Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25719
Title: การดำเนินทำนองระนาดเอกในเพลงเรื่องสี่ภาษา
Other Titles: Improvisationof Ranad-Ek in Seepesa Suite
Authors: สุราชดิษฐ์ ศรีสัตย์ชยะ
Advisors: บุษกร สำโรงทอง
นัฐพงศ์ โสวัตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพลงเรื่อง เป็นเพลงประเภทหนึ่งซึ่งสันนิษฐานว่า มีมาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ลักษณะของเพลงเรื่อง คือ การร้อยเรียงเพลงต่างๆ เข้ามาบรรเลงกันอย่างมีระเบียบ การดำเนินทำนองของระนาดเอกในเพลงเรื่องสี่ภาษานี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการดำเนินทำนองในเพลงประเภทอื่นๆบางทำนองต้องดำเนินตามทำนองหลักอย่างเคร่งครัด บางทำนองสามารถดำเนินได้ตามความเหมาะสม ทำนองหลักของเพลงเรืองสี่ภาษานี้ เปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงระนาดเอกได้แสดงความชำนาญและความสามารถในการผูกสำนวนกลอน ซึ่งการดำเนินทำนองระนาดเอก อาจจะไม่ดำเนินทำนองตามทำนองหลักตลอดทุกวรรค ทำนองที่ซ้ำกันหลายๆ ครั้งเป็นจุดแสดงถึงภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของผู้บรรเลง หากสามารถบรรเลงด้วยกลอนที่ไม่ซ้ำกันได้เท่าใด ก็จะสามารถแสดงถึงความชำนาญของผู้บรรเลงผู้นั้นว่ามีมากน้อยประการใด ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น เป็นเหจุให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษาการดำเนินทำนองของระนาดเอกเพลงเรื่องสี่ภาษา ทางครูสอน วงฆ้อง เพราะเพลงเรื่องสี่ภาษานี้ เป็นเพลงตัวอย่างหนึ่งในการศึกษาและหาแนวทางของการดำเนินทำนองในเพลงเรื่องที่มีทำนองหลักเป็นทำนองพิเศษเฉพาะซึ่งยากต่อการแปรทาง นอกจากนี้ยังจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่องการดำเนินทำนองของระนาดเอกในเพลงเรื่องสี่ภาษา รวมถึงเป็นการสืบทอดและอนุรักษ์องค์ความรู้แห่งภูมิปัญญาของโบราณาจารย์ที่ใกล้จะสาบสูญให้ดำรงคงอยู่สืบต่อไป
Other Abstract: Phleng Ruang (suite song) is assumed to be appeared since Ayudthaya period. It consists of a set of songs being played systematically after each other. The melody of Ranad – Ek in Seepasa Suite is unique from ordinary ones played by the same instrument in other types of song. Sometimes, Ranad –Ek melodies go strictly with the basic melody and sometimes go freely as appropriate. The basic melodies of Seepasa Suite provide opportunity for Ranad – Ek player to improvise without worry of falling note at the end of each phrase. The repetition of some phrases are challenging tasks for Ranad –Ek player to show his/her improvising capability. Regarding to the fact mentioned above, the interest in studying the improvisation in Seepasa Suite song on Ranad – Ek had been done in order to find out the Ranad – Ek improvisational style for special basic melody of this song. It is hoped that this study will be beneficial for those who are interested in this matter and could maintain the great wisdom of Thai Music masters including to preserve them for best use in the long run.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางคศิลป์ตะวันตก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25719
ISBN: 9741722508
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suratchadit_sr_front.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Suratchadit_sr_ch1.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Suratchadit_sr_ch2.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open
Suratchadit_sr_ch3.pdf21.22 MBAdobe PDFView/Open
Suratchadit_sr_ch4.pdf39.56 MBAdobe PDFView/Open
Suratchadit_sr_ch5.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Suratchadit_sr_back.pdf29.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.