเดิน 2. ด้านราคา ร้านสรรพสินค้าแต่ละร้านควรตั้งราคาสินค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสินค้าชนิดเดียวกันที่วางขายในร้านสรรพสินค้าเองก็ควรติดราคาให้เท่ากัน ราคาสินค้าอย่างน้อยไม่ควรแพงกว่าท้องตลาด เพราะปกติความรู้สึกของลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจว่า ราคาสินค้าในร้านสรรพสินค้าจะแพงกว่าร้านค้าทั่วไปอยู่แล้ว 3. ด้านพนักงานขาย พนักงานขายควรให้บริการลูกค้าทุกคน ทุกระดับเท่าเทียมกัน และไม่บริการมากเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้ลูกค้าเกิดความเบื่อหน่ายและทำให้เกิดความรู้สึกว่าพนักงานขายมุ่งที่จะขายสินค้าให้ได้อย่างเดียว 4. ด้านการส่งเสริมการขาย ควรจัดร้านให้สวยงาม แลดูใหม่อยู่เสมอ การส่งเสริมการขายที่ควรทำอีกประการหนึ่งก็คือ การลดราคาสินค้าเพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าพอใจมากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากลูกค้าเกิดความรู้สึกว่าตนเองได้ซื้อสินค้าในราคาที่ถูก สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้ก็คือ สินค้าที่นำมาลดราคานั้นควรเป็นสินค้าที่มีคุณภาพด้วย 5. หากจะมีการตั้งร้านสรรพสินค้าขึ้นใหม่ ควรสร้างให้ใหญ่โต หรืออย่างน้อยก็เท่ากับร้านที่ 1 และร้านที่ 2 และควรอยู่แถวชานเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก เพื่อเป็นการระบายความแออัดในเมือง และเพื่อสามารถบริการสถานที่จอดรถให้แก่ลูกค้าได้ในขณะที่ร้านสรรพสินค้าเดิมไม่สามารถจะทำได้
Other Abstract: The objective of this research is to study the growth of department stores in Nakhon Ratchasima municipality. The considering factors are the condition of the province, management, the return on investment, the competition, and the consumer’s opinion. The datas for this research are collected from 4 questionnaire papers as followings: 1. The questionnaire for department stores about their management. 2. The questionnaire for the department stores’s potential competitors. 3. The questionnaire for the people in Nakhon Ratchasima municipality and its surrounded areas. 4. The questionnaire for the consumer at the department stores. In addition to these datas, the secondary resources are collected from the officials and libraries, in order to find out the marketing problem that relates to products, price, place, promotion, and environment that influences the growth of department stores. The outcome of this research is as the following: Nakhon Ratchasima’s department stores were firstly established in B.E. 2519 by expansion of the variety stores. The motivation that drives the variety store owner to establish the department store is the desire to own the up-to-data big store and in the environmental aspect, Nakhon Ratchasima is the economical communication, and educational center of the Northeastern region. The growth rate of the population, the popular income and the socioeconomical development facilitate the expansion of the retail store as well. In short period of time, less than two years, there are three department stores, each is in process of expansion its sub-departments, the quantity of goods, and its operation. By the nature of trading in the province, the department stores are closely located in the same area that provides the competition. Each department store have to compete with all other department stores and with all other retail stores as well. Location and management of the department store are the significant factors that result in the advantage and disadvantage, the growth of department store, and the return on investment. It is obviously observed that, the big department store that is located near the market place and is beautify managed, has never lost its profit. The target group of the department store are; all the bachelors, the college students, the officials that are less than 30 years old and with the income of less than 3,000 baht. So the management of the department store in oriented to satisfy these target group. The researcher’s recommendations to improve the department store’s management are as the following : 1. Product: it is highly recommended to provide variety of goods because such a variety of goods is the first motivation to the consumers. The fasionable uniqueness of the goods is attractive to the bachelors as well. The department store should organized the goods in group along its purposes to facilitate the consumers. 2. Price: each department store should standardize the price and the price tag should be attached to each item. The price in the department store should not be more expensive than other retail stores. By this psychological aspect, the consumers trend to believe that the price in the retail stores is cheaper than the price in the department stores. 3. Personal selling: the department store’s salesman should equally provide service to all consumers without any exception. Without such condition will undermine the consumers satisfaction. 4. Sales promotion: it is highly recommended to beautify and up-to-data the store. Occasionally, “on sale price” for no none-sense goods is fascinated to the consumers because “on sale price” is believed a reasonable price for them. 5. New establishment recommendation: to establish the new department store, the size of the new one should be at least the same size of the first of the second department store and should be located in suburb areas that could provide good transportation in order to reduce the urban density. Last but not least, the parking lot for the consumer should be available while it is hardly provided in the down town sector.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25687
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rumpingpid_Ma_front.pdf647.5 kBAdobe PDFView/Open
Rumpingpid_Ma_ch1.pdf699.63 kBAdobe PDFView/Open
Rumpingpid_Ma_ch2.pdf880.13 kBAdobe PDFView/Open
Rumpingpid_Ma_ch3.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Rumpingpid_Ma_ch4.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Rumpingpid_Ma_ch5.pdf827.81 kBAdobe PDFView/Open
Rumpingpid_Ma_back.pdf746.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.