Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25712
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุกร สุวรรณาศรัย
dc.contributor.advisorสมเชาว์ เนตรประเสริฐ
dc.contributor.authorชัยรัตน์ ชลวิถี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T10:57:39Z
dc.date.available2012-11-23T10:57:39Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745610879
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25712
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาถึงเหตุผลของความชอบและความต้องการของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการออกแบบกราฟฟิค สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือแบบเรียนไทย 2. เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างทางด้านคุณภาพ การออกแบบกราฟฟิค สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือแบบเรียนไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างสำนักพิมพ์รัฐบาลและเอกชน สมมุติฐานของการวิจัย 1. การออกแบบกราฟฟิคสำหรับสิ่งพิมพ์ ประเภทหนังสือแบบเรียนไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปัจจุบัน ยังขาดคุณภาพและความเหมาะสม มีคุณค่าด้านการเรียนการสอนน้อยกว่าที่ควร 2. การออกแบบกราฟฟิคสำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ แบบเรียนไทยของสำนักพิมพ์เอกชนมีคุณภาพดีกว่าของรัฐบาล วิธีดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด ส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 540 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา 540 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 รวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบความแตกต่าง โดยใช้ค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัย 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความเห็นว่า งานด้านการออกแบบกราฟฟิคมีความจำเป็นมากในการพิมพ์หนังสือแบบเรียน และเห็นว่าหนังสือแบบเรียนที่ใช้อยู่มีการใช้ศิลปทางด้านการออกแบบกราฟฟิคอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ซึ่งควรจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น 2. ขนาดรูปเล่มแบบเรียนที่นักเรียนชอบ คือ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบ Upright ขนาด 8 หน้ายก และควรมีภาพประกอบเท่าที่จำเป็น ภาพประกอบเป็นภาพวาดและภาพถ่าย โดยมีขนาดครึ่งหน้ากระดาษ 3. การเข้าเล่มของหนังสือแบบเรียน ในปัจจุบัน พบว่า มีคุณภาพคงทนน้อย ควรได้รับการปรับปรุง สำหรับปกของหนังสือเรียน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความเห็นว่าควรออกแบบให้สวยงาม และคงทนด้วย 4. เกี่ยวกับคุณภาพของการพิมพ์ นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์พอใช้ การใช้สีพิมพ์ควรพิมพ์เฉพาะภาพที่เป็นส่วนสำคัญ สีของตัวอักษรควรใช้สีดำ คุณภาพของกระดาษอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 5. เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพ การออกแบบกราฟฟิค สำหรับสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือแบบเรียนไทย ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างสำนักพิมพ์รัฐบาลกับเอกชน ปรากฏว่า การออกแบบกราฟฟิคหนังสือแบบเรียนไทยของสำนักพิมพ์เอกชน มีคุณภาพดีกว่าของรัฐบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถึง 22 ประการ ข้อเสนอแนะ 1. เกี่ยวกับการผลิตหนังสือแบบเรียนควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่ชำนาญ หรือคณะกรรมการควบคุมพิจารณา ด้านการออกแบบกราฟฟิค การพิมพ์ เนื้อหา จิตวิทยาการรับรู้เกี่ยวกับการมองภาพของเด็กในวัยต่าง ๆ ด้วย 2. รัฐบาลควรสนับสนุนในด้านการพิมพ์ทั้งทางภาครัฐบาลและเอกชน กล่าวคือ ทางสำนักพิมพ์รัฐบาลควรสนับสนุน ส่งเสริมทางด้านงบประมาณให้มากขึ้น ส่วนในทางเอกชน ควรลดหย่อนภาษี การสั่งซื้อ กระดาษ หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ บ้าง เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต ซึ่งจะได้หนังสือที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐาน และราคาไม่สูงนัก 3. ควรจะได้มีการวิจัยถึงเรื่องราคาของหนังสือแบบเรียน คุณภาพการพิมพ์ กระดาษสี การออกแบบกราฟฟิคหนังสือแบบเรียนไทยกับหนังสือแบบเรียนต่างประเทศ ขอบเขตความสามารถในด้านการพิมพ์หนังสือแบบเรียน ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้เป็นผลดีอย่างยิ่งในการปรับปรุงคุณภาพของหนังสือแบบเรียนไทยให้มีคุณค่ามากขึ้น
dc.description.abstractalternativePurpose of the Study: The purpose of this study was: 1. To study the reasons for preference and needs of lower secondary students for graphics designing in the printing of Thai textbooks. 2. To study quality differences of graphics designing in the printing Thai textbooks for lower secondary schools as produced by Government and Private Printing Presses. Hypothesis: 1. Graphics designing for printing Thai textbooks for lower secondary education at present lacks quality and suitability and does not foster teaching and learning as much as it should. 2. Graphics designing for printing Thai textbooks by the private sector has better quality than that done by the Government Press. Procedures: A check list a rating-scale and an open-ended questionnaires were used for this study. Five hundred and forty questionnaires were sent to students enrolled in lower secondary schools in the Bangkok Metropolis and all of them were returned, i.e. 100%. Data were analyzed by using percentages arithmetic means, standard deviations and t-test. Finding: 1. Students in lower secondary schools are of the opinion that graphics designing in very important in the printing of textbooks, and they that in the textbooks being used the art work in graphics designing is only about average and that there is room for improvement. 2. The format of the textbooks preferred by the students is the upright rectangular typo octavo size with necessary illustration drawings and photographs about half page size. 3. It is found that the bindings of textbooks at present are not strong enough, so they should be improved. As to the covers of the textbooks, the students of lower secondary schools are of the opinion that their designs should be beautiful and durable. 4. As to the quality printing, most of the students view that its quality is of acceptable standards. Printing in colour should be used only for pictures and important section; black should be used for printing letters. The quality of paper is of satisfactory standards. 5. When comparing different opinions as the quality of graphics designing for printing of Thai textbooks for the lower secondary schools by the Government and the Private Presses is of better quality than that of the Government Presses, significant at the .01 level for 22 items. Recommendations: 1. In the production of textbooks use should be made of experienced personnel or Supervisory Committees in the following areas: graphics designing printing, content, the psychology of perception of pictures for childrens of different age groups. 2. The Government should support printing by the Private and the Government Presses, that is budjet allocations to Government Printing Presses should be increased, while tax reductions should be made for the purchase of paper, printing ink and other equipment by Private Printing Presses thus, standard production cost will decrease and eventually textbooks will become available at reasonable prices. 3. There should be some research as to the price of textbooks quality printing, paper, colour, graphic designing of Thai and foreign textbooks, the range of efficiency in the printing of Thai textbooks in order to enhance the quality of Thai textbooks.
dc.format.extent768901 bytes
dc.format.extent1165198 bytes
dc.format.extent5129297 bytes
dc.format.extent517633 bytes
dc.format.extent2528042 bytes
dc.format.extent558110 bytes
dc.format.extent914342 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบกราฟิคหนังสือแบบเรียนไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างสำนักพิมพ์รัฐบาลและเอกชนen
dc.title.alternativeThe comparative study of graphics design for the lower secondary school level Thai textbooks between the government and private printing pressesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chairat_Ch_front.pdf750.88 kBAdobe PDFView/Open
Chairat_Ch_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Chairat_Ch_ch2.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open
Chairat_Ch_ch3.pdf505.5 kBAdobe PDFView/Open
Chairat_Ch_ch4.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open
Chairat_Ch_ch5.pdf545.03 kBAdobe PDFView/Open
Chairat_Ch_back.pdf892.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.