Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25700
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพบูลย์ โลห์สุนทร
dc.contributor.advisorสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
dc.contributor.authorอรพิน เขียวฟู
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-23T09:38:58Z
dc.date.available2012-11-23T09:38:58Z
dc.date.issued2547
dc.identifier.isbn9745313998
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25700
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล ด้านสังคม ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดในประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไปในจังหวัดสระแก้ว ทำการเลือกหน่วยตัวอย่างหรือศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 30 แห่ง แบบการสุ่มตัวอย่างแบบจัดชั้น จาก 9 อำเภอ และสุ่มตัวอย่างประชากรแบบง่าย จำนวน 796 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาในรูปของร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจาก 110 – 125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เป็นมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในรอบ 1 ปี ร้อยละ 16.1 (95%Cl=13.54 ถึง 18.65) โดยมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และ เส้นรอบเอว ด้านสังคม ได้แก่ ที่อยู่อาศัย รายได้ และ อาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05) และพบว่าความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ด้านภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค พบว่า การมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน การคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) จากผลการวิจัย ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการยืนยันการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 2 ครั้ง ในวันที่ต่างกัน เพื่อความน่าเชื่อถือของอัตราอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานในผู้ที่มีความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร และให้มีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดทุก 6 เดือน หรือ ทุก 1 ปี พร้อมกับการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การออกกำลังกาย เพื่อคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด ลดภาวะน้ำหนักเกิน ซึ่งจะช่วยให้ลดและชะลอการเป็นโรคเบาหวาน
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this cross-sectional descriptive study were to study the change of blood sugar level and relationships among demographic and social characteristics, knowledge attitude, health behaviors with change of blood sugar level in population aged 40 years and over in Sakaeo Province. The sample of 796 persons were selected by simple random sampling from the 30 primary care units. The data collection was done through interview and physical examination. Then it was analyzed by descriptive statistics (percentage,mean,standard deviation) and inferential statistics.(chi-square test) It was found that the sample which had changed fasting blood sugar from 110-125 mg/dl to more than 125 mg/dl were 16.1%(95%Cl=13.54 - 18.65) in 12 month. The demographic characteristics including gender, age, body mass index, blood pressure, waist circumference and the social characteristics including occupation, income, place, knowledge, attitude and health behaviors were significantly associated with blood sugar level (p-value<0.05). Subjects who had a relative with diabetes mellitus and who had baby born with the birth weight over 4 kgs were significantly associated with change in blood sugar level (p-value<0.05). In conclusion, it is recommended to confirm blood sugar level 2 times to consider incidence rate of diabetes mellitus in persons who had fasting blood sugar 110-125 mg/dl and physical check up every 6 months or every year. Health promotion should be taken into consideration in order to enhance the proper health attitude and behaviors.
dc.format.extent3035900 bytes
dc.format.extent2686423 bytes
dc.format.extent14011665 bytes
dc.format.extent2397637 bytes
dc.format.extent8346804 bytes
dc.format.extent4724832 bytes
dc.format.extent5185027 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป ในจังหวัดสระแก้วen
dc.title.alternativeChange of blood sugar level and related factors in population aged 40 years and over in Sakaeo provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin_kh_front.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_kh_ch1.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_kh_ch2.pdf13.68 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_kh_ch3.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_kh_ch4.pdf8.15 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_kh_ch5.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_kh_back.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.